ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

ไม่มีใครรู้ตัวเลขแท้จริงของจำนวน"แรงงานเพื่อนบ้าน" ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยว่ามีเท่าไรกันแน่?

ทว่าข้อมูลจากกรมแรงงานระบุไว้  2.7 ล้านคน ส่วนตัวเลขสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิคล ชี้ว่า ปี 2554 มีไม่น้อย4ล้านคน หากรวมสมาชิกครอบครัวที่ติดสอยห้อยตามมาด้วยกันแล้ว ตัวเลขอาจพุ่งถึง 5 ล้านคน

ปัญหาที่สร้างความกังวลในมากที่สุดคือ สภาพการขาดแคลนหมอและพยาบาลจะยิ่งเลวร้ายลงไปกว่าเดิม ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าสูประชาคมอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 นั้น เพื่อนบ้านจะยิ่งทะลักหลั่งไหลเข้ามาในไทยมากกว่าเดิม ชาวบ้านที่เคยนั่งรอหมอทั้งวัน อาจต้องเพิ่มเป็นค้างคืนด้วยกว่าจะถึงติวรักษา

กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงปัญหาข้างต้นเป็นอย่างดี เมื่อวันที่  15 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้จัดประชุมวิชาการหัวข้อ"สุขภาพแรงงานข้ามชาติ:ทางออกที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ" ข้อมูลจากงานประชุมระบุว่าขณะนี้เกิดปัญหาขาดแคลนกำลังคน 4 สาขาวิชาชีพหลัก คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลและเภสัชกร หากเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะประชากรไทยแล้ว อัตราแพทย์ขาดแคลนจำนวน 506 คน, ทันตแพทย์ 2,139 คน,พยาบาล 14,148 คน และเภสัชกร 1,235 คน หากรวมภาระงานรักษาเพื่อนบ้านด้วยแล้ว ตัวเลขจะยิ่งพุ่งสูงขึ้นไปอีก

นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง ยอมรับว่า รพ.อุ้มผางดูแลผู้ป่วย 8.4 หมื่นคน ร้อยละ 62 คือชาวเขาไม่ม้บัตร ปแรงงานต่างด้าว ฯลฯ มีเพียงร้อยละ 38 เท่านั้นที่มีหลักประกันสุขภาพ ส่งผลให้ขาดทุนประมาณปีละ 27-28 ล้านบาท ถ้าเปิดเสรีอาเซียนแล้วผู้คนจะยิ่งทะลักเข้ามามาก รวมทั้งโรคระบาดที่เคยหายไป เช่นโรคเท้าช้าง คอตีบ โปลิโอ ฯลฯ อาจกลับเข้ามาระบาด  จึงอยากให้ช่วยกันผลักดันให้รัฐบาลในประชาคมอาเซียนทุกประเภทสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนทุกคน และมีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพร่วมกันในประชาคมสุขภาพ จะช่วยแก้ปัญหานี้ลงได้

หากย้อยไปเมื่อปี 2543 อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวถูกกฏหมาย สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ในราคาปีละ 1,900 บาทจนถึงปี 2555 มีผู้ซื้อประมาณ 5.2 แสนคน จากผู้ขึ้นทะเบียนทั้งหมดกว่า 1 ล้านคนนั้น

นพ.ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ นักวิจัยจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) อธิบายว่า เป็นการเข้าใจผิด ที่คิดว่าแรงงานข้ามชาติเป็นภาระทางการเงินของโรงพยาบาลหลายแห่ง หรือทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับระบบสุขภาพคนไทย เพราะความจริงแล้ว คนกลุ่มนี้สร้างความเติบโตให้แก่เศรษฐกิจไทย และทุกคนก็มีส่วนในการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในทุกสินค้าและบริการที่พวกเขาซื้ออยู่แล้ว

"จากการศึกษาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศปี 2550 พบว่า แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มรายได้ให้ไทยปีละ 6 หมื่นล้านบาท กภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 7-10 ภาคเกษตรกรรมร้อยละ 4-5 ปัญหาที่แท้จริงคือ การกำหนดให้เฉพาะผู้มีใบอุนญาตทำงานถูกกฏหมายเท่านั้นที่ซื้อประกันสุขภาพได้ ทำให้แรงงานต่างด้าวผิดกฏหมาย หรือผู้ติดตามเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ ทั้งท้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจไทยควรเปลี่ยนมุมมองใหม่ให้ทะกคนซื้อได้ ต้องแยกเรื่องนี้ออกจากเรื่องปัญหาสัญชาติ" นพ.ระพีพงศ์ กล่าว

ขณะที่ "พร้อมบุญ พานิชภักดิ์" เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย ตัวแทนเครือข่ายเอ็นจีโอผู้คลุกคลีกับแรงงานต่างด้าวมานานกส่าสิบปี มองว่า โรงพยาบาลหลายแห่งไม่ได้ขาดทุนจริง เช่น สมุทรสาคร เระนอง ตาก เพราะมีคนมาลงทะเบียนประกันสุขภาพจำนวนมากขึ้น คำนวณว่าแรงงาน 1 คนจ่าย1,300 บาท หากมี 1 หมื่นคน ก็เพิ่มเป็น 30 ล้านบาท ควรบริหารเงินให้เหมาะสม เอาเงินส่วนหนึ่งไปจ้างชาวพม่าหรือกัมพูชามาเป็นพนักงาสุขภาพชั่วคราว เพื่อลดภาระงานบางส่วน นอกจากนี้ยังควรเปิดให้ผู้ติดตามหรือผู้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนซื้อประกันสุขภาพได้เพราะถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และจะช่วยลดการขาดทุนได้ด้วย

"อานดี้ ฮอลล์" นักต่อสู้สิทธิแรงงานข้ามชาติ ที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสมัพันธ์(สรส.) แสดงความเห็นเรื่องนี้ว่า ทั่วโลกกำลังประสนบกับปัญหาแรงงานย้ายถิ่นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย การเปิดเสรีอาเซียนนั้น ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า แรงงานจะทะลักเข้ามาอีกมากจริงหรือไป หรือว่าแรงงานไทยจะออกไปทำงานที่ประเทศอื่นมากขึ้น

"การซื้อประกันไว้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องป่วย เขาจ่ายหัวละ 1,300 บาทต่อปี รวมค่าตรวจร่างกาย 600 บาทด้วยคนจำนวนมากซื้อแล้วไม่ได้ใช้บริการก็มีแค่ไม่กี่โรงพยาบาลตามชายแดนเท่านั้นที่ขาดทุน แต่ภาพรวมทั่วประเทศไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น และที่สำคัญอยากให้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย" อานตี้  แนะนำทิ้งท้าย

ที่มา: นสพ.คมชัดลึก วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555