ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ลงพื้นที่เกิดเหตุ “เด็กพิเศษ” ทำร้ายร่างกายเพื่อนนักเรียน ม.2 สาหัส ล่าสุดเสียชีวิตแล้ว ย้ำ! รอผลสืบสวนเด็กก่อเหตุว่า เข้าข่าย เด็กพิเศษ จริงหรือไม่ พร้อมเข้มมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียน ด้าน กทม.เตรียมถอดบทเรียนความปลอดภัยในสถานศึกษา ทั้งที่มาของอาวุธ และพฤติกรรม
กทม.ย้ำประเด็นดังกล่าวต้องระวัง! อย่ากลัวเด็กพิเศษ
เมื่อวันที่ 29 มกราคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีเหตุนักเรียนถูกทำร้ายร่างกาย ณ โรงเรียนย่านพัฒนาการ 26 ว่า จากหลักฐานที่เรามี เด็กนักเรียนผู้ก่อเหตุไม่ใช่เป็นเด็กพิเศษ ไม่ได้เป็นเข้าชั้นเรียนเด็กพิเศษ ส่วนที่บอกว่าเขาเด็กพิเศษอาจจะเป็นการสังเกต เรื่องนี้ต้องระวังเพราะเรามีเด็กพิเศษอยู่ในโรงเรียนกทม. หลายคนเดี๋ยวจะกลายเป็นว่าทุกคนกลัวเด็กพิเศษไปหมด เด็กพิเศษมีหลายรูปแบบอย่าเอาเรื่องนี้เป็นประเด็น รอเรื่องการสืบสวนให้ชัดเจนก่อนว่าปัญหาเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องการบูลลี่ด้วย
เข้มมาตรการความปลอดภัย ตรวจอาวุธ ป้องกันเลียนแบบ
สำหรับมาตรการความปลอดภัย จริงๆ แล้วคือเรื่องนี้คงต้องระวังพิเศษโดยเฉพาะเรื่องการเอาอย่างกัน เลียนแบบกัน เรื่องแรก เรื่องการตรวจอาวุธต้องเข้มข้นขึ้น ตรวจตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในโรงเรียนก็ต้องระวังด้วย เช่นเรื่องกรรไกร เรื่องมีดทําอาหารที่อยู่ในโรงเรียน อาจต้องมีการเก็บให้เป็นระเบียบมากขึ้น ที่ผ่านมาก็มีการตรวจอยู่ แต่อาจจะไม่ได้ 100% ทุกวัน เพราะว่าเกี่ยวกับเรื่องของเวลา เรื่องของสิทธิของนักเรียนด้วย ผู้ปกครองก็อาจจะมาช่วยกันดูด้วยเพราะบางทีเป็นนักเรียนหญิงก็ต้องระวังเหมือนกัน
ครูแนะแนว ครูโฮมรูม สังเกตพฤติกรรมผิดปกติป้องกันก่อเหตุ
เรื่องที่ 2 คือการหาข้อมูลให้ชัดเจน เช่น ถ้าเกิดเหตุปุ๊บหรือเด็กสังเกตเห็นพฤติกรรมต่างๆ ทํายังไงที่ให้เด็กกล่าวมาบอกเรา หรือครูแนะแนว ครูโฮมรูม สามารถสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติได้เพื่อป้องกันเหตุ ต้องสร้างบรรยากาศที่เด็กสามารถกล้ามาบอกเรื่องราวต่างๆ รวมถึงผู้ปกครองเองก็อาจจะมีส่วนสังเกต หรือเด็กมาเล่าให้ฟังเพราะว่าจะได้ช่วยกันแก้ปัญหา ความร่วมมือจากทุกส่วนเป็นเรื่องที่สําคัญ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ที่ต้องเน้นต่อไป
หวังสร้างหลักสูตรเสริมเรื่องจิตใจเด็ก
เรื่องที่ 3 อาจจะเป็นเรื่องการเสริมสร้างหลักสูตรให้เด็กด้านเรื่องจิตใจ ไม่เน้นเรื่องวิชาการอย่างเดียว แต่เรื่องการจัดดูแลเรื่องความรู้สึกเรื่องจิตใจเรื่องการบอกปัญหาต่างๆ ให้ครูช่วยรับฟัง
รวมทั้งบริบทต่างๆ ของชุมชนพื้นที่ด้วย อย่างโรงเรียนนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องมีเยาวชนจากด้านนอก มีพฤติกรรมที่เกเรนิดหน่อย ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วผู้ปกครองให้ความเห็นที่น่าสนใจ บอกว่าจริงๆแล้วไม่อยากให้เด็กแต่งชุดไปรเวท เพราะว่าเด็กที่มาโรงเรียนเนี่ยไม่สามารถแยกไอ้เกเรที่อยู่นอกโรงเรียนกับเด็กที่แต่งตัวโรงเรียนได้ ซึ่งน่าสนใจก็เป็นมิติหนึ่งซึ่งอาจจะไม่ใช่มิติเรื่องสิทธิภาพของเด็กแต่เป็นเรื่องบริบทโดยรอบและเรื่องความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งอันนี้ก็ต้องให้ไปประเมินว่าจะมีผลเรื่องความปลอดภัยหรือไม่
อีกวิธีคือร่วมมือกันระหว่างคุณครูกับผู้ปกครอง ถ้าผู้ปกครองเป็นเนื้อเดียวกับโรงเรียน มีความร่วมมือกับเขต กับตํารวจ ร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันปัญหาต่างๆ ก็น่าจะแก้ได้อย่างดีขึ้น ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างแก้ กทม.เองก็ต้องรับผิดชอบเรื่องกายภาพ ไฟฟ้าส่องสว่าง ทางเดิน กล้อง CCTV ให้มีความพร้อม เขตต้องลงพื้นที่ที่มีการมั่วสุมนอกโรงเรียน
กทม.เตรียมถอดบทเรียนความปลอดภัยในสถานศึกษา
ทั้งนึ้ กทม.ต้องถอดบทเรียนเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่งมี 2 ส่วน คือ ที่มาของอาวุธ เอาเข้ามาโรงเรียนได้อย่างไร อันนี้คงต้องปัองกันตรงนี้ และเรื่องพฤติกรรมเราจะแยกพฤติกรรมนี้ออกมาได้อย่างไร เราจะดูแลเด็กที่อาจจะมีพฤติกรรมที่ได้รับการบําบัดหรือว่าทําให้ดีขึ้นอย่างไร ซึ่งอันนี้คงต้องมีการสร้างความไว้วางใจ ให้กับเด็กที่เขากล้ามาเล่าให้เราฟัง สื่อสารกับเราด้วยรวดเร็ว สะดวก และไม่กังวลและสุดท้ายแล้วก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองต้องบอกว่าเป็นรับชอบผู้ว่าราชการกรุงเทพโดยตรง ต้องออกนโยบายออกการปฏิบัติ ผอ.โรงเรียนก็ต้องเป็นผู้ที่ช่วยกันปฏิบัติให้แต่เราต้องสนับสนุนทุกอย่างเพื่อสร้างความมั่นใจแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณืดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงเช้าระหว่างเข้าแถวหน้าเสาธง ที่โรงเรียนย่านพัฒนาการ โดยผู้ก่อเหตุเป็นเด็กนักเรียนชาย ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 (ม.2) ได้แทงเพื่อนนักเรียนระหว่างเข้าแถวหน้าเสาธงจนได้รับบาดเจ็บสาเหตุ เจ้าหน้าที่ได้นำส่งรพ.วิภาราม ล่าสุดเจ้าหน้าที่กู้ภัยแจ้งว่า เด็กชายที่ถูกทำร้ายได้เสียชีวิตแล้วที่โรงพยาบาล
- 156 views