ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ผศ.ดร.ปรารถนา ปุณณกิติเกษม ประธานหลักสูตร "การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม หรือ Master of  Management in Healthcare and Wellness Management" หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยกับหนังสือ พิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ถึงที่มาที่ไป ความสำคัญและสิ่งที่ผู้มาเรียนจะได้รับในการเปิดหลักสูตรใหม่

ที่มาที่ไปในการเปิดหลักสูตรใหม่ของ CMMU?

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลขึ้นชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้าน Health Care ของประเทศไทย มีโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศ และผลิตแพทย์ผลิตพยาบาลที่มีความเชี่ยว ชาญ มีชื่อเสียงมาเป็นเวลาช้านาน เรามีโรงเรียนแพทย์ 4 แห่ง คือ คณะแพทย ศาสตร์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์รามา ธิบดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เราได้ผลิตบุคลากรมารับใช้สังคมมาโดยตลอดแม้กระทั่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ เราก็ผลิตบุคลากรมารองรับด้านกระทรวงสาธารณสุข

ฉะนั้น ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพมีโอกาสในการเจริญเติบโตที่สูง แต่ว่าเรายังไม่เคยผลิตผู้บริหารของธุรกิจสุขภาพเลย บวกกับวิทยาลัยการจัดการของเราเอง (CMMU) ก็มีความเข้มแข็งใน การเรียนการสอนในเรื่องของการจัดการ

การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสุขภาพจะเป็นอย่างไร?

เมื่อมีการเปิด AEC แน่นอนว่า ความต้องการทางด้านสุขภาพก็จะมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของรัฐในเรื่องของ Medical Tourism ก็จะยิ่งทำให้มีธุรกิจประเภทนี้เพิ่มขึ้น และยังวางให้ประ เทศไทยเป็นเมดิคัล ฮับ (Medical Hub) ทำให้ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจเหล่านี้ได้

เมื่อมีการเปิด AEC แน่นอนว่าจะมีการไหลของเงินทุน อย่างเช่น กลุ่มเงินทุนของมาเลเซียเข้ามาลงทุนกับโรงพยา บาลเอกชนในประเทศ และในอนาคตก็มีการคาดการณ์ว่า จะมีการเคลื่อนย้ายของกลุ่มทุนอย่างเสรีมากยิ่งขึ้น กลุ่มทุนของประเทศข้างเคียงมากยิ่งขึ้นในธุรกิจของสุขภาพ อาจจะต้องตั้งคำถามว่า องค์กร

ที่เกี่ยวกับสุขภาพในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล หรือบริษัทในประเทศพร้อมแล้วหรือยังที่จะรับมือ และถ้ามีการเปิด AEC ขึ้นมาแล้วจะมีการเคลื่อนย้ายของแรงงานทางการแพทย์มากขึ้น แพทย์และพยาบาลที่มีความสามารถจะถูกดึงตัวไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านและอาจส่งผลถึงการขาดแคลนทางบุคลากรได้ จะทำอย่างไรให้คนมีความผูกพันกับองค์กรมากขึ้น   เพราะฉะนั้นการบริหารการจัด การทรัพยากรบุคคลก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของผู้บริหารจัดการมืออาชีพในธุรกิจสุขภาพ จึงกลายเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 คณะจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ วิทยาลัยการจัดการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้มีการจัดตั้งสาขาวิชาการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม หรือ Master of Management in Healthcare and Wellness  Management ที่เป็นหลักสูตรนานาชาติเพื่อเป็นการรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจสุขภาพของประเทศไทย ภายใต้การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และยังเป็นแห่งแรกในอาเซียนอีกด้วย

อะไรคือสิ่งที่ผู้มาเรียนจะได้รับในหลักสูตรนี้?

ในวิชาของเรามีการเตรียมพร้อมคนในวิธีการบริหารการจัดการคน จัด การเงิน การคุมต้นทุน ทำอย่างไรให้ องค์กรของเรานั้น สามารถที่จะแข่งขันได้ หลักสูตรเราก็จะเน้นให้คนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ให้พร้อมกับการรับมือ และปรับตัวอย่างไรให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือดำรงความสามารถในการแข่งขันได้อยู่ หลักสูตรของเราจะฉายให้เห็นถึงภาพรวมของ

ธุรกิจสุขภาพ ให้ผู้เรียนเข้าใจในระบบของธุรกิจสุขภาพของประเทศไทยว่า มีใครที่อยู่ในธุรกิจสุขภาพบ้าง  หากพูดถึงธุรกิจสุขภาพโดยทั่วไปคนจะนึกถึงโรงพยาบาล ที่จริงแล้วธุรกิจสุขภาพมีตั้งแต่ บริษัทยา บริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ และบริษัทประกัน  การจ่ายเงินในธุรกิจการแพทย์ก็มีความซับซ้อนกว่าประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค ประกันสังคม หรือสิทธิประโยชน์ของราชการที่สามารถเบิกจ่ายได้ในส่วนของกรมบัญชีกลาง อีกทั้งบริษัทประกันที่มีเงื่อนไขที่หลากหลาย

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับความงาม เช่น ธุรกิจ Spa ธุรกิจนวดแผนโบราณ ธุรกิจความงาม และธุรกิจแพทย์ทางเลือกต่างๆ ยังอยู่ในธุรกิจสุขภาพที่ถือว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีผลกระทบต่อคนไทยทุกคน เพราะฉะนั้นการเข้าใจถึงภาพรวมของธุรกิจที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายคนและหลายองค์กรเป็นสิ่งที่จำเป็นในการบริหาร ธุรกิจสุขภาพ

ก่อนหน้าที่จะมีการทำหลักสูตรนี้ เราได้ไปดูงานในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอาเซียน ศึกษาถึงจดดีจดเด่น และเราได้เห็นว่า วิชาที่เปิดส่วนใหญ่นั้นไม่มีการสอนที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มที่คิดว่ามีความเกี่ยวข้องเท่าที่ควร เช่น มีสอนเป็น MBA และมีวิชาการจัดการธุรกิจสุขภาพ ซึ่งเราคิดว่าบางวิชาอาจจะไม่มีความจำเป็นต่อกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจเหล่านี้เท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีความเป็นจำเพาะเจาะจง

มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมุ่งเป้าหมายไปที่เหล่านี้ ที่คาดว่ากลุ่มผู้ที่จะได้รับประโยชน์ในการเรียนวิชาของเราโดยตรง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องในธุรกิจอยู่แล้ว คือ แพทย์และพยาบาล ที่กำลังจะก้าวไปเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล 2. คือ พนักงานสายสนับสนุน เช่น ฝ่ายการตลาด การเงินที่กำลังจะก้าวไปสู่การบริหารจัดการธุรกิจสุขภาพ และ 3.กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพ เช่น สปา คลินิกความงาม ฯลฯ บริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ บริษัทยา และเวชภัณฑ์ บริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ ฯลฯ

วิชาใดบ้างที่มีความแตกต่างและโดดเด่น?

วิชาที่มีความแตกต่างของเราจะมีวิชาหนึ่งที่ชื่อว่า Health Service System เป็นวิชาพื้นฐานจะเป็นการฉายภาพรวมของธุรกิจสุขภาพเป็นภาพใหญ่ที่เราเรียกว่าHolistic Approachให้ผู้เรียนเข้าถึงธุรกิจสุขภาพโดยเฉพาะ ให้ผู้เรียนเข้าใจในระบบของธุรกิจสุขภาพของประเทศไทย ว่ามีใครที่อยู่ในธุรกิจสุขภาพบ้าง ผู้เรียนสามารถเห็นในภาพรวมของอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และความสัมพันธ์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยผู้สอนก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นอาจารย์หมอจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการแพทย์และการบริหารการจัดการ

นอกจากนี้ยังมีอีกวิชาที่มีความโดดเด่น และยังไม่มีที่ไหนสอน คือวิชา Management of Health Care Organization เน้นการบริหารจัดการ ธุรกิจสุขภาพโดยเฉพาะ โดยผู้สอนก็คือ ท่านอาจารย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลที่มีกลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนด้วย ผู้สอนก็จะมีประสบการณ์โดยตรง กับการทำงานในองค์กรไทยที่มีต่างประเทศร่วมทุนด้วย เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้ามาเรียนก็จะได้เปรียบ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับอาจารย์พิเศษของเรา

ในวิชาของเรามีการเตรียมพร้อมคนในวิธีการบริหารการจัดการคน จัดการเงิน การคุมต้นทุน ทำอย่างไรให้องค์กรของเรานั้นสามารถที่จะแข่งขันได้อยู่"

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 7 - 10 ก.ค. 2556

เรื่องที่เกี่ยวข้อง