ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กว่า 2 สัปดาห์ที่สายลมพัดนำ "ควันไฟ" จาก น้ำมือมนุษย์ บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลอยเข้าปกคลุมเกาะสิงคโปร์ วัดค่ามลพิษได้ถึงระดับ 401 หมายถึง "อันตราย" กระทั่งทางการสิงคโปร์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมร้ายแรง จากนั้นกลุ่ม

ควันลามไปยังทางใต้ของมาเลเซียซึ่งอยู่ติดกับสิงคโปร์ ถือเป็นวิกฤติหมอกควันสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540-2541 นายเอส.สุบรามาเนียม รัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซีย เรียกร้องให้ทางการอินโดนีเซีย พยายามหาวิธีหยุดปัญหาหมอกควันจากการเผาป่าให้ได้

ล่าสุด กลุ่มควันได้รุกคืบถึงชายแดนไทยแล้ว นายฮาเล็ม เจะมาริกัน ผู้อำนวยการสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 ระบุว่า สถานีตรวจคุณภาพอากาศ จ.นราธิวาส ตรวจพบฝุ่นที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ที่เกิดจากการเผาไหม้จากเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา วัดได้ 104 ไมโครกรัม แต่เมื่อช่วงเช้าวันที่ 25 มิถุนยาน ปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 129 ไมโครกรัม

นั่นคือสัญญาณเตือนว่า มลภาวะอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ

ที่น่าเป็นห่วงหมอกควันเริ่มเข้าปกคลุม จ.ยะลา สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล

นพ.จรัญ จันทมัตตุการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ระบุว่า ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเย็นวันที่ 24 มิถุนายน พบสภาพอากาศในพื้นที่แย่มาก เพราะมีฝุ่นควันจำนวนมาก ทำให้ระคายเคืองดวงตา ขณะนี้มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ให้ประชาชนรับมือสถานการณ์ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และคนที่เจ็บป่วย เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคหัวใจ ญาติต้องดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้ความรู้ทั่วไปของการอยู่กับบ้าน ในที่พักอาศัย ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง หากเลี่ยงไม่ได้หรือจำเป็นต้องออกจากบ้านต้องใส่หน้ากากป้องกัน

"ขณะนี้สภาพอากาศยังมัวๆ อยู่ มีแสบตาอยู่บ้าง แต่ถ้าเทียบกับเมื่อวาน (24 มิ.ย.) น่าจะหนักกว่าวันนี้ (25 มิ.ย.) ภาวนาให้มีฝนตกลงมาในช่วง 1-2 วันนี้ เพื่อช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น"

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสย้ำว่า ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปเยี่ยมประชาชนที่เจ็บป่วยและให้ความรู้ ทั้งนี้ใครมีความประสงค์สามารถมารับหน้ากากได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข  แต่โดยภาพรวมยังไม่ถึงขั้นต้องรณรงค์แจกหน้ากาก

เช่นเดียวกับ นพ.สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้มีคำสั่งให้โรงพยาบาลชุมชนในทุกอำเภอออกประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเฝ้าระวังกับการดูแลสุขภาพ หลังจากบางพื้นที่เริ่มได้รับผลกระทบจากหมอกควัน แต่ไม่มากนัก

ส่วน นพ.วิฑูรย์ เหลืองดิลก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ยืนยันว่า เริ่มมีหมอกควันพัดเข้ามาปกคลุมในบางส่วนของพื้นที่ จ.ตรัง จึงมีประกาศให้ประชาชนระวังรักษาสุขภาพ หากค่ามาตรฐานเกิน 120 ไมโครกรัม ต้องงดออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง

"หมอกควันที่เริ่มเข้ามาปกคลุมใน จ.ตรัง ยังอยู่ในขั้นเบาบาง และยังไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน แต่เพื่อความไม่ประมาทได้เตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวัง และควรหาเครื่องป้องกัน เช่น ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการสูดดมหมอกควันเข้าไปในร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ แต่ขณะนี้

ยังไม่มีรายงานว่า พบผู้ป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน" นพ.วิฑูรย์กล่าว

ส่วนผลกระทบการท่องเที่ยวนั้น นายแสงทอง ปรีชาวุฒิเดช ประธานชมรมโรงแรม อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และเจ้าของโรงแรมมารีน่า อ.สุไหงโก-ลก บอกว่า จ.นราธิวาส ขณะนี้ถือว่าสภาพอากาศยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากควันไฟป่าได้ปกคลุมทั้ง 13 อำเภอ แต่หนักที่สุด คือ อ.สุไหงโก-ลก อ.แว้ง อ.ตากใบ และอ.สุคิริน เนื่องจากติดกับชายแดนของประเทศมาเลเซียที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก ที่ผ่านมาฝนได้หยุดตกเป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์แล้ว ทำให้หมอกควันชัดเจนขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นบดบังทัศนียภาพเสียทั้งหมด อีกทั้งในพื้นที่ก็มีการเผาป่าพรุเป็นประจำเช่นกัน

นายแสงทองยอมว่า สถานการณ์ควันไฟป่าในครั้งนี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงและชัดเจนกับธุรกิจโรงแรมในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก เป็นอย่างมาก จากที่ซบเซาจากสถานการณ์ความไม่สงบอยู่แล้ว ต้องมาถูกซ้ำเติมจากไฟป่าอีก ทำให้ยอดห้องพักจากนักท่องเที่ยวลดลงจากเดิมที่ประมาณ 50% เหลือเพียง 30% เท่านั้น เนื่องจากนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากมาเลเซียงดการเดินทางข้ามแดนเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย

"มันก็เหมือนกับภาคอื่นๆ ของไทยที่จะเผาหญ้าฟางเป็นประจำ จะไปห้ามชาวบ้านคงเป็นไปไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้เบาบางลงเท่านั้นเอง ที่อินโดนีเซีย ก็เกิดแบบนี้เป็นประจำเกือบทุกปี ต้องหาวิธีการที่จะไม่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านเดือดร้อนไปด้วย คิดว่าไหนๆ ก็เป็นเพื่อนบ้านกันอยู่แล้ว ถ้าหากแต่ละประเทศในแถบอาเซียนส่งหน่วยดับเพลิงเข้าไปช่วยเหลือ สถานการณ์คงจะคลี่คลายได้มากทีเดียว แต่ต้องดูด้วยว่าอินโดนีเซีย เขาร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่ ส่วนภาครัฐของไทยก็ไม่เห็นว่าจะมีมาตรการการจัดการอย่างไร คงต้องรอให้เป็นเรื่องของธรรมชาติมากกว่า" นายแสงทองกล่าวในช่วงท้าย

คนป่วย...โลกป่วย!!!

ปัญหาหมอกควันไม่เพียงส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์เท่านั้น ทว่ามลภาวะที่เกิดขึ้นจากฝุ่น ขี้เถ้า และควัน ถือเป็นต้นตอสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศวิทยา

ข้อมูลจากเว็บไซต์มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เผยแพร่บทความเรื่อง "ปัญหาหมอกควัน ทำคนป่วย และโลกป่วย" เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า ผลกระทบจากหมอกควัน และการเผา มากกว่าแค่สุขภาพ แต่ยังส่งผลต่อระบบนิเวศ ผลกระทบที่เกิดจากหมอกควันอันมีสาเหตุมาจากการ "เผา" นั้น มีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ บดบังวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอีกมาก สามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้

ผลกระทบต่อสภาวะอากาศโลก

- การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอุณหภูมิสูงขึ้น มีผลต่อสภาวะโลกร้อน

- การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก - หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า ทำลายสุขภาพต่อระบบทางเดินหายใจ (มีผลกระทบโดยตรงต่อชาวบ้าน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ

ดัชนีวัดค่ามาตรฐานมลพิษ หรือ PSI (Pollutant Standards Index) กำหนดค่าดังนี้

ระดับต่ำกว่า 50 ดี ระดับ 51-100 ปานกลาง ระดับ 101-200 ไม่ดีต่อสุขภาพ ขอให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือระบบทางเดินหายใจ ลดการทำกิจกรรมทางกายภาพ หรือกิจกรรมกลางแจ้ง ส่วนบุคคลทั่วไปขอให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน

ระดับ 201-300 ไม่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือระบบทางเดินหายใจ และโรคเกี่ยวกับปอด ควรอยู่ภายในอาคาร และลดในชุมชน)

- สูญเสียสภาพความสวยงามของธรรมชาติ

ผลกระทบต่อน้ำ

- สมดุลของน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดอุทกภัย และภัยแล้ง

- คุณภาพน้ำเสีย น้ำที่เต็มไปด้วยตะกอน ขี้เถ้า จะไหลลงสู่ลำห้วยลำธาร เกิดการทับถมในแม่น้ำ ลำน้ำตื้นเขิน เมื่อฝนตกน้ำเอ่อล้น เกิดอุทกภัย เกิดความเสียหายด้านเกษตร (การเพาะปลูก)

- หน้าแล้ง ดินที่มีกรวดทราย ชั้นดินแน่นจากไฟป่า ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ในฤดูฝนได้ จะเกิดสภาวะแห้งแล้ง ชุมชนขาดน้ำอุปโภค บริโภค รวมทั้งเกิดผลกระทบต่อการทำเกษตร การทำไร่ การเลี้ยงสัตว์

ผลกระทบต่อดิน ธรรมชาติ ป่าไม้

- ทำลายป่าไม้ ธรรมชาติ ป่าไม้ - ทำให้ดินในป่าไม่สมบูรณ์ การอุ้มน้ำลดลง ไม่เก็บน้ำและธาตุอาหาร

- ทำลายหน้าดิน สิ่งปกคลุมดิน เมื่อฝนตกดินถูกกัดเซาะ พังทลาย พาความสมบูรณ์ของดินไป

 - เกิดแผ่นดินถล่ม ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆ ในภาคเหนือตอนฝนตกหนัก (ชาวบ้านในชุมชนจะได้รับผลกระทบโดยตรง)

การทำกิจกรรมทางกายภาพ หรือกิจกรรมกลางแจ้ง บุคคลทั่วไปขอให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน

ระดับ 301-400 อันตราย เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่กำลังเจ็บป่วย ควรอยู่ภายในอาคาร และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง บุคคลทั่วไปขอให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ไม่มีความจำเป็น

ระดับเกิน 400 อันตราย เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่กำลังเจ็บป่วย ควรอยู่ภายในอาคาร ปิดประตูและหน้าต่าง และหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางกายภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลทั่วไปขอให้ทำกิจกรรมทางกายภาพและกิจกรรมกลางแจ้งให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ที่มา --คมชัดลึก ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. 2556 (กรอบบ่าย)--

เรื่องที่เกี่ยวข้อง