ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

สปส.ยันไม่ขยายอายุรับเงินชราภาพ ยังใช้เกณฑ์อายุ (มส.ผส.) และสถาบันวิจัยประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล เสนอให้ภาพเอกชน และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงานขยายอายุเกษียณการทำงานจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของเงินชราภาพให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนในระยะยาวนั้น

ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการ สปส. ในฐานะโฆษก สปส. กล่าวว่า เรื่องของอายุเกษียณการทำงาน กับอายุการเกิดสิทธิได้รับเงินสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นคนละเรื่องกัน โดยการขยายอายุเกษียณการทำงานนั้น สปส.ไม่มีอำนาจไปกำหนด เป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันเอง ต่างจากราชการที่กำหนดไว้ชัดเจนให้อยู่ที่ 60 ปี

ส่วนที่ สปส.กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนเกิดสิทธิการรับเงินสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ เพราะเห็นว่าเป็นช่วงวัยที่ลูกจ้างทำงานมานานเพียงพอแล้ว โดยเฉพาะลูกจ้างรุ่นใหม่เข้ามาแทนลุกจ้างรุ่นเก่าในช่วงอายุดังกล่าว

"ยืนยันว่ายังไม่มีขยายอายุการเกิดสิทธิการรับเงินสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพยังคงกำหนดไว้ที่อายุ 55 ปีบริบูรณ์ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่มีการศึกษามาดีแล้ว หากลูกจ้างอายุ 55 ปีบริบูรณ์และนายจ้างยังต้องการจ้างงานต่อไปจนถึงอายุ 60 ปี ลูกจ้างก็มีสิทธิยังไม่ขอรับเงินสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และสามารถส่งเงินสมทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคมได้ต่อไปเรื่อยๆ จนอายุ 60 ปี และขอรับสิทธิกรณีเงินชราภาพเมื่อเกษียณจากการทำงานได้" นายอารักษ์กล่าว

โฆษก สปส. กล่าวอีกว่า เกณฑ์การจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้แก่ผู้ประกันมาตรา 39 และมาตรา 33 แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.เงินบำเหน็จชราภาพให้เป็นเงินก้อนเดียวแก่ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนไม่ครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี และ 2. เงินบำนาญชราภาพให้เป็นเงินรายเดือนแก่ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และว่งเงินสมทบเข้ากองทุนครบ 15 ปี และออกจากงาน ทั้งนี้ ผู้ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมานาน 15 ปี แต่อายุไม่ถึง 55 ปี มารับเงินบำนาญชราภาพได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หากเสียชีวิตเงินบำนาญชราภาพจะตกเป็นของลูกหลานผู้ประกันตน โดยภายใน 5 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จจำนวน 10 เท่า ของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

ทั้งนี้ เมื่อคำนวณตามค่าจ้างเฉลี่ย 5 ปี สุดท้ายก่อนเกษียณของผู้ประกันตนมาตรา 33 โดย สปส. กำหนดตัวเลขค่าจ้างสูงสุดซึ่งนำมาใช้ในการคำนวณตามสูตรที่กำหนดไว้ที่เดือนละ 1.5 หมื่อนบาท ทำให้ได้เงินบำนาญชราภาพพื้นฐานตามสูตรของ สปส.โดยหากเงินเดือน 9,000 บาท ได้รับเงินเดือนละประมาณ 1,800 บาท เงินเดือน 1 หมื่นบาท ได้รับเดือนละประมาณ 2,000 บาท เงินเดือน 1.2 หมื่อบาท ได้รับเดือนละประมาณ 2,400 บาท และเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท ได้รับเดือนละประมาณ 3,000 บาท

"สปส.ได้ประมาณการไว้ว่าในปี 2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์เงินบำนาญชราภาพ จะมีผู้อายุครบ 55 ปีที่รับเงินบำนาญชราภาพ 5,000 คน รวมเป็นเงิน 90 ล้านบาทและรับเงินบำเหน็จชราภาพประมาณ 1.2 แสนคน เป็นเงิน 8,000 ล้านบาท รวมแล้วจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพทั้งหมด 8,090 ล้านบาท" นายอารักษ์กล่าว

ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของนักวิชาการ ที่เสนอให้ภาคเอกชน และ สปส.ขยายอายุเกษียณการทำงานภาคเอกชน และ สปส.ขยายอายุเกษียณการทำงานจาก 55 ปี เป็น 60 ปี คิดว่าการที่ สปส.กำหนดอายุการเกิดสิทธิได้รับเงินสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพไว้ที่อายุ 55 ปีบริบูรณ์ เหมาะสมเพราะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สิ่งทดรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ต้องทำงานหนักและปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำให้มีสุขภาพไม่ดี จะให้ทำงานต่อไปถึงอายุ 60 ปี คงไม่ไหว เชื่อว่านายจ้างคงไม่อยากจ้างลูกจ้างที่อายุเกิน 55 ปี เพราะทำงานไม่ไหว และสุขภาพไม่ดี

"เข้าใจว่านักวิชาการเป็นห่วงเรื่องการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ จะเกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนประกันสังคมในระยะยาว แต่ควรศึกษาวิจัยให้รอบด้านมากกว่านี้ และเสนอวิธีการทีหลากหลายและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เช่น เพิ่มอัตราจัดเก็บเงินสมทบและเพิ่มเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้สอดคล้องกับอายุของผู้ประกันตน ที่เพิ่มขึ้นแบบขั้นบันไดโดยเริ่มที่อายุ 51 ปีไปจนถึง 55 ปี การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนให้ได้ผลกำไรเพิ่มมากขึ้น"น.ส.วิไลวรรณกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูล สปส. ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 ระบุว่า สถานประกอบการที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 407,000 แห่ง ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน เก็บเงินสมทบจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ นายจ้าง และลูกจ้างจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 5 และรัฐบาลจ่ายร้อยละ 2.75 ของเงินเดือน โดยกองทุนมีเงินสะสม 946,376 ล้านบาท โดยแบ่งเงินเป็น 3 ส่วนหลัก คือ สงเคราะห์บุตรและชราภาพมากที่สุดกว่า 8 แสนล้านบาท ว่างงานกว่า 6 หมื่นล้านบาท และเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ กว่า 5 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ สปส.ประมาณการในปี 2567 จะมีผู้ประกันตนรับเงินบำเหน็จชราภาพ 12,860 คน และรับบำนาญ 817,680 คน จ่ายเงินบำเหน็จและบำนาญรวม 53,020 ล้านบาท ปี 2577 เงินกองทุนมียอดสะสมสูงสุด 4.59 ล้านล้านบาท มีผู้รับบำเหน็จ 69,950 คน และรับบำนาญรวม 444,610 ล้านบาท ปี 2578 กองทุนมีรายรับเท่ากับรายจ่าย และปี 2587 กองทุนติดลบ มีผู้รับบำเหน็จและบำนาญรว 6.3 ล้านคน อย่างไรก็ตามกองทุนประกันสังคมกำลังเร่งสร้างความมั่นคงไห้แก่กองทุนโดยเพิ่มรายได้จากการลงทุนให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากอีก 32 ปีข้างหน้าในปี 2587 กองทุนประกันสังคมจะตกอยู่ในภาวะติดลบเพราะต้องจ่ายเงินกรณีชราภาพออกไปเป็นจำนวนมากเบื้องตัน สปส.ได้ศึกษาวิธีการรองรับปัญหาข้างต้นโดยได้ข้อสรุปว่า มี 6 รูปแบบ คือ การปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบ การขยายอายุเกษียณผู้ประกันตน การขยายระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ การปรับฐานค่าจ้างเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณ การเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนและมาตรการผสม 1+2+3+4 ทำให้กองทุนชราภาพมีเสถียรภาพนานไปถึงอีก 75 ปี ซึ่งสปส.ตั้งเป้าหมายจะสรุปแนวทางรองรับปัญหาดังกล่าวให้ได้ภายในปีนี้

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556