ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

"หมอชลน่าน" เปิดงาน "สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2566  เพื่อนแท้มีทุกที่ เพื่อนดีดูแลใจ” ด้านสป.สธ. ตั้งหอผู้ป่วยจิตเวชใน รพศ.รพท. รพช. และมินิธัญญารักษ์ทุกจังหวัด ช่วยผู้ป่วยคืนสังคม ลดเสพซ้ำ

เริ่มแล้ว! กับการคิกออฟ "สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2566 Mental health anywhere, Helpers care everyone “เพื่อนแท้มีทุกที่ เพื่อนดีดูแลใจ” โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา  ที่รพ.ศรีธัญญา

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า  สถานภารณ์ประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีทั้งการเกิดโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนทั้งทางกายและทางใจ การที่ประเทศไทยผ่านพ้นสถานกาณ์ต่างๆมาได้มาจากผู้ปฏิบัติงานทุกระดับที่มีเป้าหมายในการช่วยเหลือบรรเทาเหตุให้ทุกคนได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ขณะเดียวกันก็เกิดจากความเข้มแข็งทางจิตใจของประชาชนที่ดูแลตนเอง และหลายภาคส่วนก็พร้อมที่เป็นเพื่อนหยิบยื่นการมีส่วนร่วมช่วยเหลือเพื่อนๆ ให้ก้าวข้ามสถานกาณ์ที่ลำบากไปด้วยกัน สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสังคมยังมีความต้องการการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพจิตและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

สธ.โดยกรมสุขภาพจิต จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพจิต นโยบายยาเสพติด โดยมีแผนกจิตเวช และหอผู้ป่วยจิตเวชที่พร้อมให้บริการ รวมทั้งมีศูนย์ธัญญรักษ์ที่เรียกว่ามินิธัญญรักษ์ทุกจังหวัดในการให้บริการปรึกษาโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านระบบเทเลเมดิซีน 

สัปดาห์สุขภาพจิตในปี 2566 เป็นโอกาสอันดีที่จะรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพจิดคนไทยโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เพื่อร่วมขับเคลื่อนสุขภาพจิตของประเทศไทยไปข้างหน้า พร้อมทั้งเกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ที่ไม่มีขีดจำกัด  เพื่อเป้าหมายคนไทยมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข เป็นเพื่อนที่ดีในการร่วมดูแลสุขภาพจิตคนไทยอย่างเต็มความสามารถ

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีการดำเนินการจัดตั้งหอผู้ป่วยจิตเวช ในโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) ที่มีมาตรฐาน ให้มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด ทุกระดับของโรงพยาบาลชุมชน และมินิธัญญารักษ์ทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ครอบคลุม มีการรณรงค์ ให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ ของประชาชนให้มี ความเข้มแข็งทางจิตใจ และร่วมกันช่วยเหลือกันและกันให้ก้าวผ่านสถานการณ์ที่สับสน หรือยากลำบาก เพราะร่างกายและจิตใจมีความเชื่อมโยงกัน หากมีปัญหาสุขภาพจิต ก็จะส่งผลต่อสุขภาพกาย ในขณะที่หากสุขภาพกายทรุดโทรมเสื่อมถอยก็ส่งผลให้เกิด ความเครียดจากความรู้สึกเป็นทุกข์ทางใจตามมา

นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการผ่านช่องทางระบบเทคโนโลยีดิจิทัล มีการนำการดูแลสุขภาพทางไกลเพื่อใช้ดูแลและติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด อย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงผู้ที่อาการสงบและกลับสู่ชุมชน โดยการออกหน่วยในพื้นที่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผ่านแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพจิต ทางไกล เพื่อตรวจติดตามคนไข้อย่างเป็นระบบ

ผลลัพธ์คือ 1) การดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดให้ดีขึ้นไม่กลับมาเสพซ้ำ โดยการรักษาอย่างต่อเนื่องและให้โอกาสทาให้ผู้ป่วยมีกาลังใจ สามารถกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในและ นอกระบบบริการสุขภาพจิตของพื้นที่ให้รับทราบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย และจัดทำแนวทางบูรณาการทรัพยากรโดยมอบบทบาทหน้าที่เพื่อช่วยกันดูแลติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย จิตเวชและยาเสพติดอย่างเป็นระบบ พร้อมรณรงค์สร้างความเข้าใจแก่ครอบครัว และ ชุมชนเพื่อให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เข้าถึงบริการทางสุขภาพจิตได้อย่างทันท่วงที