ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสด - ประธาน สพศท. ออกมาหนุน รมว. สธ.  เผยตำนาน P4P มีมากว่า 10 ปีผ่าน 3 ปลัดกระทรวงชี้ประโยชน์ของการจ่ายค่าตอบแทนแบบP4P ประชาชนได้รับบริการครอบคลุมทั้งป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพและรักษาโรค ทั้งปริมาณและคุณภาพ ส่วนเจ้าหน้าที่ เห็นคุณค่าของงาน ได้รับค่าตอบแทนเหมาะสมกับงานที่ทำลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย. (สพศท.) กล่าวว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P) นั้นกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการทดลองทำมาร่วมสิบปี โดยการเสนอแนะของกระทรวงการคลัง เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบการเงินและชัดเจนว่ามีภาระงานมากเกินจริงๆ    "เนื่องจาก เมื่อ 3-4 ปีก่อน กลุ่มแพทย์ชนบท ได้เรียกร้องขอค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเฉพาะแพทย์ที่อยู่รพ.ชุมชน(ฉ.4) จนพยาบาลและสหวิชาชีพได้มาร้องขอค่าตอบแทนนี้ด้วยเช่นกัน(ฉ.6)ตามมาด้วยแพทย์ จากรพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไปมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมเรื่องนี้(ฉ.7) ผลคือ ทุกฝ่ายได้ถูกดูแลแบบซื้อเวลาในช่วงของปลัดกระทรวงในยุคนั้นเพราะท่านกำลังจะเกษียณ" พญ.ประชุมพร กล่าวต่อไปว่า จนกระทั่งในยุคท่านปลัดกระทรวงคนปัจจุบันที่เดินหน้าทำให้เกิดมีการจ่ายค่าตอบแทน P4P ขึ้นมาจริง โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านรัฐมนตรีว่าการนายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์   ในค่าตอบแทนใหม่นี้ ได้มีการตัดเอาเงินบางส่วนประมาณ 25% รพ.ชุมชนที่อายุงานเกิน 3 ปี มารวมทำเป็นค่าตอบแทนตามภาระงานให้กับวิชาชีพอื่นในโรงพยาบาลตัวเอง

"เมื่อครม.มีมติให้ดำเนินการหาทางออกร่วมกันโดยทุกวิชาชีพมาช่วยกันคิด และให้คนนอกกระทรวงคือ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษาด้านการเงินการคลังของครม.เป็นประธานการประชุม ได้ดำเนินการ จนได้ข้อสรุปแล้วว่ารพ.ชุมชน ใช้ ฉ.8 ที่เป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแบบปรับปรุงให้ลดความเหลื่อมล้ำในวิชาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่แพทย์ให้สูงขึ้นโดยไม่ได้ดึงของแพทย์ให้ต่ำลงเลย และใช้ ฉ.9 (P4P)แบบเลือกวิธีเองยากง่ายตามบริบทของตัวเอง  และรพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไปใช้ ฉ.9 เป็น P4P เต็ม รูปแบบ แต่ไม่มีใครเลือก ฉ.10 คือ ฉ.4 บวก ฉ.6 นั่นเองเท่ากับดึงพยาบาลและสหสาขากลับไปอยู่ในจุดเหลื่อมล้ำมหาศาลเหมือนเดิม" พญ.ประชุมพร กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา--ข่าวสด ฉบับวันที่ 21 ธ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--