ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

 

ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นเรื่องการระบาดของโรคไทฟอยด์ในเอเชีย การระบาดในภูมิภาคมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้นำอนามัยโลกเรียกร้องให้มีการฉีดภูมิคุ้มกันมากขึ้น

วันนี้(13 มิ.ย.) ที่กรุงเทพฯ Coalition against Typhoid (CaT) จากการริเริ่มของ Sabin Vaccine Institute ได้รวมผู้นำด้านสุขภาพทั่วโลกจากประเทศต่างๆ ในเอเซีย เพื่อหารือเรื่องการระบาดสูงของโรคไทฟอยด์ และการประทุของโรคไทฟอยด์ในภูมิภาค ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้ผู้วางนโยบายและกระทรวงสาธารณสุขเร่งให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ในประเทศของพวกเขา

ดร. ลาลิตา เมนดิส ประธานกลุ่มให้คำปรึกษาทางเทคนิค ด้านการฉีดภูมิคุ้มกันขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ออฟฟิศประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEARO) ที่กรุงเดลีและอดีตประธานแพทย์สภาประเทศศรีลังกากล่าวว่า "สมาคมกุมารแพทย์และสมาคมอื่นๆ ในภูมิภาคตระหนักถึงความร้ายแรงจากผลกระทบของโรคไทฟอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไทฟอยด์ชนิดดื้อยาที่มีเพิ่มขึ้นและแพร่ขยายมากขึ้นทุกวัน หลายแห่ง - รวมทั้งอินเดียและอินโดนีเซีย - ได้แนะนำและสนับสนุนการฉีดวัคซีนไทฟอยด์ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้วางนโยบายแห่งชาติควรตรวจสอบหลักฐานและหารือกันเรื่องการนำนโยบายการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ไปใช้"

แม้องค์กรอนามัยโลกจะแนะนำและจัดลำดับความสำคัญของวัคซีนโรคไทฟอยด์ "ให้เริ่มใช้ทันที" ในการประชุมเมื่อ 2009 WHO SEARO meeting แต่หลายประเทศในเอเซียยังไม่แนะนำหรือเริ่มนำวัคซีนไทฟอยด์มาใช้

ดร. นูเย็น แวน ควอง รองหัวหน้าโปรแกรมภูมิคุ้มกันแห่งชาติเวียดนามกล่าวว่า "ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเวียดนามได้ใช้วีคซีนไทฟอยด์ควบคุมโรคในอำเภอที่มีความเสี่ยงสูงอย่างได้ผล และ โปรแกรมที่ได้รับความสำเร็จต่างๆ ได้ถูกนำไปใช้ในประเทศ จีน ไทย และ ศรีลังกา"

ตามรายงานของ  WHO มีคนเป็นโรคไทฟอยด์ประมาณสองหมื่นหนึ่งพันล้านคน และปีหนึ่งจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่าสองแสนคน ผู้เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กอนุบาลและเด็กในวัยเรียนในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกา องค์กรอนามัยโลกรายงานว่าผู้เสียชีวิตร้อยละเก้าสิบเกิดขึ้นในเอเซีย

ดร. เจเรมี ฟาร์ราร์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดในเวียดนาม กล่าวว่า "วัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจากองค์อนามัยโลกขณะนี้มีให้ใช้แล้ว แต่เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่จากรัฐมนตรีสาธารณสุขในหลายๆ ประเทศทั่วเอเซีย"

การติดเชื้อโรคไทฟอยด์มีผลกระทบต่อการไปเรียนและผลการเรียน และจำกัดจำนวนแรงงานและผลผลิต ไทฟอยด์ระบาดในชุมชนยากจนที่ขาดน้ำสะอาดและการสุขาภิบาลพื้นฐาน และแพร่เชื้อผ่านน้ำและอาหารที่ปนเปื้อน

ดร. ไชแยม ราช ยูเพรติ ผู้อำนวยการแผนกอนามัยเด็ก กรมบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขและประชาชนแห่งเนปาลกล่าวว่า "ในเนปาลโรคไทฟอยด์เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เด็กเล็ก วัยรุ่น และผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการไข้ และ เนปาลได้แสดงให้เห็นแล้วว่าโปรแกรมฉีดวัคซีนไทฟอยด์ที่มุ่งเน้นไปที่เด็กนักเรียนสามารถเริ่มต้นได้อย่างเป็นผลสำเร็จด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบ"

 

เพื่อสรุปการอภิปรายวันนี้ ผู้ร่วมอภิปรายขอย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องเพิ่มการสอดส่องดูแลและโปรแกรมควบคุมทั่วทั้งภูมิภาค และให้ข้อสังเกตว่า เพื่อให้ได้ผลสูงสุด การฉีดวัคซีนไทฟอยด์ต้องทำควบคู่ไปกับโปรแกรมสาธารณสุขอื่นๆ เช่นการมีน้ำสะอาดดื่มและการส่งเสริมการรักษาความสะอาด รวมทั้งการล้างมือ