ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แจงในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ยืนยันรัฐบาลไม่คิดตัดเงินค่าตอบแทนหมอ มั่นใจ P4P ช่วยทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ ย้ำช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ได้

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 8 มิ.ย.56 ในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ นโยบาย 4P4

นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวว่า 4P4 มีวัตถุประสงค์ 2 อย่าง อย่างแรก การรั้งให้แพทย์อยู่ในภาครัฐหรือพื้นที่ชนบทคือเรื่องการเงินต้องไม่แตกต่างจากเอกชนและสูงกว่าเขตเมืองหรือเขตปกติ สอง นโยบายรัฐบาลจะปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้เงิน มาตรการอย่างหนึ่ง คือกำลังคน เพราะตอนนี้ใช้ร้อยละ 50 ของงบประมาณด้านสาธารณสุข หรือร้อยละ 15 ของงบประมาณของประเทศ ซึ่ง4P4 ก็เป็นการวัดผล แต่ทำตามคอนเซ็ปต์เดิมคือรั้งบุคลากรเหล่านี้ แต่ของเดิมค่าตอบแทนที่เดิมให้ไปไม่ได้มีการวัดผลประเมินผล ของใหม่วัดตามปริมาณงาน คุณภาพงาน เช่น การดูแลคนไข้ การประชุมวิชาการ ฯลฯ เกิดเป็น 4P4 เป็นเครื่องมือหนึ่งในการวัดผลประสิทธิภาพของกระทรวงสาธารณสุข

ความตั้งใจของรัฐบาลไม่ได้มีความตั้งใจไปลดค่าตอบแทน แต่เมื่อมีผลการปฏิบัติงานตามที่ประเมินก็จะได้มี 4P4ไปบวก แต่บางกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ใช่ชนบท ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาค่าตอบแทนในระดับของชนบทมาจ่าย เพราะเขตชนบท กับเขตเมืองก็ต่างกันแล้ว แต่ 4P4จะมาช่วยเสริม ทำให้บุคลากรมีกำลังใจมากขึ้น

การหารือเรื่องนี้กับชมรมแพทย์ชนบท วันที่ 6 มิ.ย.ก็ทำความเข้าใจกันว่ามีวัตถุประสงค์ตรงกันหรือไม่ ก็เข้าใจกันดีว่า 4P4 ทำให้ประชาชนได้ประโยชน และรัฐบาลไม่ได้ตั้งใจที่จะไปตัดเงิน ตอนนี้ 4P4ที่ทำไปแล้วก็จะทำต่อไป เดินหน้าต่อไป ส่วนตรงไหนที่มีปัญหาก็จะเข้าไปดูแล ในส่วนของกลุ่มที่ยังไม่พร้อมต้องทำอย่างน้อยไม่เกิน 1 ตุลาคม 2556 จึงมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูว่าตรงไหนต้องปรับปรุงรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อให้มันคล่องตัวและระบบเดินไปได้ เราก็เห็นว่าพวกที่เข้ามาเห็นว่าระบบมันขัดข้องจริงๆ แต่ก็ไม่ได้ขัดขืน

ด้านนายแพทย์ณรงค์ กล่าวเสริมว่า มาตรการการเงินเป็นหนึ่งในหลายมาตรการในการดูแลบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล เรามีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มในชนบท โครงการหนึ่งแพทย์หนึ่งอำเภอ แพทย์ที่ไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เช่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็มีโอกาสเรียนต่อได้ไวกว่าในพื้นที่ปกติ หลายมาตรการที่เราใช้มีหลายอย่างรวมทั้งมาตรการการเงิน ที่ผ่านมาใช้ส่วนเดียวคือจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ซึ่งก็ควรจะมีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในพื้นที่ที่อยู่ยาก และการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน กระทรวงฯมีพนักงาน 1.8แสนคน การจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายก็จะต้องมองว่าไม่เหลื่อมล้ำวิชาชีพอื่นด้วย

บุคลากรเองก็เริ่มมีความพึงพอใจว่ากระทรวงฯได้เห็นคุณค่า และเห็นว่าคนทำงานหนักควรได้รับค่าตอบแทนตามปริมาณงาน ส่วนใหญ่เห็นด้วยแต่บางส่วนยังไม่เข้าใจว่า จะเป็นการสร้างภาระงาน ต้องไปล่าแต้ม แต่จริงๆตรงนี้เป็นการปฏิบัติงานปกติ ทุกคนต้องเก็บรวบรวมผลงานเพื่อขึ้นเงินเดือน เราก็ปรับวิธีการเก็บข้อมูลไม่ให้เป็นปัญหาต่อผู้ปฎิบัติงาน ตามนโยบายในส่วนของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานทุกโรงพยาบาลที่ทำจะได้เพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ถ้าไม่ทำก็อาจจะยังไม่ได้เพิ่มขึ้น

ในทางปฏิบัติทุกจังหวัดขณะนี้ได้ลงไปทำความเข้าใจแล้ว ก็เดินหน้าเก็บผลงานและเตรียมพร้อมจ่ายเงิน ในเดือน พ.ค. มีหลายโรงพยาบาลที่พร้อมจ่ายเงิน มีจังหวัดบางส่วนพร้อมจ่ายแล้ว เท่าที่ดูเนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดความสับสน เริ่มต้นคิดว่าที่พร้อมจ่ายประมาณ 20-30% ทั้งพื้นที่ชนบทธรรมดา พื้นที่ชายแดน ส่วนกลุ่มที่จะเริ่มต้นกระทรวงฯก็มีทีมพี่เลี้ยงทำเรื่องนี้มา 2 เดือนแล้ว หลังมีข้อตกลงว่าเรื่องนี้ต้องเดินหน้า ในส่วนของข้าราชการประจำก็จะให้เข้าไปดำเนินการเต็มที่

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง ภาพรวมการปรับปรุงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขว่า โดยนโยบายและสิ่งที่เป็นปัญหาคือการขาดแคลนด้านบุคลากรด้านการแพทย์ และการกระจาย เรื่องกำลังคนซี่งสาธารณสุขกำลังดูแผนที่จะดึงกำลังคนกลับมาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีโครงการผลิตแพทย์ชนบท หนึ่งอำเภอหนึ่งแพทย์ คนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยในส่วนของแพทย์จะจบมาปีละ 2,500 คน การขาดแคลนก็จะน้อยลงเรื่อยๆ แต่โดยธรรมชาติแพทย์มักจะเรียนต่อเฉพาะทาง ก็จะดูไม่ให้เกิดการดึงแพทย์จากชนบทมาสู่ในเมือง