ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยผลตรวจคุณภาพนมโรงเรียน พบร้อยละ 9.3 ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นนมพาสเจอร์ไรส์...

วันที่ 26 มิ.ย. 56 นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบคุณภาพตัวอย่างนมโรงเรียน ทั้งชนิดพาสเจอร์ไรส์และยูเอชที ที่ผลิตจากโรงนมขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม เป็นตัวอย่างที่ส่งตรวจโดยหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้ประกอบการ ระหว่างปี พ.ศ.2553-2555 จำนวน 450 ตัวอย่าง โดยผลตรวจวิเคราะห์ พบตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 42 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.3 เมื่อจำแนกตามรายการตรวจวิเคราะห์ พบตัวอย่างไม่ได้มาตรฐานด้านจุลินทรีย์ ร้อยละ 8.6 สาเหตุจากพบปริมาณแบคทีเรีย เกินมาตรฐานมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เชื้อบาซีรัส ซีเรียส เชื้ออีโคไล และเชื้อโคลิฟอร์มตามลำดับ โดยพบนมพาสเจอร์ไรส์ ไม่ได้มาตรฐานมากกว่านมยูเอชที

นพ.นิพนธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับด้านคุณค่าทางโภชนาการพบว่า ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 3.8 สาเหตุเนื่องจากปริมาณเนื้อนมไม่รวมไขมันไขมันและโปรตีน ต่ำกว่ามาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 2.6, 0.9 และ 0.6 ตามลำดับ ส่วนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารต้านจุลชีพตกค้าง ตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง

“นอกจากนี้ เมื่อจำแนกคุณภาพของตัวอย่างนมจากแหล่งเก็บที่ต่างกัน ได้แก่ สถานที่ผลิตและโรงเรียน พบว่าตัวอย่างนมที่เก็บจากโรงเรียนไม่เข้ามาตรฐานด้านจุลินทรีย์มากกว่า ตัวอย่างนมที่เก็บจากสถานที่ผลิต อย่างไรก็ตาม การตรวจพบตัวอย่างนมที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้แจ้งข้อมูลดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิต การเก็บรักษา รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิในการขนส่ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคนมโรงเรียนว่ามีความปลอดภัย” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

ด้านนางลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมถึงข้อแนะนำในการดื่มนมให้ได้ประโยชน์และปลอดภัย ว่า นมพาสเจอร์ไรส์ เป็นนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและลดปริมาณจุลินทรีย์ ไม่ใช่เชื้อก่อโรคให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ตลอดจนยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ก่อนดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ทุกครั้ง ควรสังเกตดูว่าน้ำนมมีลักษณะผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบว่านมมีการจับตัวเป็นเม็ดขาวเล็กๆ แสดงว่านมนั้นอาจจะเสีย แต่หากไม่มีตะกอนเม็ดขาว ควรตรวจสอบด้วยการชิมเล็กน้อย ถ้ามีรสเปรี้ยว หรือมีกลิ่นผิดปกติ

ที่มา: http://www.thairath.co.th