ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

 

10 ปีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถือว่าผ่านพ้นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านดี ด้านร้ายมามาก กระทั่งผ่านมาถึงช่วงการเลือกเลขาธิการ สปสช.ในวาระใหม่ ซึ่งนพ.วินัย สวัสดิวร ได้รับความไว้วางใจให้บริหารต่อเป็นวาระที่ 2

นพ.วินัย ได้เปิดแถลงข่าวเรื่อง"ขับเคลื่อน7 ยุทธศาสตร์มุ่งสู่ทศวรรษที่ 2 สร้างความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" โดยเน้นการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน

ได้แก่ 1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและมาตรการคุ้มครองด้านประกันสุขภาพ สำหรับทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย 2.พัฒนากระบวนการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่ความเป็นเจ้าของร่วมกัน 3.สนับสนุนการพัฒนาการบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐานทุกคนเข้าถึงได้และเป็นที่พึงพอใจของประชาชนและผู้ให้บริการตามแนวทาง SMART UC โดยมีหมอใกล้บ้านใกล้ใจ มียาดีใช้เพียงพอ ไม่ต้องรอรักษานาน

4.ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการโดยเน้นการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน 5.บริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง6.เสริมสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างกองทุนอื่นๆทั้งด้านสิทธิประโยชน์และการให้บริการ 7.เสริมสร้างและพัฒนาธรรมาภิบาลความเข้มแข็งและเสถียรภาพของระบบประกันสุขภาพ โดยเน้นความโปร่งใสและรับผิดชอบต่อสังคม

อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาที่สปสช.มีภาระงานที่หนักอึ้งในเรื่องของการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพที่มีความซับซ้อนมากขึ้นโจทย์ยากของการบริหาร คงไม่ใช่แค่ ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตของประชาชนกว่า 48 ล้านคน ดีอย่างเดียวแต่หมายถึงการเดินหน้าบริหารงานที่สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย

นพ.วินัย เปิดใจยอมรับว่า การทำงานตั้งอยู่บนความท้าทายพอสมควร โดยจากนโยบายของรัฐบาลชัดเจนว่า ต้องเน้นที่การลดความเหลื่อมล้ำเรื่องระบบบริการสุขภาพโดยเฉพาะการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยในโรคต่างๆอย่างเช่น  กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้องหารือร่วม 3 กองทุน คือสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ว่าจะจัดบริการอย่างไรให้มีมาตรฐานที่ไม่ต่างกันมาก เพื่อให้ครอบคลุมของประชาชนทุกคน โดยขณะนี้ สปสช.มีบริการ สำหรับผู้ป่วยโรคไตฯ ปัจจุบันมีกว่า 3 หมื่นคน ทั้งในสิทธิล้างช่องท้อง และฟอกเลือด และในอนาคตต้องหารือร่วมกับระบบอื่นๆว่าจะมีเป้าหมายในการบริการอย่างไรให้สะดวกรวดเร็ว

อีกประเด็นของการบริการด้านสุขภาพที่สปสช.ได้เคยดำเนินการค้างคา ไว้ก็ คือ เรื่องเกณฑ์การให้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ยังไม่แน่นอนโดย สปสช.มีมติเมื่อวันที่18 เม.ย.2554 ว่าอาจจะต้องให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ตามระดับ CD4 ต่ำกว่า 350 ซึ่งต่างจากเกกณฑ์ที่WHO กำหนด คือ ค่า CD4 ต่ำกว่า 200  แต่ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ อาทิ ให้ได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี   ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 50 ปี และป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง เป็นต้นซึ่งส่วนดังกล่าว สปสช.จะมีงบบริการสุขภาพ แยกเป็นงบฯ ต่างหากจากงบฯ เหมาจ่ายรายหัว  ซึ่งยังมีบางฝ่ายที่คัดค้านอยู่

นพ.วินัย กล่าวย้ำว่า  สิ่งที่ต้องทำต่อไป ก็คือการเร่งหารือทำความเข้าใจในเกณฑ์ดังกล่าวว่าการตรวจหา CD4 ใช้ค่าเท่าใด รวมทั้งเกณฑ์การใช้ยา ควรเป็นไปในทิศทางใด

"กรณีนี้ เบื้องต้นได้เชิญ นพ.ประพันธ์ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วินัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย มาเป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะในการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ขึ้น จากนั้นจึงจะพิจารณาว่า ทุกระบบต้องการใช้ยามาตรฐานเดียวกันอย่างไร  ซึ่งการขยายเรื่องไตวายฯและเอชไอวีนั้นจะพยายามทำให้เร็วที่สุด และหากเป็นไปได้น่าจะเป็นรูปธรรมภายในเดือนมิถุนายนนี้" นพ.วินัย ย้ำ

ไม่เว้นแม้แต่การฟื้นชีพ ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ก็ถือว่า สปสช.มีบทบาทในการดำเนินงานอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้นพ.วินัย ย้ำว่า จำเป็นต้องมีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ด สปสช.ในวันที่ 11 มิถุนายนนี้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะมีรูปแบบการเรียกเก็บอย่างไร คงต้องรอในการประชุม เนื่องจากเรื่องนี้ได้มอบให้กับคณะอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ ส่วนรายละเอียดเรื่องการเก็บค่าใช้จ่ายนั้นยังไม่มีความชัดเจน

สุดท้าย แม้สปสช. จะได้เลขาธิการสปสช.คนเดิมมาบริหารต่อเนื่องพร้อมกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ไม่แปรเปลี่ยนจากเดิมนัก แต่คงต้องจับตาดูกันต่อไป เพราะการเป็นเลขาธิการรอบใหม่ครั้งนี้ เป็นการวัดกึ๋นและความสามารถอย่างแท้จริงภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดมากมายโดยเฉพาะตัวแปรสำคัญอย่าง...การเมือง

นพ.วินัย ได้เปิดแถลงข่าวเรื่อง"ขับเคลื่อน7 ยุทธศาสตร์มุ่งสู่ทศวรรษที่ 2 สร้างความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" โดยเน้นการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน

ได้แก่ 1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและมาตรการคุ้มครองด้านประกันสุขภาพ สำหรับทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย 2.พัฒนากระบวนการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่ความเป็นเจ้าของร่วมกัน 3.สนับสนุนการพัฒนาการบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐานทุกคนเข้าถึงได้และเป็นที่พึงพอใจของประชาชนและผู้ให้บริการตามแนวทาง SMART UC โดยมีหมอใกล้บ้านใกล้ใจ มียาดีใช้เพียงพอ ไม่ต้องรอรักษานาน

4.ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการโดยเน้นการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน 5.บริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง6.เสริมสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างกองทุนอื่นๆทั้งด้านสิทธิประโยชน์และการให้บริการ 7.เสริมสร้างและพัฒนาธรรมาภิบาลความเข้มแข็งและเสถียรภาพของระบบประกันสุขภาพ โดยเน้นความโปร่งใสและรับผิดชอบต่อสังคม

อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาที่สปสช.มีภาระงานที่หนักอึ้งในเรื่องของการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพที่มีความซับซ้อนมากขึ้นโจทย์ยากของการบริหาร คงไม่ใช่แค่ ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตของประชาชนกว่า 48 ล้านคน ดีอย่างเดียวแต่หมายถึงการเดินหน้าบริหารงานที่สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย

นพ.วินัย เปิดใจยอมรับว่า การทำงานตั้งอยู่บนความท้าทายพอสมควร โดยจากนโยบายของรัฐบาลชัดเจนว่า ต้องเน้นที่การลดความเหลื่อมล้ำเรื่องระบบบริการสุขภาพโดยเฉพาะการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยในโรคต่างๆอย่างเช่น  กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้องหารือร่วม 3 กองทุน คือสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ว่าจะจัดบริการอย่างไรให้มีมาตรฐานที่ไม่ต่างกันมาก เพื่อให้ครอบคลุมของประชาชนทุกคน โดยขณะนี้ สปสช.มีบริการ สำหรับผู้ป่วยโรคไตฯ ปัจจุบันมีกว่า 3 หมื่นคน ทั้งในสิทธิล้างช่องท้อง และฟอกเลือด และในอนาคตต้องหารือร่วมกับระบบอื่นๆว่าจะมีเป้าหมายในการบริการอย่างไรให้สะดวกรวดเร็ว

อีกประเด็นของการบริการด้านสุขภาพที่สปสช.ได้เคยดำเนินการค้างคา ไว้ก็ คือ เรื่องเกณฑ์การให้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ยังไม่แน่นอนโดย สปสช.มีมติเมื่อวันที่18 เม.ย.2554 ว่าอาจจะต้องให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ตามระดับ CD4 ต่ำกว่า 350 ซึ่งต่างจากเกกณฑ์ที่WHO กำหนด คือ ค่า CD4 ต่ำกว่า 200  แต่ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ อาทิ ให้ได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ซี   ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 50 ปี และป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง เป็นต้นซึ่งส่วนดังกล่าว สปสช.จะมีงบบริการสุขภาพ แยกเป็นงบฯ ต่างหากจากงบฯ เหมาจ่ายรายหัว  ซึ่งยังมีบางฝ่ายที่คัดค้านอยู่

นพ.วินัย กล่าวย้ำว่า  สิ่งที่ต้องทำต่อไป ก็คือการเร่งหารือทำความเข้าใจในเกณฑ์ดังกล่าวว่าการตรวจหา CD4 ใช้ค่าเท่าใด รวมทั้งเกณฑ์การใช้ยา ควรเป็นไปในทิศทางใด

"กรณีนี้ เบื้องต้นได้เชิญ นพ.ประพันธ์ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วินัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย มาเป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะในการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ขึ้น จากนั้นจึงจะพิจารณาว่า ทุกระบบต้องการใช้ยามาตรฐานเดียวกันอย่างไร  ซึ่งการขยายเรื่องไตวายฯและเอชไอวีนั้นจะพยายามทำให้เร็วที่สุด และหากเป็นไปได้น่าจะเป็นรูปธรรมภายในเดือนมิถุนายนนี้" นพ.วินัย ย้ำ

ไม่เว้นแม้แต่การฟื้นชีพ ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ก็ถือว่า สปสช.มีบทบาทในการดำเนินงานอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้นพ.วินัย ย้ำว่า จำเป็นต้องมีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ด สปสช.ในวันที่ 11 มิถุนายนนี้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะมีรูปแบบการเรียกเก็บอย่างไร คงต้องรอในการประชุม เนื่องจากเรื่องนี้ได้มอบให้กับคณะอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ ส่วนรายละเอียดเรื่องการเก็บค่าใช้จ่ายนั้นยังไม่มีความชัดเจน

สุดท้าย แม้สปสช. จะได้เลขาธิการสปสช.คนเดิมมาบริหารต่อเนื่องพร้อมกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ไม่แปรเปลี่ยนจากเดิมนัก แต่คงต้องจับตาดูกันต่อไป เพราะการเป็นเลขาธิการรอบใหม่ครั้งนี้ เป็นการวัดกึ๋นและความสามารถอย่างแท้จริงภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดมากมายโดยเฉพาะตัวแปรสำคัญอย่าง...การเมือง