ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทาให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด

จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่กลไกการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิยังไม่มี ดร.ภัทรพร คงบุญ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมป์ ได้ศึกษาวิจัยโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุถูกละเมิดสิทธิมีหลายรูปแบบและมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับน้อยไปถึงขั้นเสียชีวิต โดยคาดการณ์ว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

“ผู้สูงอายุถูกละเมิดสิทธิด้านจิตใจสูงที่สุด รองลงมาคือการเอาประโยชน์ด้านทรัพย์สิน ถัดมาคือทาร้ายร่างกาย ทอดทิ้ง รวมถึงละเมิดทางเพศ ตามลาดับ โดยกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ไม่มีลูกหลาน หรือไม่มีครอบครัว มีความเจ็บป่วย ต้องการพึ่งพาผู้อื่น ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เต็มที่” ดร.ภัทรพร ระบุ

ส่วนสาเหตุการละเมิดสิทธิ ส่วนใหญ่มาจากคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ คือ ความยากจน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทาให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในสังคม หรือปัจจัยสาเหตุจากตัวผู้สูงอายุเองที่ความสามารถในด้านต่างๆ ลดลง มีอาการเจ็บป่วย สมองเสื่อม

เพื่อหามาตรการในการป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดระดมความคิดในเวทีนโยบายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการขับเคลื่อนความรู้สู่สังคมเพื่อความเข้าใจและตระหนักในการพัฒนาระบบคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุไทย เพื่อหาแนวทางทางกลไกมาตรการเฝ้าระวังมีอยู่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่ประชุมเห็นว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุโดยรวมยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการที่ชัดเจนสาหรับที่ให้ความคุ้มครองผู้สูงอายุ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

ประเด็นที่ประชุมถกเถียงกันมากและเห็นว่ามีปัญหาช่องว่างกฏหมายที่ยังไม่มีการคุ้มครอง คือ เรื่องของการละเมิดทรัพย์สิน หรือการโกงทรัพย์สิน ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากผู้ใกล้ชิดและคนในครอบครัวเข้ามาจัดการทรัพย์สิน โดยไม่ถูกต้อง

แม้ว่าผู้สูงอายุจะยังคงใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่อาจจะมีความสามารถในการตัดสินใจหรือบริหารทรัพย์สินของตนเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร อันเนื่องมากจากความเสื่อมถอยทางด้านร่างกายจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ทาให้ผู้สูงอายุเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โดยเฉพาะเมื่อช่วยเหลือตนเองได้ไม่เต็มที่หรือต้องพึ่งพาบุคคลอื่น

แต่ในทางกฎหมาย ไม่ได้พิจารณาให้ความเสื่อมทางร่างกายเป็นเหตุแห่งการสูญเสียสิทธิ หรือเป็นเหตุที่ต้องให้ความคุ้มครองทางกฎหมาย จากช่องว่างความคุ้มครองทางกฎหมายนี้ ทำให้ที่ผ่านมาผู้สูงอายุถูกละเมิดสิทธิและถูกละเมิดในการโกงทรัพย์สินของตัวเอง

ขณะที่บทบัญญัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตั้งแต่เกิดถึงตาย รวมถึงสิทธิในร่างกายและทรัพย์สิน อาทิ บุตรจะต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (มาตรา 1563) หากเป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาล (มาตรา 28 วรรคสอง) และคนเสมือนไร้ความสามารถอยู่ในความพิทักษ์ (มาตรา 32)

แต่บทบัญญัติดังกล่าว เป็นกรณีคนไร้ความสามารถและเสมือนไร้ความสามารถ ที่มุ่งเน้นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่มีความสามารถบกพร่อง หรือไร้ความสามารถในการจัดการด้วยตนเอง

โดยไม่ครอบคลุมถึงการให้การดูแลความเป็นอยู่ ชีวิตประจำวัน หรือการดูแลสุขภาพของคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

ทั้งนี้ พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ให้ความเห็นว่า การทบทวนกฎหมายแพ่งพาณิชย์อาจจะยากเกินไป แต่ควรจะออกกฎหมายเฉพาะในเรื่องของการละเมิดสิทธิด้านการจัดการทรัพย์สิน หรือปรับให้เป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายผู้สูงอายุ

“กลไกคุ้มครองผู้สูงอายุทั้งหมดยังมีช่องว่างทางกฎหมายและการบังคับใช้ได้จริง ทำให้ยังมีผู้สูงอายุถูกละเมิดสิทธิบ่อยครั้งดังที่เห็นผ่านสื่อต่างๆ” พญ.ลัดดา กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นว่าปัญหาในประเทศไทยที่พบคือ “แก่ก่อนรวย” และมีเรื่องของความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างทางรายได้สูงมีคนรวยกระจุก และคนจนกระจายจำนวนมาก

การเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุอาจจะทำไม่ได้ เพราะจากข้อมูลจากกองบริหารกองทุนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ระบุว่า งบประมาณกองทุนที่มี จำนวน 4,000 ล้านบาท อาจจะไม่เพียงพอต่อการจัดเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยจ่ายได้สูงสุดเพียง 80 บาทต่อคนต่อเดือน หรืออาจจะต้องปรับลดงบประมาณลง

“เงินรายได้ของกองทุนฯ ที่มาจากภาษีเหล้า 2% และเงินจากการบริจาคเบี้ยยังชีพที่รณรงค์มาตั้งแต่เดือนมกราคม ที่ผ่านมาจากเดิมที่ตั้งเป้าหมายให้มีคนบริจาค 2.5 แสนคน แต่ลดลงเหลือเพียง 5 หมื่นคน แต่ความจริงแล้วมีคนบริจาคเพียง 515 คน หรือประมาณ 2-3 แสนบาทต่อเดือนไม่เพียงพอกับเงินหมุนเวียนของกองทุนฯ ที่จะต้องใช้ประมาณ 300 ล้านบาท”

ขณะที่กลไกการดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีแผนในการดำเนินการที่ชัดเจน ขณะที่การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นดูแลก็ยังไม่เกิดขึ้นจริงเช่นกัน

ส่วนข้อเสนอที่เป็นข้อสรุปเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกลไกการแก้ไขปัญหานั้น ดร.ภัทรพร ระบุว่า ในส่วนกลไกนั้นมีอยู่แล้ว เช่น องค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) อาสาสมัครในพื้นที่ ขณะที่กลไกทางกฎหมาย ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่แท้จริง โดยกฏหมายที่มีอยู่กระจัดกระจาย เป็นการตั้งรับ และแก้เฉพาะหน้ามากกว่ามาตรการเชิงรุก

ส่วนกลไกส่งเสริมเพื่อนบ้าน ก็ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเพื่อนบ้าน ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ เนื่องจากญาติ ลูกหลาน หรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองไม่ยอมให้เข้าไปช่วยเหลือ

การทำงานเชิงรุกจะต้องใช้มาตรการทางสังคม เข้ามาช่วย โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมของทุกคน ส่วนปัญหาเรื่องของการจัดการทรัพย์สิน ผู้สูงอายุถูกโกงทรัพย์สินยังมีปัญหาช่องว่างทางกฏหมาย โดนเสนอให้มีบุคลลที่สาม หรือหน่วยงานเข้าไปดูแล นอกจากนี้จะต้องมีมาตรการกลไกตรวจสอบผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ โดยควรมีกฎหมายเฉพาะ

การปรับกลไกที่เป็นช่องว่าง และมาตรการเชิงสังคมที่เป็นเชิงรุกในการช่วยเหลือดูแลผุ้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ผู้สูงอายุให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร