ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สปสช.เผยบูรณาการผู้ป่วยไตวาย 3 กองทุนสุขภาพรัฐไร้รอยต่อ แม้เปลี่ยนสิทธิการรักษายังเหมือนเดิม มีเพียงผู้ป่วยล้างไตที่บ้านใช้ได้เพียงสิทธิเดียว นอกนั้นไม่ครอบคลุม

เมื่อวันที่ 14 มกราคม นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการนโยบายบูรณาการจัดระบบบริการดูแล รักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ว่า จากการเริ่ม ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ที่ผ่าน มานั้น มีผลการดำเนินงานในการบูรณาการ ดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้ง 3 กองทุนมีจำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย ดังนี้ ประกอบด้วยกองทุน สวัสดิการข้าราชการมีผู้ป่วยจำนวน 8,810 ราย กองทุนประกันสังคมมีผู้ป่วยจำนวน 9,193 ราย และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค (ยุคใหม่) จำนวน 20,777 ราย ซึ่งจากเดิมนั้นแต่ละ กองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์ ในการวินิจฉัยให้สิทธิผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่แตกต่างกัน และเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิการรักษาพยาบาลทำให้ได้รับการรักษาต่างกันและไม่ต่อเนื่อง

นพ.วินัยกล่าวอีกว่า เมื่อมีนโยบายนี้ทำให้ไม่ว่าย้ายสิทธิไปกองทุนไหนก็สามารถใช้สิทธิรักษาได้ตามเดิม เช่น ผู้ป่วยไตสิทธิประกันสังคมได้รับการฟอกเลือด เมื่อย้ายสิทธิมาอยู่ในสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคก็จะได้รับการฟอกเลือดเหมือนเดิม ไม่มีการลดสิทธิรักษาพยาบาลแต่อย่างใด ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2556 มีผู้ป่วยไตวายเปลี่ยนสิทธิรักษาต่างๆ รวม 35,630 ราย ยกตัวอย่างกรณีจาก ผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิประกันสังคมจำนวน 242 ราย จากผู้ใช้สิทธิ 30 บาท เป็นสิทธิสวัสดิการข้าราชการจำนวน 208 ราย จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิ 30 บาทจำนวน 968 ราย จากสิทธิข้าราชการเป็น สิทธิ 30 บาท 381 ราย ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนสิทธิทุกคนได้รับบริการเหมือนเดิมทำให้มีความ ต่อเนื่องในการรักษาและส่งผลให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น

"ยอมรับว่านโยบายดังกล่าวยังมีอุปสรรคอยู่บ้าง เนื่องจากมีผู้ป่วยไตสิทธิอื่นๆ นอกเหนือจากสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค ได้ขอให้ สปสช.ช่วยเหลือในเรื่องการสั่งน้ำยาล้างไต ถึงบ้าน เนื่องจากในสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรคจะมีระบบส่งน้ำยาล้างไตให้ถึงบ้านด้วยการ ส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งเป็นระบบที่ สปสช.ได้ว่าจ้าง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการจัดส่ง ให้ผู้ป่วยในระบบซึ่งมีประมาณหมื่นคน จัดส่งให้ปีละ 16 ล้านถุง แต่อีกสองสิทธิไม่มี เนื่องจากระบบไม่เอื้ออำนวย แต่ สปสช. คงไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่มีอำนาจทางกฎหมาย ต้องหารือกับสิทธิอื่นๆ" นพ. วินัยกล่าว

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 15 มกราคม 2557