ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2557 เป็นต้นไป ผู้ประกันตนซึ่งเกษียณอายุ 55 ปี จะได้รับบำนาญชราภาพ  หลังจากที่สะสมมาจนครบ 15 ปี หรือ 180 เดือน  โดย นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในฐานะโฆษก สปส. ประมาณการว่าปี 2557 จะมีผู้ประกันตนที่อายุครบ 55 ปี รับเงินบำนาญชราภาพจำนวน 5,000 คน คิดเป็นวงเงิน 90 ล้านบาท และรับเงินบำเหน็จชราภาพ (กรณีเกษียณอายุ 55 ปีแต่สมทบเงินไม่ถึง 15 ปี) อีกประมาณ 122,860 คน เป็นเงิน 8,190 ล้านบาทรวมแล้วเฉพาะในปีแรกรัฐก็ต้องควักเงินมากกว่า 8.280 พันล้านบาท รองรับการเกษียณ
ปัจจุบันเงินกองทุนประกันสังคมมีมูลค่ารวม 946,376 ล้านบาท โดยเม็ดเงินออมดังกล่าว มาจากการเงินของผู้ประกันตน  5% ที่หักจากรายได้ (คำนวณจากรายได้สูงสุดต้องไม่เกิน 15,000 บาท) ส่งสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือน โดยเงินจำนวนดังกล่าว จะถูกหักเป็นเงินออมชราภาพ 3% และเป็นส่วนของนายจ้างที่สมทบให้อีก 3% ซึ่งรวมเป็น 6% และได้สะสมมานับตั้ง แต่กองทุนชราภาพมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมกราคม 2542

ถ้าเกษียณ 55 ปี ได้บำนาญเท่าไหร่

ดังนั้นผู้เกษียณอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่ได้ส่งสมทบครบเป็นเวลา 15 ปี ตามที่กฎหมายกองทุนชราภาพกำ หนด จะได้เงินบำนาญรายเดือนตลอดชีพเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2557  โดยอัตราบำนาญจะอยู่ที่ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุด ท้าย (เพดานรายได้สูงสุดที่ 15,000 บาท)

ยกตัวอย่าง รายได้เฉลี่ยที่ 10,000 บาท จ่ายสมทบครบ 180 เดือน และเกษียณอายุจะได้รับบำนำญเดือนละ 2,000 บาทไปจนตลอดชีพ, รายได้เฉลี่ยอยู่ที่  15,000 บาท จะได้รับบำนาญเดือนละ 3,000 บาท

ส่วนผู้ที่ยังไม่เกษียณในปี 2557 และยังเป็นผู้ประกันตน มีการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องก็จะได้เงินบำนำญเพิ่มขึ้น โดยทุก 12 เดือนหรือ 1 ปี จะได้เพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ยกตัวอย่างปี 2557 ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี แต่ยังไม่เกษียณอายุ จะเกษียณก็เมื่ออายุ 60 ปีหรือก็คือปี 2562 เงินบำนาญก็จะได้เพิ่มจากร้อยละ 20 ที่ปี 2557 บวกเพิ่มอีกร้อยละ 7.5  (นับจากปี 2558 ถึงปี 2562 อีกปีละ 1.5)  รวมเป็นร้อยละ 27.5
ดังนั้นหากเงินเดือนเฉลี่ยปี 2562 อยู่ที่ 10,000 บาทจะได้รับเงินบำนาญเดือนละ  2,750 บาท, เงินเดือนเฉลี่ยที่ 15,000 บาท ก็จะได้รับเดือนละ  4,125 บาท (ดูตารางประกอบ)

ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตนสมทบไม่ครบ 180 เดือนหรือ 15 ปี และเกษียณอายุไม่ว่าจะเป็นปีใดก็ตามจะได้รับเป็นเงินก้อนหรือ "เงินบำเหน็จชราภาพ" โดยได้รับในส่วนเงินสมทบที่สะสมมาทั้งในของตนเองและนายจ้างพร้อมดอกผล

แต่หากสะสมไม่ถึง 12 เดือนและต้องเกษียณอายุก็จะได้เงินสมทบในส่วนของตนเองเท่านั้น และในกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต เงินบำเหน็จจะตกเป็นของทายาทผู้รับมรดก

บำนาญหลังเกษียณ

เงินบำนาญหลังเกษียณ แม้จะเป็นข่าวดีที่เงินเก็บหอมรอมริบ ถึงทีได้นำเอามาใช้จุนเจือยามชราภาพเสียที   แต่ มองจากเม็ดเงิน หลายคนก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้อยจัง เพราะคำนวณจากรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ 15,000 บาทขึ้นไป รับต่ำสุดอยู่ที่ 3,000 บาท สูงสุด จากการคำนวณการส่งสมทบ กรณีที่จบปริญญาตรีเมื่ออายุ 25 ปี ทำงานอีก 35 ปี เกษียณที่ 60 ปี หรือสะสมตั้งแต่ปี 2542 ถึงปี 2577จะได้รับบำนาญเพียงเดือนละ 7,500 บาทเท่านั้น

ที่สำคัญยังเป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ในการใช้สิทธิเรื่องการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย โดยกฎหมายประกันสังคมให้สิทธิหลังการเกษียณอีก 6 เดือนเท่านั้น

จากนั้นต้องไปใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคแทน และจะด้วยเม็ดเงินที่ได้รับหลังเกษียณน้อยนิดหรือไม่ ทำให้ผลสำรวจของสปส.ที่ผ่านมาพบว่าผู้ประ กันตนกว่าร้อยละ 80-90 เลือกรับบำ เหน็จหรือเป็นก้อนมากกว่าด้วยเหตุผลที่ว่าได้รับเป็นเนื้อเป็นหนังกว่า

อย่างไรก็ดี เมื่อมองจากเงินสมทบ ของผู้ประกันตนในช่วงทำงานกับ นายจ้างจ่ายสมทบรวมกันเพียงร้อยละ 6 เท่านั้น แต่เกษียณกลับได้รับถึงร้อยละ 20 และได้ตลอดชีวิต จึงยิ่งกว่าคุ้มเสียอีกทำนองเดียวกัน กลับเป็นการเพิ่มภาระให้กับกองทุนประกันสังคมขึ้นทุกปี

หวั่นกองทุนฯติดลบ

ต่อประเด็นภาระกองทุนประกันสังคม จากการศึกษาของสปส.พบว่าหากไม่มีการดำเนินการใด ๆ กองทุนชราภาพจะติดลบในอีก 32 ปีข้างหน้า หรือในปี 2587 ดังนั้นนอกจากการบริหารหาผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้นสปส.ยังได้ตั้งคณะอนุ กรรมการพิจารณาและกำหนดแนวทางการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ 6 แนวทาง  กล่าวคือ 1.เพิ่มอัตราเงินสมทบ จำนวนปีที่กองทุนประกันสังคมจะอยู่ได้นับจากปี 2557 จำนวน 47 ปี 2.ขยายอายุเกษียณ จำนวนปีที่กองทุนประกันสัง คมจะอยู่ได้นับจากปี 2557 จำนวน 38 ปี

3.ขยายระยะเวลาการส่งเงินสมทบ จำนวนปีที่กองทุนประกันสังคมจะอยู่ได้นับจากปี 2557 จำนวน 34 ปี 4. ปรับฐานค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำ นวณ บำนาญชราภาพ จำนวนปีที่กองทุนประกันสังคมจะอยู่ได้นับจากปี 2557 จำนวน 33 ปี 5.มาตรการผสมโดยใช้ทางเลือกที่ 1 บวก 3 จำนวนปีที่กองทุนประกันสังคมจะอยู่ได้นับจากปี 2557 จำนวน 59 ปี และ 6.มาตรการผสมโดยใช้ทางเลือกที่ 1 บวก 2 บวก 3 บวก 4 จำนวนปีที่กองทุนประกันสังคมจะอยู่ได้นับจากปี 2557 จำนวนมากกว่า 75 ปี

"นอกจากนี้สปส.กำลังศึกษาว่า ควรจ่ายเงินบำนาญชราภาพในอัตราเท่า ใดเพื่อให้เหมาะสมกับฐานเงินเดือนของผู้ประกันตนบนฐานเงินเดือนที่มีระดับแตกต่างกันโดยต้องกำหนดให้สอดคล้อง กับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน"

อย่างไรก็ดี สปส. ยังไม่สรุปว่าจะเลือกใช้แนวทางใดโดยหลักของการพิจาร ณาจะคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ต่อผู้ประกันตนให้สูงสุดตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ซึ่งสรุปได้ว่าในเร็วๆ นี้สปส.จะไม่ มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ใดๆเกี่ยวกับการส่งเงินสมทบ หรืออายุเกษียณ ผู้ประกันตนที่จะเกษียณใน 1 ปีข้างหน้าคอยรับบำนาญจากเงินที่ส่งสมทบต่อเนื่องมานับสิบได้เลย

ที่มา : นสพ.ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555