ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

นายกสมาคมร.พ.เอกชนแนะ รัฐดัน 3 กลยุทธ์-เพิ่มบุคลากรสาธารณสุข-งบอาร์แอนด์ดีการแพทย์-คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รับมือ AEC ระบุรัฐต้องเร่งผลักดันนโยบาย "เมดิคัล เอ็ดดูเคชันฮับ" ขึ้นเป็นผู้นำการศึกษาแพทย์ของกลุ่มประเทศ CLMV

น.พ.เฉลิม หาญพานิชย์ ประธานและซีอีโอ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า รัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันการแพทย์ของไทยให้พร้อมรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยใช้ 3 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์แรก คือให้มีการผลิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ "ปัจจุบันแพทย์ไทยมี 3 คนต่อประชากร 1 หมื่นคน เป็นอันดับ 7 ของประเทศอาเซียน ซึ่งยังน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ ซึ่งมีจำนวนแพทย์ 20 คนต่อประชากร 1 หมื่นคนอยู่มาก บวกความต้องการทางการแพทย์ที่มากขึ้น นอกจากการรับรองประชากรในประเทศแล้ว ยังมีจำนวนผู้สูงอายุและนักท่องเที่ยวทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นำ

น.พ.เฉลิมกล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้วการแพทย์ไทยมีแหล่งผลิตที่มีคุณภาพอยู่หลายแห่ง เช่น  มหาวิทยาลัยแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ต่างๆาทางรัฐต้องไปสนับสนุนแหล่งผลิตให้เพิ่มจำนวนผลิตที่มีคุณภาพดี จำเป็นที่จะต้องเร่งผลักดันการเป็นMedical Educational Hub ศูนย์การศึกษาทางการแพทย์ ของภูมิภาคอาเซียน โดยเน้นไปผลิตบุคลากรในประเทศ และสามารถจะเป็นผู้นำในทางศึกษาทางการแพทย์ในกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนามได้

นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนยังเพิ่มเติมเรื่องกลยุทธ์การรับมือ AEC ว่า ประเทศไทยควรจะมีงบค้นคว้าและพัฒนา หรือวิเคราะห์วิจัยให้มากขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยาง เตียงไฟฟ้า เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆาปัจจุบันในกลุ่มโรงพยาบาลต่างๆ นำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์เกือบ 100% ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วประเทศมีวัตถุดิบในการผลิตอยู่แล้ว ถือว่าเป็นจดอ่อนจดหนึ่งของประ เทศไทย

น.พ.เฉลิมกล่าวว่า ที่ผ่านมาประ เทศไทยยังไม่มีระบบการค้นคว้าที่ชัดเจน ไม่มีการสร้างนวัตกรรมการแพทย์ของเราเอง ไม่มีระบบการเก็บคลังสุขภาพ ทำให้เวลาเกิดปัญหาเครื่องมือทางการแพทย์ขาดแคลนจะทำให้ไทยประสบกับปัญหาได้โดยยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แพทย์ขาดแคลนจะทำให้ไทยประสบกับปัญหาได้โดยยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำเกลือขาดแคลนเนื่องจากโรงงานผลิตน้ำเกลือปิดไป 3 แห่งานอกจากนี้ภาครัฐจำควรแต่งตั้งทีมบริหารระดับหัวแถวมาบริหารจัดการระบบสุขภาพเป็นแบบองค์รวม มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติหรือาNational Health Authority ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีตัวแทนกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กรมบัญชีกลางมาบริหารกองทุนผู้ซื้อบริการ และกระทรวงศึกษา ธิการเข้ามารับรู้ถึงจำนวนความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องการที่แน่ชัด

น.พ.เฉลิม กล่าวต่อไปว่าปัจุจบันจากผลการสำรวจประเทศไทยมีจำนวนหมอที่ประจำการเพียง 2 หมื่นคน และมีความสามารถในการผลิตแพทย์เพียง2 พันคนต่อปี ซึ่งปัญหาเช่นนี้ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงาน ควรที่จะรับรู้ความ ต้องการของประเทศและมองปัญหาภาพใหญ่ภาพเดียวกัน

ในส่วนของผลกระทบจากการเปิด AEC นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนกล่าวด้วยว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีมากขึ้นและแรงงานที่จะหลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น รัฐบาลควรผลักดันเรื่อง ประกันสุขภาพของกลุ่มคนเหล่านี้อย่างนักท่องเที่ยวสูงอายุ ที่จะมาอยู่ long stay ว่ามีการทำประกันสุขภาพอย่างไร ต้องเป็นบริบทที่ชัดเจน ทุกคนต้องมีเจ้าภาพผ่านองค์กรพวกนี้หมด รัฐบาลสามารถที่จะจัดเตรียมให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ จะผ่านกองทุนพื้นฐานในประเทศหรือไปบริษัทประกันของท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ จะผ่านกองทุนพื้นฐานในประเทศหรือไปบริษัทประกันของเอกชนก็ได้

นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนกล่าวว่า เมื่อ AEC เกิดขึ้นการลงทุนและเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุน 70% โรงพยาบาลจำเป็นต้องมีการรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนมากขึ้นเรียกว่าMulti Hospital System ซึ่งจะทำให้กลุ่มการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลำบากมากขึ้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 - 27 มี.ค. 2556