ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

สหภาพ อภ.จี้บอร์ดลาออกยกชุด ไม่เว้น'หมอวิทิต'เหตุไม่ทำหน้าที่ปกป้ององค์กร ผอ.อภ.โต้กลับดีเอสไอให้ความร่วมมือตลอด หมอชนบทร้องดีเอสไอสอบซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เข้ายื่นหนังสือถึง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อขอให้ตรวจสอบโครงการส่งเสริมศักยภาพ หนังสือพิมพ์มติชนรายวันอสม.ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็น (เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบพกพา) ของกระทรวงสาธารณสุข

นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า ชมรมแพทย์ชนบทตรวจพบความไม่ชอบมาพากลในการสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 81,685 เครื่องเพื่อแจก อสม.ทั่วประเทศ ราคาเครื่องละ 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 147,033,000 บาท มีประเด็นต้องสงสัย เช่น กระทรวงสาธารณสุขโอนงบประมาณและสั่งการให้จังหวัดต่างๆ จัดซื้อไปแจก อสม.ทั้งที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ อสม.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยการเจาะเลือดจากปลายนิ้วเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดผู้อื่นได้ ดังนั้นการกระทำดังกล่าวถือเป็นการใช้อำนาจเกินหน้าที่สั่งการจัดซื้อก่อนมีกฎหมายรองรับ ส่อเจตนากดดันให้สภาวิชาชีพต้องยอมออกกฎหมาย

นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจุบันโรงพยาบาลจะไม่ใช้วิธีการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล แต่ใช้วิธีการซื้อแถบตรวจวัดระดับน้ำตาล โดยบริษัทจะแถมเครื่องตรวจโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย อีกทั้งราคาแถบตรวจจะมีราคาเพียงแถบละ 5-7 บาท เท่านั้นและแถมเครื่องโดยไม่จำกัด เพื่อใช้ในการแจกให้สถานีอนามัยหรืออาคารผู้ป่วย แต่การซื้อเครื่องจะทำให้ต้องซื้อแถบตรวจน้ำตาลกับบริษัทไปโดยปริยายตลอด ในปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งประเทศไม่มีการซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล

นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า ขอตัวอย่าง อบจ.แห่งหนึ่งจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลจากบริษัทในราคาชุดละ 2,500 บาท เมื่อใช้แถบตรวจที่แถมมาหมด ก็ต้องจัดซื้อแถบตรวจน้ำตาลมาแจกใหม่กว่า 600,000 แถบในราคาแถบละ 30-50 บาท แพงกว่าราคาทั่วไปถึง 2 เท่า ต้องการให้ดีเอสไอตรวจสอบความผิดปกติเหล่านี้ เชื่อว่าส่อไปในทางทุจริตและใช้อำนาจเกินหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข โดยวันเดียวกันนี้จะยื่นขอให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเข้าไปตรวจสอบการใช้ จ่ายงบประมาณด้วย

ด้านนายธาริตกล่าวว่า จะเรียกตัวแทนชมรมแพทย์ชนบทเข้าสอบปากคำก่อน จึงจะพิจารณาว่าจำเป็นต้องเรียกตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขคนใดเข้าชี้แจงต่อไป

ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกุลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท เดินทางมายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านนายสงัด ปัถวี รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ตรวจสอบ กรณี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ใช้อำนาจในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามนโยบายศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์ (เมดิคัล ฮับ)

นายเกรียงศักดิ์กล่าวว่า การออกระเบียบตามนโยบายศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์ (เมดิคัล ฮับ) ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ทุรกันดาร เป็นการลดค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย แต่กลับไปเพิ่มค่าตอบแทนให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งยังทำให้ประชาชนในชนบทได้รับความเสียหาย เนื่องจากทำให้บุคลากรทางการแพทย์เสียขวัญกำลังใจ แพทย์จะลาออกมากขึ้นและอาสาไปปฏิบัติหน้าที่ในชนบทลดลง ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอร้องเรียนมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้คณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา รวมทั้งชะลอนโยบาย เมดิคัล ฮับ ก่อนที่จะสร้างความเสียหายให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ

นายเกรียงศักดิ์กล่าวว่า ยังขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขสั่งซื้อเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบพกพา จำนวน 81,685 เครื่อง เพื่อแจกให้โครงการส่งเสริมศักยภาพ อสม.ทั่วประเทศว่ามีการทุจริตหรือไม่ด้วย

วันเดียวกัน ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมกว่า 150 คน รวมตัวกันบริเวณลานหน้าองค์การกว่า 150 คน รวมตัวกันบริเวณลานหน้าองค์การเภสัชกรรม ถนนพระราม 6 เพื่อร่วมกันกู้ภาพลักษณ์ให้กับ อภ.หลังจากเห็นว่าเรื่องต่างๆ ที่ปรากฏต่อสาธารณชนในขณะนี้สร้างความเสียหายให้กับ อภ.อย่างมาก เช่น การปนเปื้อนวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอล การก่อสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกล่าช้า รวมทั้งวัตถุดิบผลิตยาบางชนิดใกล้หมดอายุ เป็นต้น รวมทั้งเรียกร้องประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ทำ อภ.เสียหาย ในที่นี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และเลขานุการรัฐมนตรี สธ.

นายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. กล่าวว่า จากการที่สหภาพฯได้เรียกร้องให้ ประธานบอร์ด อภ.ทำหน้าที่ปกป้องภาพลักษณ์ อภ.ด้วยการดำเนินการตามกฎหมายแจ้งความดำเนินคดีอาญา และเรียกร้องความเสียหายทางแพ่งกับผู้ที่ทำให้ อภ.ได้รับความเสียหาย แต่จนถึงขณะนี้บอร์ด อภ.ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ต่อมาประธานบอร์ด อภ.ได้แจ้งต่อกรรมการ สหภาพฯว่า จากหลักฐานที่มีอยู่ เป็นคำให้สัมภาษณ์ในสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ยังไม่ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอดำเนินการฟ้องร้องตามที่สหภาพฯเรียกร้องได้ สหภาพฯจึงมีมติเรียกร้องให้บอร์ด อภ.ลาออกจากการเป็นบอร์ดฯทั้งคณะ ตั้งแต่ประธานบอร์ดฯ กรรมการ รวมถึง เลขานุการบอร์ด คือ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ด้วย เพราะถือว่าไม่ได้ทำหน้าที่ แต่กลับละเว้นหน้าที่ในการปกป้องภาพลักษณ์ของ อภ. หากไม่ลาออก สหภาพฯจะประชุมเพื่อหามาตรการรุกคืบอีก โดยจะไม่หยุดแค่นี้แน่

"จริงๆ แล้วบอร์ด อภ. โดยประธานบอร์ด อภ.ควรทำในสิ่งที่ถูกต้อง อย่างเบื้องต้นแค่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กลับคืนมาสู่ อภ.ยังไม่เคยทำ หากไม่สามารถฟ้องร้องผู้ที่กล่าวร้าย อภ.ได้ ประธานบอร์ดฯก็ควรออกมาแถลงต่อสื่อมวลชน เพื่อยืนยันว่ากระบวนการผลิตยาของ อภ.มีมาตรฐานและคุณภาพ จะช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายใน อภ.ได้ แต่กลับไม่ออกมาพูดเลย" นายระวัยกล่าว

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ. กล่าวว่า บอร์ด อภ.ได้ประชุมอย่างถี่ถ้วน โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายได้พิจารณาหลักฐาน อย่างรอบด้าน ปรากฏว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอจะดำเนินคดีใดๆ จึงชี้แจงต่อสหภาพฯ ไปเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า หากดำเนินการฟ้องร้องโดยหลักฐานไม่เพียงพอ อาจถูกฟ้องกลับได้ จึงต้องระวังให้มาก ส่วนกรณีสหภาพฯ มีมติต้องการให้บอร์ด อภ. ลาออกก็เป็นสิทธิพึงกระทำ แต่ยืนยันว่าบอร์ด อภ.ได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ. กล่าวว่า การที่สหภาพฯมีมติให้บอร์ด อภ.ลาออก ตนอยู่ในฐานะเลขานุการ ก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะเป็นสิทธิของสหภาพฯ แต่ที่ผ่านมาก็ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากบอร์ด อภ.มีมติอย่างไรก็พร้อมยอมรับ

ผู้สื่อข่าวถามกรณีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ระบุว่าผู้อำนวยการ อภ.ไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเท่าที่ควร นพ.วิทิตกล่าวว่า ในวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้เข้าชี้แจงตามนัดหมาย และหอบเอกสารหลักฐานไปจนหมด แต่ในวันดังกล่าว นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์  ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดีเอสไอ ติดภารกิจ ไม่ได้สอบสวนเรื่องนี้ มีเพียงเจ้าพนักงานสอบถามกว้างๆ ไม่เข้าประเด็นเรื่องโรงงานวัคซีนฯ แต่ใช้เวลาไปกว่า 2 ชั่วโมง ทางทนายจึงหารือว่าเป็นไปได้หรือไม่ หากต้องการข้อมูลอะไรหรือมีคำถามอะไร ให้ลิสต์มา และจะตอบเป็นข้อๆ พร้อมเอกสารหลักฐาน ทางดีเอสไอก็เห็นด้วย และได้นัดหมายอีกครั้งในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ จึงไม่เข้าใจว่าไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรตรงไหน

ด้าน นพ.ปวิตร วณิชชานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู จ.สตูล กล่าวถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานหรือพีฟอร์พี (Pay for Performance :P4P) ตั้งแต่ 1 เมษายน 2556 แต่ยังมีกระแสคัดค้านขยายตัวอย่างกว้างขวาง จนทำให้ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งการให้จนทำให้ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขจัดประชุมชี้แจงตามสถานที่ต่างๆ ว่า ในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ รัฐมนตรี สธ.จะชี้แจงนโยบายนี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา ทางโรงพยาบาลชุมชนใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ขอประกาศไม่เข้ารับฟังคำชี้แจงดังกล่าว เพราะเป็นการฉายหนังม้วนเก่า ไม่ตอบคำถามคาใจของโรงพยาบาลชุมชน

"ทราบมาว่า ทางกระทรวงสาธารณสุขมีการเกณฑ์คนมาฟังการชี้แจงนโยบายพีฟอร์พี โดยเกณฑ์จากโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้ง อสม. เพื่อให้มีคนเข้าฟังเต็มห้องประชุม มีการเกณฑ์ อสม.มาต้อนรับมอบดอกไม้ น่าเสียดายงบประมาณภาษีประชาชนที่นำมาใช้จัดประชุมสร้างภาพ เป็นการดันทุรังชี้แจงเพื่อสร้างภาพผิดกลุ่ม" นพ.ปวิตรกล่าว และว่า ในวันดังกล่าว เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จะรวมกันแสดงจุดยืนทำกิจกรรมที่หน้าศูนย์ประชุมฯ พร้อมทั้ง ประกาศอารยะขัดขืนไม่เห็นด้วยกับนโยบายพีฟอร์พี และขอสนับสนุนแนวทางข้อเสนอของชมรมแพทย์ชนบทที่เสนอให้ใช้นโยบาย "หนึ่งกระทรวง สองระบบ" คือโรงพยาบาลจังหวัดใช้พีฟอร์พีโรงพยาบาลชุมชนใช้เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 10 พฤษภาคม 2556