ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แพทยสภาเตรียมเปิดช่องคนที่ไม่ใช่ญาติสามารถ "อุ้มบุญ" แทนได้ พร้อมคุมหญิง "ขายไข่" ทำลูก หลังพบประกาศขายโจ๋งครึ่มผ่านเว็บไซต์ เผยไทยเป็นแหล่งทำอุ้มบุญมากที่สุดในโลก  ชาวต่างชาตินิยม

ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาประเด็นเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เนื่องจากพบว่าปัจจุบันมีปัญหาค่อนข้างมากในหลายด้าน ทั้งกรณีการตั้ งครรภ์แทน หรืออุ้มบุญ, การขายไข่ผู้หญิง รวมไปถึงจริยธรรมแพทย์ที่ทำในเรื่องนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทบทวนและให้มีการจัดทำหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยในกรณีของการตั้งครรภ์แทนนั้น จะกำหนดให้ผู้ที่ไม่ใช่ญาติสามารถอุ้มท้องแทนกันได้ จากเดิมที่อนุญาตเฉพาะผู้ที่เป็นญาติเท่านั้น เนื่องจากพบว่ามีผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาต้องตัดมดลูกทิ้ง ทั้งที่ยังมีไข่อยู่ แต่ไม่สามารถมีลูกได้ บางรายไม่มีญาติที่สามารถอุ้มท้องแทนกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ แต่ในรายละเอียดต้องมาทบทวนกันว่า จะทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรับจ้างตั้งครรภ์ ตรงนี้ได้มอบให้ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยไปพิจารณา

"ในการตั้งครรภ์ แน่นอนว่าย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทั้งการหาหมอฝากครรภ์, การบำรุงครรภ์ ซึ่งในกรณีที่ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน จะมีการคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้อย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรับจ้าง ซึ่งอาจต้องกำหนดเป็นจำนวนเงินเพื่อไม่ให้สูงจนเกินไป" นายกแพทยสภากล่าวและว่า ส่วนหลักเกณฑ์การให้บุคคลอื่นตั้งครรภ์แทน เช่น ต้องอายุระหว่าง 20-35 ปี เพราะเป็น

นพ.สมศักดิ์กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีของการขายไข่เพื่อใช้ในการตั้งครรภ์ ในกรณีผู้หญิงบางคนที่ไม่มีไข่ตกนั้น ยอมรับว่าขณะนี้ได้มีการซื้อขายในเรื่องนี้มากขึ้น และมีจำนวนมากที่ประกาศขายผ่านทางเว็บไซต์ มีรูปผู้หญิงให้เลือกว่าจะใช้ไข่จากผู้หญิงคนไหน หน้าตาเป็นอย่างไร เท่าที่ทราบตกใบละหมื่นบาทขึ้นไป ตรงนี้ถือเป็นปัญหาอย่างมาก เพราะประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่ยังไม่ห้ามเรื่องนี้ ทำให้ชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะมาทำในไทย และถูกต่างประเทศโจมตีมาก ดังนั้น แพทยสภาจึงประชุมว่าจะมีการควบคุมในเรื่องนี้อย่างไร

นพ.สมศักดิ์ระบุว่า ยอม รับว่าชาวต่างชาตินิยมมาทำอุ้มบุญในประเทศไทย ปัจจุบันถือเป็นแหล่งที่มีการทำอุ้มบุญมากที่สุดของโลก มีการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ว่าทำมากที่สุดในโลก เนื่องจากแพทย์ไทยทำเก่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับการควบคุมนั้นคงต้องคุมที่คนทำ ซึ่งเป็นแพทย์ที่ต้องผ่านการอบรมมา เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่แพทย์ที่ไหนๆ ก็ทำได้ ซึ่งขณะนี้พบว่ามีอยู่ประมาณร้อย แต่มีแพทย์ที่เข้ารับการอบรมด้านเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์แต่ละปีเพียง 10-20 คนเท่านั้น ซึ่งทางราชวิทยาลัยฯ อยู่ระหว่างการร่างระเบียบเพื่อควบคุมอยู่

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 14 กันยายน 2556