ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

สปส.เตรียม 5 พันล้านบาท ปล่อยกู้'ผู้ประกันตน'ไปทำงานต่างประเทศ เผยให้สิทธิรายละไม่เกิน 1 แสนบาท ล่าสุดมีธนาคารสนใจเสนออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7-8

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัด ทำโครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศของ สปส.ว่า บอร์ด สปส.ได้หารือกันถึงการดำเนินโครงการดังกล่าวโดยเห็นว่า เบื้องต้นแรงงานที่จะเข้าร่วมโครงการควรเป็นแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อออกจากงานแล้วไปทำงานต่างประเทศจะต้องเปลี่ยนไปเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่วนแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมระยะหนึ่ง จึงจะเข้าร่วมโครงการได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม บอร์ด สปส.จึงได้มอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบศึกษาถึงความเหมาะสมของการกำหนดระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม

นพ.สมเกียรติกล่าวอีกว่า ส่วนเงินกองทุนประกันสังคมที่จะใช้ในโครง การนำมาจากเงินลงทุนด้านสังคม ซึ่ง สปส.จัดสรรวงเงินไว้ทั้งสิ้น 40,000 ล้านบาท และที่ผ่านมา ได้ใช้ดำเนินโครงการต่างๆ ทำให้ขณะนี้มีเงินเหลือ อยู่ประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการ คาดว่าจะปล่อยกู้ ให้แก่แรงงานที่จะไปทำงานต่างประเทศได้รายละไม่เกิน 100,000 บาท เนื่อง จากปัจจุบันการทำงานไปต่างประเทศไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายสูงเหมือนในอดีต แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าควรเป็นร้อยละเท่าใด ส่วนข้อกังวลเมื่อโครงการปล่อยเงินกู้ไปแล้วจะเกิดปัญหาหนี้เสียตามมานั้น ได้วางระบบป้องกันปัญหานี้โดยใช้วิธีการหักเงินเดือนจากบัญชีเงินเดือนของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ เพื่อผ่อนชำระหนี้กับธนาคารที่ไปยื่นกู้ไว้

"ผมมองว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการควรสูงกว่าการปล่อยสินเชื่อภายในประเทศ แต่อัตราดอกเบี้ยไม่ ควรเกินร้อยละ 10 ต่อปี เพราะ ธนาคารต้องวางระบบต่างๆ ในต่างประเทศเพื่อรองรับโครงการ เช่น การหักเงิน เดือนจากบัญชีเงินเดือนเพื่อผ่อนชำระหนี้เงินกู้ การโอนเงินส่งกลับมาเมืองไทย ของแรงงาน โดยธนาคารจะได้รับประโยชน์ในส่วนของเงินค่าธรรมเนียมการโอนเงิน" นพ.สมเกียรติกล่าว และว่า จากการที่ คณะทำงานโครงการได้หารือกับตัวแทน ธนาคารต่างๆ เบื้องต้นมีหลายธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7-8 เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งอยู่ในอัตราที่ไม่สูงเกินไป จึงได้ขอให้ธนาคารต่างๆ เร่งส่งข้อมูลอัตรา ดอกเบี้ยให้คณะทำงานพิจารณาในเดือนตุลาคม และนำเสนอบอร์ด สปส.ต่อไป

--มติชน ฉบับวันที่ 9 ต.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--