ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

นับถอยหลังจากนี้ไม่เกินปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้อง เตรียมความพร้อมในทุกด้านตั้งแต่วันนี้ ซึ่ง "อาหาร" ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องดูแล เพราะผู้ สูงอายุจะมีการปรับเปลี่ยนทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอาหาร ทำให้อาหารที่จะบริโภคเข้าไป ต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และมีแคลเซียมสูง

จำนวนผู้สูงอายุ เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการพึ่งพา เพิ่มสูงตาม 

การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว  ผลกระทบต่อผู้ดูแล ลูกหลานพึงเตรียมพร้อม รับมือ

การรับมือกับสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้สูงอายุ

ด้านร่างกาย
- อาการเหนื่อย เมื่อยล้า
- อาการปวดกระดูก กล้ามเนื้อ
- อาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
- ปัญหาสุขภาพ โรคภัยต่างๆ

ด้านอารมณ์
- วิตก เครียด หงุดหงิดง่าย
- ท้อแท้ เบื่อหน่าย น้อยใจ เกรงใจ
- ทะเลาะ ทำร้ายผู้สูงอายุ

ด้านเศรษฐกิจ
- ค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าแพมเพิร์ส ค่าจ้างผู้ดูแล ฯลฯ
- ต้องหยุดทำงาน หรือออกจากงาน
- มีหนี้สิน เงินไม่พอใช้

ด้านสังคม
- มีโอกาสพบปะเพื่อนน้อยลง  การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง
- มีปัญหาขัดแย้งกับพี่น้อง ไม่มีเวลาให้ครอบครัว ทะเลาะกับแฟน เลิกกับแฟน
- เดินทางไปไหนไกลไม่ได้

ชุมชน/สังคมของคุณช่วยได้ โดยการร่วมด้วยช่วยกัน  
1. ร่วมสนับสนุนการพัฒนา รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลให้เป็นแหล่งสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน เช่น การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. สนับสนุนให้เกิดการกำหนดมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และควบคุมคุณภาพการดูแลทั่วประเทศ  เช่น ประเมิน คัดกรองเพื่อจัดชุดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ฯลฯ
3. สนับสนุนให้เกิดระบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุในระบบบริการสุขภาพและในชุมชน  
4. ควรมีการออกแบบระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีทางเลือกสำหรับผู้ดูแลและครอบครัวในชุมชน  เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกลางวัน  
5. ส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งกองทุนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยการระดมทรัพยากรในชุมชน  
6. สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว  

ข้อมูลจาก ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย

ที่มา : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)