ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ประกาศเป็นนโยบายไว้ชัดเจนตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขวันแรก เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2555 ว่าจะมีการปรับบทบาทและโครงสร้างของหน่วยงานในระบบสาธารณสุขของประเทศให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะจัดแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.Regulator 2.Provider และ 3.Purchaser รวมถึงการมี National Health Authority และ National Health Information

"ที่ต้องมีการปรับระบบสาธารณสุข เนื่องจากการประเมินผลการทำงานหลังจากสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในรอบ 10 ปีมานี้ พบว่าช่วยประชาชนพ้นจากความยากจน การเข้าถึงบริการเพิ่มจาก 1 เป็น 3 ครั้ง แต่ปัญหาพบว่า โรงพยาบาลใหญ่เกิดความแออัด ใช้กำลังคนมากขึ้น ในการแก้ปัญหารัฐบาลต้องการให้ระบบมีความยั่งยืนจึงมีแนวคิดพัฒนาระบบการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ และเขตบริการ" นพ.ประดิษฐ ให้เหตุผลที่ต้องมีการปฏิรูประบบสาธารณสุข

ผ่านไปเพียง 4 เดือนเริ่มมีการขยับขับเคลื่อนที่เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นมีความชัดเจนขึ้นถึงบทบาทและหน่วยงานที่จะถูกจัดลงสู่แท่งทั้ง 3 แท่งในระดับเบื้องต้น ได้แก่ 1.Regulator หรือผู้กำหนด กำกับ ดูแล มาตรฐาน ด้านบริการต่าง ๆ ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ทำหน้าที่พัฒนากำหนดมาตรฐานด้านเทคนิค มาตราฐานบริการ วิชาการ เทคโนโลยีด้านสุขภาพใหม่ ๆ ให้หน่วยบริการ และชี้นำในเรื่องมาตราฐาน เป็นมาตราฐานเดียวของประเทศ ประกอบด้วยกรมต่าง ๆ

2.Provider หรือผู้ให้บริการ คือ หน่วยบริการสังกัด สธ.ทั้งหมด ได้แก่ รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.)ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รพ.สังกัดกรมสุขภาพจิต หรือาจหมายรวมถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีบทบาทในการให้บริการเรื่อวของห้องปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ สธ. มีการปรับระบบการให้บริการรูปแบบใหม่ครั้งใหญ่ โดยการจัดแบ่งเป็น เครื่อข่ายบริการหรือเขตบริการ 12 เขต เพื่อให้สถานบริการภายในเขตบริการเดียวกันใช้ทรัพยากรทั้งบุคลากรและเวชภัณฑ์ร่วมกัน

เครือข่ายบริการทั้ง 12 เขตจะดำเนินการบริหารจัดการร่วมกันตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของสธ. 10 สาขา ประกอบด้วย 1.หัวใจ 2.ทารกแรกเกิด 3.มะเร็ง 4.อุบัติเหตุ 5.ตา ไต 6.จิตเวช 7.การผ่าตัดไส้ติ่งและผ่าคลอด 8.ทันตกรรม 9.บริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม และ 10.โรคไม่ติดต่อต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งสภานพยาบาลในแต่ละเครือข่ายบริการจะพัฒนาขีดความสามารถในการจัดบริการทั้ง 10 สาขาร่วมกัน โดยภายในเครือข่ายต้องมาพิจารณาร่วมกันว่าสถานพยาบาลแห่งไหนมีขีดความสามารถเรื่องใดบ้างที่โดดเด่น ควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนด้านนั้นภายในเครือข่าย และ 3.Purchaser หรือผู้ซื้อบริการ ได้แก่ กำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.)กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานอื่นในอนาคต อาทิ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.)

อย่างไรก็ตาม บางกรมอาจจะทำหน้าที่ทั้งในแท่งของผู้ดูแลมาตรฐานและผู้ให้บริการ เช่น กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิตที่มีโรงพยาบาลในสังกัด เป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างที่กรมต่าง ๆ กำลังกำเนิการกำหนดบทบาทของตัวเองลงแท่งต่าง ๆ ให้ชัดเจนขึ้น ยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้หน่วยงานระดับกรมต่าง ๆ ได้มีการจัดแบ่ง ภารกิจของงานที่ดำเนินการคล้ายคลึงกันออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.งานการจัดทำมาตรฐาน ได้แก่ กรมการแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กรมสุขภาพจิต และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 2.งานการสร่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย และ 3.งานสนับสนุน ได้แก่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

โดยในการจัดกลุ่มภารกิจของกรมต่าง ๆ นี้ มีการดึงหน่วยงานนอกสังกั้ด สธ. แต่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะตระกูล ส. ต่างเข้ามารวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันด้วยโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) อยู่ร่วมกับกรมการแพทย์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อยู่ร่วมกับกรมอนามัย และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) อยู่ร่วมกับ สบส.

ท้ายสุดหน่วยงานทั้งหมดจะมี คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) หรือ National Health Authority มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ เป็นกรรมการ เปรียบเสมือนเป็นคณะรัฐมนตรีสุขภาพ ทำหน้าที่เป็นองค์กรสูงสุดในด้านบริหารกำหนดนโยบาย ยุทศาสตร์สุขภาพระดับชาติ ให้คำแนะนำด้านนโยบายแก่รัฐบาล เพื่อให้ทุกหน่วงานเดินไปในทิศทางเดียวกันแบบไม่สะเปะสะปะ นอกจากนี้ มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสุขภาพแห่งขาติ (Nation Health Information) เพื่อจัดทำระบบรายงานข้อมูลสุขภาพของประเทศ ทุกหน่วยงานสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยในเบื้องต้นจะให้ สปสช.ทำหน้าที่เป็นหน่วยจ่ายกลางของ 3 กองทุนสุขภาพ และกอนทุนอื่น ๆ ในอนาคต

ซึ่งการจัดหน่วยงานตระกูล ส เข้ากลุ่มกับกรมต่างและการ ควช.นี้เองถูกตั้งคำถามอย่างหนักว่าฝ่ายการเมืองเข้าไปยึดอำนาจ "ยุบตระกูล ส" หรือล้มตระกูล ส" และรุ่นพี่กลุ่มแพทย์ชนบทที่เข้าไปมีบทบาทอยู่ในตระกูล ส เช่น นพ.อำนาจ จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และนพ.วิชัย โชควิวัฒน บอร์ด สปสช. บอร์ด สสส. และบอร์ดสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นต้น ที่มองว่าไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกระทรวง และเป็นการรวบอำนาจของ สธ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมี ควช.ใหม่ที่ทับซ้อนกับ คสช.เดิม

นพ.ประดิษฐ ชี้แจงว่า คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติที่จะตั้งขึ้นใหม่โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานนั้น ทำหน้าที่กำหนดนโยบายสุขภาพของประเทศให้ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ได้ทำหน้าที่ทับซ้อนกับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลหรือคณะกรรมการชุดใหม่ในการนำข้อเสนอของภาคประชาชนมาเสนอเพื่อกำหนดเป็นนโยบายสุขภาพ

"สำหรับ ตระกูล ส ผมไม่ได้เข้าไปล้มเพราะแต่ละองค์กรมีกฎหมายรองรับ ขะเข้าไปล้มกฎหมายไม่ได้เพียงแต่ต่อไปดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ  จะมีการดำเนินการภายใต้นโยบายเดียวกันที่จะถูกกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ" นพ.ประดิษฐกล่าว

การปรับบทบาทเหล่านี้ คาดว่าจะมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมากขึ้นได้ภายในอีก 7 เดือนข้างหน้า หวังว่าการปฏิรูประบบสาธารณสุขหรือโครงส้รางระบบสาธารณสุขผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับประชาชนมากที่สุด!

เส้นทาง"หมอประดิษฐ ภารกิจรื้อระบบสุขภาพ

นาทีนี้คงไม่มีที่ไหนร้อนเท่ากับ กระทรวงสาธารณสุขอีกแล้ว โดยเฉพาะเจ้ากระทรวงอย่าง "นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์" ที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี และใกล้ชิดกับ "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์" ด้วยเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดคคอร์มาร์ท จำกัด ผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้แก่บริษัทเครือเอสซี แอสเสท และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทพลัสพร็อำเพอร์ตี้ เวนเจอร์ จำกัด ในเครือแสนสิริ

ความร้อนแรงครั้งนี้ถึงขั้นที่เรียกว่ากระทรวงเดือดคงหนีไม่พ้นเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงการจ่ายค่าตอบแทน" จากเดิมที่ใช้วิธีแบบเหมาจ่ายอัตราเดียว ซึ่งรวมค่าเบี้ยเลี้ยงกันดาร เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือพีฟอร์พี (Pay for Perfermance:P4P)ทำให้เกิดศึกภายในระหว่างแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปกับโรงพยาบาลชุมชน ในพื้นที่ห่างไกล เรียกง่ายเป็นศึกหมอในเมืองกับหมอบ้านนอก

หมอบ้านนอกในนามของแพทย์ชนบท  ที่นำโดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทที่ประกาศเดินหน้าคัดค้านการจ่ายค่าตอบแทนด้วยระบบใหม่ โดยจะชุมนุมทุกวันอังคารจนกว่า หมอประดิษฐ จะพ้นจากตำแหน่งว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ศึกครั้งนี้คงถึงขั้นแตกหักไปข้างหนึ่ง เพราะรับรู้กันว่า หมอประดิษฐ ถูกส่งตรงจากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ เพื่อเข้ามาจัดการปัญหาค่าใช้จ่ายในกระทรวงสาธารณสุข และปัญหาหน่วยงานที่กระจัดกระจายไม่ไปในทิศทางเดียวกันของหน่วยงานอิสระที่แยกออกไปอย่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

ก่อนที่  นพ.ประดิษฐ จะเข้ามานั่นทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทวงสาธารณสุข ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแหง่ชาติ (บอร์ดสปสช.) บอร์ดแพทย์แผนไทย และบอร์ดกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม รวมทั้งบอร์ดคณะกรรมการยา ทำให้สั่นสะเทือนแพทย์ตระกูล ส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกศิษย์ลูกหาหมอประเวศ  วะสี หรือ หมอวิชัย โชควิวัฒน แต่ครั้งนั้นเป็นเพีนงการเริ่มต้นยังไม่ประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจนนัก

กระทั่งเมื่อเข้ามานั่งในตำแหน่งรัฐมนตรี งานแรกที่นพ.ประดิษฐเริ่มเข้ามาจัดการ จึงเป็นเรื่องกองทุนสุขภาพทั้งกองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง ซึ่งก็สามารถบูรณาการทำงานได้สำเร็จหลายงาน ทั้งระบบฉุกเฉินมาตรฐานเดียว เอดส์ ไต มาตรฐานเดียวและกำลังจะเริ่มบูรณาการการรักษามะเร็งมาตรฐานเดียว

นพ.ประดิษฐ  ที่ถูกสั่งตรงมาเพื่อแก้ปัญหากระทรวงสาธารณสุข จึงไม่หวั่นเกรงที่จะชนกับแพทยชนบทที่เดิมเป็นกลุ่มพลังการเมืองที่มีอำนาจต่อรองในกระทรวงสาธารณสุขค่อนข้างมาก เพราะเดิมพันครั้งนี้ใหญ่กว่ามาก ในการรื้อระบบและโครงสร้างกระทรวงใหม่ทั้งหมดโดยประกาศว่าจะทำให้ได้ภายใน 7 เดือนแม้ว่าจะถึงขั้นเลือดตกยากออก หรือต้องเจ็บตัวก็ยอม

การประกาศตัวครั้งนี้ของ นพ.ประดิษฐ ได้รับเสียงตอบรับจากกลุ่มข้าราชการกระทรวง ตั้งแต่ระดับปลัดกระทรวง ไปกระทั่งผู้อำนวยการรวมไปถึงเป็นที่ถูกใจผู้อำนวยการโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาขัดแย้งกับแพทย์ชนบทค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการจ่ายค่าตอบแทนในช่วง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้อนุมัติหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนตามข้อเสนอของแพทย์ชนบท

แม้การปรับค่าตอบแทนครั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า ระบบใหม่ยังคงงบเบี้ยเหมาจ่ายกันดาร เพียงแต่ต้องการปรับพื้นที่โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่อยู่ในถิ่นทุรกันดารใหม่ แต่ชนวนค่าตอบแทนกับการรื้อระบบสุขภาพโดยการเข้าไปจัดการ สสส.สช. และสปสช.กำลังจะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่

นอกจากนี้ ความเป็น นพ.ประดิษฐ ทีมีความสนิทสนมกับ นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ เจ้าของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ และนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนอีกด้วย ดังนั้นจึงมีผู้ตั้งข้อเคลือบแคลง โดยเฉพาะข้อครหาความเชื่อมโยงกับ "แพทย์พาณิชย์" และการบริหารที่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มธุรกิจเอกชน

ฝ่ายการเมืองที่เข้ามาครองอำนาจบริหารกระทรวงแน่นอนว่ามีภาคประชาชนเป็นไม้เบื่อไม้เมา กรณีของ นพ.ประดิษฐ กับแพทยชนบทจึงเป็นเพียงยกแรกเท่านั้นส่วนยกต่อไปคือ การประลองกับกลุ่มแพทย์ตระกูล ส ที่ต้องยอมรับว่า ต้นทุนทางสังคมสูงและอาจจะส่งผลต่อเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 27 มีนาคม 2556