ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หลังจากที่คสช.ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ได้หารือกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้แก่ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และ 3 กองทุน คือ กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (สปสช.)  และกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 31 ก.ค.57 ที่ผ่านมา และมีข้อสรุปหนึ่ง คือ การตั้งคณะกรรมการประสาน 3 กองทุน ซึ่งทางคสช.ฝ่ายสังคมจิตวิทยากำลังจะเดินหน้าเรื่องนี้ ขณะนี้ได้ยกร่างคณะกรรมการ 3 กองทุนขึ้นมาแล้ว และนำมาปรึกษาหารือกันว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร โดยในที่ประชุมมีข้อคิดเห็นตรงกันว่า กรรมการชุดนี้ควรเดินหน้าต่อ และอาจมีการปรับให้ครอบคลุมมากขึ้น 

ทั้งนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าว มีชื่อว่า คณะกรรมการประสานระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งขึ้นตามข้อเสนอแนะของที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) (ที่ปรึกษาคสช. มี 10 คน ดังนี้ 1.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธาน 2. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รองประธาน 3. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองประธาน 4. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา 5. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษา 6. นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา 7. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษา 8. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ที่ปรึกษา 9. พล.อ.นภดล อินทปัญญา ที่ปรึกษา 10. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษาและเลขานุการ)

โดยในส่วนของข้อเสนอให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการประสานระบบประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น มาจากส่วนที่ปรึกษาคสช. ที่ชื่อ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยในทีมของดร.ยงยุทธ ที่รับผิดชอบด้านสังคมจิตวิทยา เรื่องสังคมทั่วไป ตั้งแต่การศึกษาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การกีฬา การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม มีอยู่ด้วยกัน 7 คน ดังนี้

1.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ทางด้านการศึกษา (ขั้นพื้นฐาน)

2.นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ด้านพัฒนาสังคม

3.นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ด้านสาธารณสุข

4.พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ด้านท่องเที่ยวและกีฬา

5.ดร.กอปร กฤตยากีรณ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6.ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ด้านการศึกษา (อุดมศึกษา)

7.นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 

โดยระบุเหตุผลของการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่า มาจากความไม่เท่าเทียมกันทั้งค่าใช้จ่าย การบริการและคุณภาพของบริการ รวมทั้งระบบข้อมูลของสมาชิกยังไม่มีการประสานกัน ดังนั้นจึงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพหลักทั้ง 3 ระบบ (ระบบราชการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประกันสังคม) สามารถทำให้การคุ้มครองประชาชนเจ็บป่วย และมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะบริการที่มีความจำเป็น รวมทั้งมีการลงทุนในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และสร้างสุขภาพแทนการรอให้เจ็บป่วยแล้วจึงมารับบริการ

คสช.จึงมีคำสั่งให้บุคคลต่อไปนี้ทำหน้าที่คณะกรรมการประสานงานระบบหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย

1.ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เป็นประธาน

กรรมการได้แก่

2.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 

3.นางสาวนวพร เรืองสกุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 

4.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

5.นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ บอร์ดสปสช. และอดีตอธิบดีกรมอนามัย

6.นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ 

7.นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช เลขาธิการสมาคมโรงพยาบาลเอกชน 

8.รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

9.นพ.สุชาติ สรณสถาพร ผู้อำนวยการสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ 

10.อธิบดีกรมบัญชีกลาง

11.เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)

12.เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.)

13.ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ

14.นพ.เทียม อังสาชน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยให้มีบทบาทและหน้าที่ดังนี้

1.เสนอแนะนโยบายและแนวทางเพื่อประสานให้กองทถนหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบ ดำเนินการให้เกิดความเท่าเทียมกันสำหรับประชาชนกลุ่มต่างๆ ภายใต้การดูแลของแต่ละกองทุน

2.ประสานให้เกิดเอกภาพในการบริหารจัดการสำคัญไ ที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียม มีคุณภาพ โดยมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การซื้อบริการจากผู้ให้บริการ การพัฒนาและประเมินคุณภาพบริการ การตรวจสอบ (auditing)

3.ประสานให้เกิดการพัฒนาระบบการทำงานของแต่ละกอองทุนที่จะทำให้การดำเนินงานของผู้ให้บริการและการบริหารจัดการกองทุนเกิดเอกภาพตามตกลงกัน สิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะระบบข้อมูล และการเบิกจ่ายกลางในกรณีที่จำเป็น

4.กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม คุณภาพ ประสิทธิภาพ และความมั่นคงในระยะยาว

5.เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น

6.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานตามที่จำเป็น

7.จัดทำข้อเสนอแนะแก่คสช. เพื่อตัดสินใจในเชิงนโยบายในกรณีที่จำเป็น

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังเป็นเพียงร่าง ทางคสช.ยังไม่ได้ออกประกาศแต่งตั้ง แต่คาดว่าคงจะมีคำสั่งประกาศในเร็วๆนี้