ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สยามธุรกิจ - "สภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางรวมถึงโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขเป็นข้อมูลที่จำเป็น และมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อนำไปกำหนดนโยบาย และจัดกิจกรรมต่างๆ ในการที่จะแก้ปัญหาตาบอดและ""สายตาพิการให้ตรงกับข้อเท็จจริงตามสภาวะสาธารณสุขในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดบริการทางตาให้ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลและส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า"

จากการสำรวจสภาวะตาบอด ครั้งที่ 4  ในปี 2549-2550 พบว่าประชากรไทยมีความชุกของตาบอด 0.59% และสายตาเลือนราง 1.57% โดยโรคที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญ 5 โรคคือ 1.โรคต้อกระจก เป็นสาเหตุของตาบอดสูงถึง 51% 2.โรคต้อหิน 9.8% 3.โรคของจอตา 9% 4.โรคที่ทำให้ตาบอดในเด็ก5.7% 5.โรคของกระจกตา 5%

น.พ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ รองผู้อำนวยการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่าจากรายงานวิจัยเรื่องการสำรวจสภาวะตาบอด ตาเลือนรางและโรคตา ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในเด็ก อายุ 1-14 ปี ปี2549-2550 ของประเทศไทย พบว่าอัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทยเท่ากับ 0.11% เป็นอัตราที่สูงกว่าการประมาณการขององค์การอนามัยโลกในปี 2545 ซึ่งเท่ากับ 0.07%

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2563 อัตราตาบอดของเด็กในทุกประเทศไม่ควรเกิน 0.04%(ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก VISION 2020 action plan 2006-2010) โดยพบว่าสาเหตุของสภาวะตาบอดในเด็กไทยเกิดจากโรคที่จอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดถึง 66.66%และเกิดจากภาวะตามัวที่เกิดจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข 33.33% ดังนั้น การที่จะลดอัตราความชุก

ของสภาวะตาบอดในเด็กไทยได้ต้องมุ่งเน้นการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ คือ โรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด และสภาวะสายตาผิดปกติ ที่ไม่ได้รับการแก้ไข

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ มีบทบาทและหน้าที่ในการดูแลสุขภาพเด็กไทยทั่วประเทศได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาตาบอดในเด็ก เพราะเมื่อเด็กตาบอดจะเกิดผลกระทบต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพในอนาคต การป้องกันและแก้ไขเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรีบดำเนินการเพื่อลดจำนวนประชากรเด็กที่ตาบอดในอนาคต     พ.ญ.ขวัญใจ วงศกิตติรักษ์หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคัด

กรองภาวะสายตาผิดปกติในเด็กว่าการวินิจฉัยและรักษาภาวะสายตาผิดปกติไม่ยุ่งยาก แต่การเข้าถึงกลุ่มเด็กยังเป็นปัญหาเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่จะทำหน้าที่คัดกรองหาเด็กที่มีปัญหาและส่งต่อสถานพยาบาล เพื่อรับการตรวจ และวัดสายตาประกอบแว่นที่ได้มาตรฐาน

ขณะที่การวัดสายตาในเด็กแตกต่างจากการวัดสายตาในผู้ใหญ่ จำเป็นต้องใช้การหยอดยา เพื่อลดการเพ่งของตาเด็กและการประกอบแว่นตาให้เด็กต้องการความถูกต้อง แม่นยำเพราะเด็กจะไม่สามารถบอกได้ว่าแว่นตาดี หรือไม่ดี การใส่แว่นที่ไม่ถูกต้องตรงตามสายตาเด็ก หรือระยะต่างๆ ในการประกอบแว่นไม่ถูกต้อง จะส่งผลเสียต่อสายตาเด็ก

จากเหตุผลดังกล่าวจึงต้องมีการพัฒนาระบบบริการร่วมกันระหว่างโรงเรียนและสถานพยาบาล เพื่อให้มีการตรวจคัดกรองเด็กเบื้องต้นโดยครูที่ได้รับการฝึกอบรม ส่งต่อเด็กที่คัดกรองพบความผิดปกติไปยังสถานพยาบาล และพัฒนาให้มีการบริการตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นในหน่วยบริการ ซึ่งกลุ่มงานจักษุวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีมีหลักสูตร "การวัดแว่นตาในเด็ก" เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับจักษุแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติทางจักษุ และนักทัศนมาตรที่สนใจเข้ารับการอบรม ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มบริการตรวจวัดสายตาในเด็กให้กระจายไปทั่วประเทศ

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 - 25 ต.ค. 2556--

เรื่องที่เกี่ยวข้อง