ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เราพูดกันถึงเมกะเทรนด์ หรือแนวโน้มใหญ่ๆ ในอนาคตที่จะขึ้นกับประเทศไทยไปแล้ว3 ตัวด้วยกัน คือ เมกะเทรนด์ตัวที่ 1 : ธุรกิจ3G (โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม2556) เมกะเทรนด์ตัวที่ 2 : ทีวีดิจิตอล(โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 23 พฤษภาคม 2556)และเมกะเทรนด์ตัวที่ 3 : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) (โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 4 มิถุนายน 2556)

วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องเมกะเทรนด์ตัวที่4 นั่นคือ "สังคมผู้สูงอายุ"อนาคต...ที่มาแน่

คุณผู้อ่าน...เคยคิดไหมครับว่า การที่มนุษย์ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะสาขาการแพทย์และสาธารณสุข ได้ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นขณะที่อัตราการเกิดลดลง และส่งผลให้สัดส่วนของผู้สูงอายุมากขึ้นตามลำดับ

แต่เรื่องราวดังกล่าวไม่ได้จบลงเพียงเท่านั้นมันยังได้ก่อให้เกิดปัญหา "สังคมผู้สูงอายุ"(Aging Society) ซึ่งได้ก่อให้เกิด "ปัญหา"และ "โอกาส"ตามมาอีกมากมาย... โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งผมอยากจะเกริ่นให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันดังนี้ครับหนึ่ง อะไร? เป็นตัววัดว่าประเทศกำลังเข้าสู่...สังคมผู้สูงอายุ

องค์การสหประชาชาติ (United Nations UN) ได้กำหนดคำนิยามเกี่ยวกับประเทศที่กำลังเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีสังคมผู้สูงอายุไว้ว่าเมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน7% ให้ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)

นอกจากนั้น สหประชาชาติยังได้ให้คำนิยามอีกคำหนึ่งด้วยนั่นคือ "สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์"(Aged Society) หมายถึง ประเทศได้เข้าสู่การเป็นประเทศที่มีสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ไว้ว่า เมื่อประชากรอายุ60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 20% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 14% สองโลกใบนี้...กำลังเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ"การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 นี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น โดยมีการประมาณการประชากรโลกว่า

* ในปี 2551 โลกจะมีประชากรรวมประมาณ 6,705 ล้านคน

* ในปี 2568 จะเพิ่มเป็น 8,000 ล้านคน* ในปี 2593 จะยิ่งมีจำนวนประชากรในโลกใบนี้เพิ่มขึ้นเป็น 9,352 ล้านคน

ในจำนวนนี้อินเดียจะแซงหน้าจีนขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวนประชากร 1,755.2 ล้านคน ในปี 2593 เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่52.7% ในขณะที่ประชากรของจีนจะเพิ่มเพียง8.5% เป็น 1,437 ล้านคน สัดส่วนของประชากรโลกที่มีอายุระหว่าง 0-14 ปี จะลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 28.3% ในปี 2548 เป็น 20.4% ในปี 2588

ขณะที่สัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มจาก 10.3% ในปี 2548 เป็น 20.4%ในปี 2588 และสัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มจาก 7.3% ในปี 2548 เป็น 14.3% ในปี 2588 แสดงว่าโลกนี้ทั้งใบ...จะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในเวลาไม่ถึง 40 ปีเท่านั้น

ขณะที่กลุ่มประเทศที่เป็นคลื่นระลอกแรกของสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว จะใช้เวลาค่อนข้างนาน เช่น ฝรั่งเศสใช้เวลา 115 ปี สวีเดน 85 ปี ออสเตรเลีย 73 ปีสหรัฐอเมริกา 69 ปี เป็นต้น ทำให้มีเวลาปรับตัวและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ

ขณะที่กลุ่มประเทศที่เป็นคลื่นระลอกที่สองซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ใช้เวลาสั้นกว่ามาก เช่น ชิลี 27 ปี จีน 26 ปี ไทย22 ปี บราซิล 21 ปี และสิงคโปร์ 19 ปีเป็นต้น ทำให้มีเวลาเตรียมตัวน้อยสามปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" แล้ว

ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 ในปี 2553 พบว่าจากจำนวนประชากร 67.4 ล้านคน มีผู้สูงอายุสูงถึง 8.01 ล้านคน คิดเป็น 11.9% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การเป็นผู้สูงอายุจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ของท่านเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่ลดลงหรือขาดหายไปเพราะต้องหยุดทำงานการปรับตัวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับลูกหลานครอบครัว และสังคมได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข หรือการต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งมีแต่จะเสื่อมถอยไปตามวัย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าประชากรของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 70.65 ล้านคน ในปี 2568 และจะค่อยๆ ลดลง(Depopulation) เป็น 70.63 ล้านคน ในปี 2573 จำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) จะลดลงอย่างสม่ำเสมอจาก 15.95 ล้านคน ในปี 2533 เหลือเพียง 9.54 ล้านคนในปี 2573 ขณะที่ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มขึ้นจาก 4.02 ล้านคน เป็น 17.74 ล้านคน ในช่วงเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยเด็กลดลงจาก 46.11% ในปี2533 เหลือ 21.99% ในปี 2573 ขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 11.61% ในปี 2533 เป็น 40.93% ในปี2573

ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า อีกไม่ถึง 20 ปีนับจากนี้ "การดูแลคนแก่"จะเป็นภาระที่หนักหน่วงของสังคมไทย และถ้าหากตัวเลขดังกล่าวเป็นความจริง นั่นหมายถึงภาระค่าใช้จ่ายสำหรับ "คนแก่"จะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 4 เท่าของที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

ดังนั้น ทุกคนจึงต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามที่ประเทศไทยได้เข้าสู่... "สังคมผู้สูงอายุ" แล้วทำให้นึกถึงคำพูดของ จูดิ เดนช์ (Judi Dench)นักแสดงประกอบที่รับบทเป็น "เอ็ม" หญิงเหล็กที่เป็นเจ้านายของเจมส์ บอนด์ ในหลายภาคๆ

เธอกล่าวไว้ว่า "Anything that we can do to improve the lives of elderly peo ple is welcome so far as I am con cerned."แปลตามได้ว่า "อะไรก็ตามที่เราสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ หากดิฉันช่วยได้...ดิฉันก็จะทำ"

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 3 กรกฎาคม 2556

เรื่องที่เกี่ยวข้อง