ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

ปมฉาวองค์การเภสัชกรรม... กรณีปัญหาการก่อสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกล่าช้า...ส่อเค้าอาจมีการทุจริต

โรงงานวัคซีนที่ว่านี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วยอาคารผลิต อาคารสัตว์ทดลอง อาคารบรรจุวัคซีน อาคารประกันคุณภาพ อาคารระบบสนับสนุนฯ

ข้อกล่าวหา ข้อสงสัย สรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก 1.มีเงื่อนงำน่าสงสัยว่าจะทุจริต หรือผิดระเบียบ โดยมีรายละเอียดคือ ทำไม จึงมีการจ้างออกแบบถึง 4 บริษัท เข้าข่าย “แบ่งซื้อ...แบ่งจ้าง” หรือไม่ถัดมา...การก่อสร้างในส่วนของ อาคารผลิตวัคซีน อาคารบรรจุ อาคารประกันคุณภาพ และอาคารสัตว์ทดลอง มีผู้เสนอราคารายเดียว เข้าข่าย “ฮั้ว” ประมูลหรือไม่

2.การก่อสร้างล่าช้า โดยกำหนดเวลาก่อสร้าง 540 วัน แต่ใช้เวลาไปแล้ว 1,261 วัน ก่อสร้างไปได้เพียง 53 เปอร์เซ็นต์ 3.ทำไมต้องมีการปรับแบบโรงงานจากการผลิตวัคซีนเชื้อตายมาเป็นเชื้อเป็น และทำไมต้องมีการปรับระดับ “ชีวนิรภัย” จากระดับ 2 เป็น 2 บวก

4.ไม่มีการศึกษาความไม่คุ้มทุนในการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ ทำให้รัฐเสียหายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม สะท้อนความจริงอีกมุม “การสร้างโรงงานวัคซีน เพื่อแก้ปัญหาของประเทศในยามวิกฤติ เพื่อสร้าง...ความมั่นคงแห่งชาติ”

ข้อชี้แจงประเด็นแรก...การจ้างออกแบบ 4 บริษัท องค์การเภสัชฯทำไปเพื่อผลประโยชน์ประเทศชัดเจน ด้วยเพราะมีเวลาจำกัด คณะกรรมการที่รับผิดชอบได้แจ้งไปยังบริษัทออกแบบทั้งหมด 10 แห่ง เข้ารับฟังคำชี้แจงซึ่งมีกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลการออกแบบ พร้อมหารือกรอบเวลาให้แล้วเสร็จใน 75 วัน

ปรากฏว่า บริษัท 9 รายแจ้งต่อที่ประชุมว่าทำได้ไม่ทัน มีรายเดียวเท่านั้นที่แจ้งว่าทำได้ทัน ...คณะทำงานการจัดทำทีโออาร์และออกแบบรายละเอียดเห็นว่าเป็นความเสี่ยงในการดำเนินงาน จึงหาทางเลือกอื่นในการว่าจ้างออกแบบ เพื่อให้ได้แบบทันตามกำหนด จึงแบ่งงานออกไปตามเหตุผลทางวิชาการ เพื่อให้บริษัทที่มีความรู้ เชี่ยวชาญ เพราะสามารถรับงานได้ตามความเหมาะสม จึงอนุมัติให้มีการแยกประมูล

อาคารผลิต ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง วงเงิน 2.499 ล้านบาท, อาคารบรรจุ วงเงิน 2.1828 ล้านบาท, อาคารประกันคุณภาพและอาคาร สัตว์ทดลอง วงเงิน 2.4107 ล้านบาท, อาคารสนับสนุนส่วนกลาง วงเงิน 2.1079 ล้านบาท และการทำแบบประสาน วงเงิน 0.180 ล้านบาท

รวมวงเงินทั้งสิ้น 9.38 ล้านบาท ขณะที่วงเงินที่กำหนดไว้อยู่ที่ 20 ล้านบาท และราคากลางอยู่ที่ 17.485 ล้านบาท...โดยใช้เงินขององค์การเภสัชกรรมเอง

ประเด็นที่สอง...เรื่องมีผู้เสนอราคายื่นซองเทคนิครายเดียว องค์การเภสัชฯได้มีหนังสือสอบถามกลับไปยังรายอื่นที่ไม่ยื่นเสนอราคา ได้รับคำชี้แจงว่าราคากลางต่ำไป ไม่สามารถดำเนินการได้ ประกอบกับช่วงเวลานั้นไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาด...เมื่อบริษัทคุณสมบัติถูกต้องก็ไม่ควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไป

ประเด็นที่สาม...ปัญหาความล่าช้า ความล่าช้าเป็นเรื่องปกติ

วิสัยของงานก่อสร้างทั่วไป สำหรับการก่อสร้างโรงงานวัคซีน มีสาเหตุ 4 ประการ การปรับแบบฐานรากและยกระดับอาคาร, ประสบปัญหาน้ำท่วม 2 ครั้งในปี 53 กับ 54, การทบทวนแบบอาคารระหว่างก่อสร้าง และการเปลี่ยนบริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง

ประเด็นที่สี่...การปรับแบบให้ผลิตเชื้อเป็นได้ คำชี้แจงมีว่า

 “โรงงานแห่งนี้เกิดขึ้นเพื่อป้องกันและเตรียมรับมือกับการระบาดไข้หวัดใหญ่ การระบาดใหญ่ก็หมายถึงการระบาดไปทั่วโลก ที่ไม่ใช่การระบาดตามฤดูกาล ในภาวะเช่นนี้โรงงานจะต้องผลิตวัคซีนให้ได้จำนวนมากที่สุดโดยเร็วหากผลิตจากเชื้อตาย จะผลิตได้ทั้งปีเพียง 2-10 ล้านโด๊ส ขณะที่ประชากรทั้งประเทศมีอยู่ถึง 65 ล้านคน การระบาดใหญ่อาจจะต้องใช้วัคซีนถึงคนละ 2 โด๊ส ...โรงงานจะต้องผลิตให้ได้ใกล้เคียงตัวเลข 130 ล้านโด๊ส ถ้าเป็นการผลิตจากเชื้อเป็น นอกจากไม่มีปัญหาเรื่องสิทธิบัตร ยังสามารถพัฒนาการผลิตให้เพิ่มได้ถึง 30-100 เท่าตัว”

ประเด็นที่ห้า...การปรับระดับชีวนิรภัย เป็นไปตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทั้งจากองค์การอนามัยโลกและบริษัทที่ปรึกษา ถ้าองค์การเภสัชฯไม่ทำ ไม่ปรับแบบก็ทำได้ แต่ก็จะเป็นการไม่รับผิดชอบ และไม่เป็นผลดีต่อโครงการ อีกทั้งอาจสร้างความวิตกให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน

ประเด็นสุดท้าย...ความคุ้มค่า คุ้มทุน ต้องบอกว่าตั้งแต่แรกเริ่มโรงงานวัคซีนไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเชิงพาณิชย์ หากแต่เกิดขึ้นเพื่อความมั่นคงด้านระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว ดังนั้นคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะมากกว่าผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ถึงตรงนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม ตอกย้ำ จิตวิญญาณขององค์การเภสัชฯตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา...ความทุ่มเท สติปัญญา จิตวิญญาณ ด้วยหัวใจที่รักชาติ รักประชาชน

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา...สามารถเพิ่มยอดขายจากปีละ 5,000 ล้านบาท เป็นกว่า 12,000 ล้านบาท โดยลดราคายาลงได้ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดทั้งงบรัฐบาลและค่าใช้จ่ายประชาชน

การทำซีแอลยา ได้ยาราคาถูก...ยาหัวใจถูกลงราวๆ 70 เท่าตัว...ยาเอดส์สำหรับผู้ป่วยที่ดื้อยา สนองนโยบายจัดหาน้ำยาล้างไตทางช่องท้องส่งถึงบ้านผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้ล้างไตเองได้ ฯลฯ

ปัญหาความล่าช้าการก่อสร้างโรงงานวัคซีน เป็นปัญหาที่เรา ตระหนัก และพยายามหาทางแก้มาอย่างต่อเนื่อง ถึงวันนี้เราอาจจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้ทันใจของใคร และของตัวเองได้...เพราะเป็นเรื่องที่ลำบากอย่างมาก

ซึ่ง...เราต้องการความเห็นใจ เราต้องการกำลังใจ ไม่ใช่การกล่าวหา บั่นทอนกำลังใจ...อย่างที่เกิดขึ้นปัจจุบันโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก ผลิตสำหรับการป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล กำลังผลิตของโรงงานทุกแห่งมีมากเกินความ ต้องการของตลาดโลก

เมื่อเป็นเช่นนั้นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต้องบอกกันตรงๆว่า “จึงไม่มีบริษัทยาข้ามชาติแห่งใดอยากเห็นองค์การเภสัชกรรมสร้างโรงงานวัคซีนแห่งนี้สำเร็จ เพราะจะเป็นการเพิ่มคู่แข่งของเขาในตลาดโลก”

สิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากจะไม่ทำให้อะไรดีขึ้นสำหรับประเทศชาติแล้ว ยังเป็นการทำให้ปัญหายุ่งยากมากยิ่งขึ้น หากโรงงานนี้ทำไม่

 ข่าวจริง...ไม่ใช่ข่าวหลอก ขณะนี้มีบริษัทวัคซีนยักษ์ใหญ่ กำลังวิ่งเต้นขายวัคซีนไข้หวัดนกราคาแพงให้กับกระทรวงสาธารณสุข ขอให้จับตาดูกันให้ดีๆ...ชนิดกลั้นลมหายใจ อย่ากะพริบตา

ถ้าเผยตัวออกมาเมื่อไหร่ บริษัทเหล่านี้นี่แหละที่ไม่ต้องการให้องค์การเภสัชกรรมสร้างโรงงานวัคซีนสำเร็จ

ใครจะร่วมด้วยช่วยกันถล่มองค์การเภสัชกรรม...ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังขอให้พึงระลึกเอาไว้ด้วยว่า“ท่านกำลังทำอะไรเพื่อประโยชน์ของใคร”

ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ วันที่ 23 พฤษภาคม 2556