ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

'หมอวิทิต'เดินหน้าฟ้อง'ประดิษฐ-บอร์ด อภ.-ครม.'ปลดจาก ผอ.อภ.มิชอบ เรียกค่าเสียหาย 31 ล้าน ปธ.บอร์ดฯเตรียมตั้ง คณะกรรมการพิจารณาความเสียหายช่วง นพ.วิทิตนั่งบริหาร ปมยาพาราฯ รง.วัคซีน ยาหัวใจ

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีตผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ได้หารือกับทีมที่ปรึกษากฎหมาย ผู้แทนสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์มติชนรายวันรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม และผู้แทนเครือข่ายความเป็นธรรมด้านสุขภาพ เกี่ยวกับภายหลังที่ถูกเลิกจ้างจากผู้อำนวยการ อภ. ทั้งที่ไม่เป็นธรรม หารือจนได้ข้อสรุปว่ามีข้อมูลและหลักฐานภายในที่ชัดเจนพร้อมที่จะฟ้องเอาผิดคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) และ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมทั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะฟ้องทั้งคดีทางปกครอง เพื่อให้ถอนมติ ครม. และคุ้มครองฉุกเฉิน และฟ้องคดีอาญามาตรา 157 ในฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รวมทั้งจะฟ้องหมิ่นประมาท นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ. และ นพ.ประดิษฐ ฐานให้ข่าวกล่าวร้ายทำให้เกิดความเสียหาย

นพ.วิทิตกล่าวว่า การฟ้องร้องเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง เนื่องจากถูกปลดโดยไม่เป็นธรรม จะยื่นฟ้องบอร์ด อภ. รัฐมนตรี สธ. และ ครม.ทั้งหมดในสัปดาห์หน้า พร้อมเรียกค่าเสียหายทั้งสิ้น 31 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ทางทีมกฎหมายพิจารณาเห็นสมควร อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเช่นนี้ก็เพื่อปกป้องระบบยาของประเทศ ปกป้ององค์การเภสัชกรรมของรัฐ และปกป้องศักดิ์ศรีของคนทำงาน ที่สำคัญยังเป็นตัวอย่างเอาผิดกับการใช้อำนาจรัฐและเครื่องมือของรัฐ โดยไม่เป็นธรรมไม่ยึดหลักธรรมมาภิบาล

"ผมทุ่มเทชีวิตให้กับราชการมาเกือบ 30 ปี รับใช้พี่น้องชาวบ้านแพ้วและพื้นที่ใกล้เคียงนับ 10 ปี จนถูกไปใช้อ้างอิงหาเสียงในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของพรรคการเมืองหนึ่ง ใช้เวลากว่า 6 ปีพัฒนาองค์การเภสัชกรรม จนเป็นบาทรักษาทุกโรคของพรรคการเมืองหนึ่ง ใช้เวลากว่า 6 ปีพัฒนาองค์การเภสัชกรรม จนเป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำรายได้ สร้างระบบความมั่นคงด้านยาให้กับประเทศ แต่ถูกนักการเมืองที่ไร้วุฒิภาวะ อยากดังเร็ว ร่วมกับอดีตข้าราชการที่ร่วมกันกลั่นแกล้ง ทำลายชื่อเสียงเพื่อยึดครองระบบยาของรัฐ จึงจำเป็นต้องฟ้องเอาผิดเพื่อให้ศาลยุติธรรมได้ทำความจริงให้ปรากฏ ให้คนผิดได้ถูกลงโทษ" นพ.วิทิตกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐมนตรี สธ.ได้มอบให้บอร์ด อภ.ตั้งคณะทำงานตรวจสอบกรณีปลดผู้อำนวยการ อภ.ตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายสุขภาพ และหากพบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทบทวนได้ นพ.วิทิตกล่าวว่า การตั้งทีมดังกล่าวไม่เกี่ยวกับตน เนื่องจากถูกเลิกจ้างแล้ว ซึ่งต่างคนต่างทำหน้าที่ไป ตนใช้สิทธิที่พึงมี

นพ.พิพัฒน์กล่าวว่า หากฟ้องร้องจริงเป็นสิทธิที่ทำได้ ซึ่งทางบอร์ด อภ.มีข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลิกจ้าง เนื่องจากในสัญญาการว่าจ้างผู้อำนวยการ อภ.ก็ระบุชัดว่า สามารถเลิกจ้างได้ตามเหตุผลที่กำหนด ซึ่ง นพ.วิทิตก็รับทราบดีก่อนเซ็นสัญญา ขอยืนยันว่าบอร์ด อภ.ทำตามระเบียบทุกประการ การจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก็ต้องดูข้อเท็จจริงด้วย ขณะเดียวกันทางบอร์ด อภ.เตรียมเรียกค่าเสียหาย นพ.วิทิต สมัยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.ที่ทำให้องค์การฯ เกิดความเสียหาย

"ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาละเมิดกรณีวัตถุดิบยาพาราเซตามอล กรณีความล่าช้าโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก ซึ่งหากคณะ กรรมการฯพิจารณาแล้วเสร็จก็ต้องเรียกค่าเสียหายเช่นกัน" นพ.พิพัฒน์กล่าว และว่า ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณียาโครพิโดเกรล (clopidogrel) ซึ่งเป็นยาโรคหัวใจที่ซื้อมามูลค่ากว่า 10 ล้านบาท แต่กลับไม่ได้มีการนำไปใช้ รวมทั้งกรณียาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) มูลค่า 500 ล้านบาท ก็ยังไม่มีการใช้เช่นกัน ตรงนี้หากผลสอบออกมาว่าเกิดความเสียหายจริง ต้องนำเข้าคณะกรรมการพิจารณา เสียหายจริง ต้องนำเข้าคณะกรรมการพิจารณา ละเมิดฯ เพื่อรวบรวมค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอีก ทั้งหมดไม่ได้เป็นการโต้กลับ แต่เป็นเรื่องต้องทำ เพราะเป็นระเบียบของ อภ.

นพ.พิพัฒน์กล่าวว่า รัฐมนตรี สธ.ได้ให้บอร์ด อภ.ตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้น ซึ่งมีทั่งผู้แทนกระทรวงฯ และผู้แทนชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายสุขภาพต่างๆ และตัวแทนสหภาพ อภ. ในการเข้ามารับฟังข้อเท็จจริงการปลด นพ.วิทิต ซึ่งจะให้เข้าฟังได้ในวันที่ 8 กรกฎาคม ซึ่งทุกอย่างเปิดเผยหมด มีข้อเท็จจริงชัดเจน จึงไม่เข้าใจว่าการเลิกจ้าง นพ.วิทิต ที่ผ่านมาผิดข้อระเบียบตรงไหน และจะมาฟ้องบอร์ด อภ.ได้อย่างไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการฟ้องร้อง นพ.วิทิตกลับหรือไม่ นพ.พิพัฒน์กล่าวอีกว่า ต้องรอดูรายละเอียดที่ทาง นพ.วิทิตยื่นฟ้องก่อน เนื่องจากหากไม่เป็นความจริง ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องกลับ

นพ.ประดิษฐกล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่จะมีการฟ้องร้อง แต่เป็นสิทธิที่พึงมีของ นพ.วิทิตที่จะดำเนินการฟ้องร้องได้ เชื่อมั่นว่าทุกคนที่จะถูกฟ้องร้อง ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามระเบียบขั้นตอน และตัดสินด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ ทั้งนี้ การที่เลิกจ้าง นพ.วิทิตจากการเป็นผู้อำนวยการ อภ.ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องระบบยาของประเทศ อย่านำมาเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งการเลิกจ้างเป็นเพราะการขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานของตัว นพ.วิทิตเอง

"ถ้า นพ.วิทิตมีการฟ้องร้องที่ไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้อง ใส่ร้ายกลั่นแกล้ง เชื่อว่าผู้ที่ถูกฟ้องร้องย่อมมีสิทธิของตัวเอง ในการที่จะฟ้องร้อง นพ.วิทิตเช่นกันหากทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ส่วนตัวที่มีการระบุว่าผมไปใส่ร้าย หมิ่นประมาท นพ.วิทิตเท่าที่จำได้ไม่เคยออกมาให้สัมภาษณ์ในลักษณะดังกล่าว แต่พูดตามข้อเท็จจริง ที่ระบุว่านักการเมืองกลั่นแกล้งก็ควรระบุชื่อบุคคลให้ชัดเจน สิ่งที่เป็นห่วง คือ เมื่อฟ้องร้องเกิดขึ้นแล้วเรื่องถึงชั้นศาล อาจจะทำให้การเปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริงเรื่องที่มีการตรวจสอบ อภ. กรณีที่ผ่านมาไม่สามารถเปิดเผย ออกมาได้หรือไม่" นพ.ประดิษฐกล่าว

นพ.วชิระ บถพิบูลย์ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงการตั้งทีมเฉพาะกิจดูรายงานข้อเท็จจริงการปลด นพ.วิทิตว่า การแต่งตั้งทีมดังกล่าว ถือว่า นพ.ประดิษฐผิดข้อตกลง เนื่องจากก่อนหน้านี้บอกว่าจะตั้งเป็นคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง แต่กลับเฉไฉไปตั้งเป็นทีม เป็นคณะทำงานแทน ถือเป็นการบิดเบือนข้อตกลงและเป็นการให้ข่าวที่ไร้วุฒิภาวะ ขาดความน่าเชื่อถือ

ที่มา--มติชน ฉบับวันที่ 29 มิ.ย. 2556 (กรอบบ่าย)--