ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

กระแสออกมาว่ารัฐบาลกำลังทบทวนที่จะกลับมาใช้มีนโยบาย "30 บาทรักษาทุกโรค"คือเป็นการกลับมาเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่ง ณ ขณะนี้ผู้ป่วยที่ใช้บัตรจะสามารถใช้บริการได้ฟรี

การที่ภาครัฐมีความคิดที่จะกลับมาเก็บ 30 บาทอีกครั้งนั้น เป็นเพราะมีข่าวว่าสถานพยาบาลที่อยู่ในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประสบกับปัญหาการขาดทุน

แต่ในมุมมองของผู้บริโภคมองว่า การให้ประชาชนผู้ใช้สิทธิบัตรทองต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับระบบสาธารณสุขไทยลองมาดูเหตุผลที่ภาครัฐไม่ควรกลับมาใช้นโยบาย "30 บาทรักษาทุกโรค" ดังนี้

1.เป็นการผลักภาระให้ประชาชน การเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากประชาชนไม่ใช่วิธีที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแต่เป็นภาครัฐเองที่ต้องจัดสรรกองทุนในส่วนนี้ และต้องจัดสรรกองทุนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม พิจารณาตามปริมาณผู้ป่วย ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่กองทุนหลักประกันสุขภาพเท่านั้น ยังมีกองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งเป็นเรื่องของการบริหารจัดการกองทุน ที่ล้วนแต่มาจากเงินภาษีของประชาชน

2.ปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่เพราะรักษาฟรีเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากเจ็บป่วยแต่เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องรักษา ซึ่งในปัจจุบันนี้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลสิทธิบัตรทองมีการขยายครอบคลุมในกลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง

เช่น การรักษาผู้ป่วยไวรัสเอชไอวี ผู้ป่วยโรคไต โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งทำให้กลุ่มผู้ป่วยมีมากขึ้นรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้เปลี่ยนไปทั้งจากสภาพแวดล้อม อาหารการกิน ทำให้เกิดผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ อย่างเบาหวาน ความดัน มะเร็ง และหัวใจเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เป็นในภาพรวมไม่ใช่เฉพาะผู้ป่วยบัตรทองเท่านั้น นโยบายที่ช่วยเหลือสถานพยาบาลส่งเสริมให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิ ภาพ จึงควรดำเนินการไปทั้งระบบ การเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยบัตรทองไม่ใช่การแก้ปัญหา

3.ถึงแม้จะบอกว่ารักษาฟรี แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆผู้ที่ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีรายได้ประจำ หาเช้ากินค่ำ เมื่อเกิดเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลเท่ากับว่าวันนั้นพวกเขาต้องขาดรายได้ ไม่มีรับหลักประกันหรือค่าชดเชยใดๆ แถมการมาโรงพยาบาลผู้ป่วยบัตรทองก็ยังต้องมีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ฯลฯ

หากต้องเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลอีก 30 บาท ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ป่วยกลุ่มบัตรทอง นอกจากนี้ดูเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมเพราะเมื่อพิจารณาผู้ป่วยที่ใช้สิทธิอื่นๆเช่น กลุ่มข้าราชการ ที่จะมีภาครัฐเป็นคนจ่ายสนับสนุน 100% หรือกลุ่มประกันสังคมแม้จะมีการสมทบจ่าย แต่ก็ยังเป็นเงินที่สำรองไว้ใช้ได้ในกรณีอื่นๆn

อยากรู้ข้อมูลดีๆ เรื่องผู้บริโภคติดตามและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นิตยสาร"ฉลาดซื้อ"นิตยสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของผู้บริโภคwww.ฉลาดซื้อ.com, www.facebook.com/chaladsue และโทร. 02-248-3737

 

ที่มา: นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 19 พ.ค. 55