ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ไทยรัฐ - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์น้ำหมักตราผู้ใหญ่สุพรรณและตราโสมตังเซียมพบมีส่วนผสมของยา และสารเคมีอันตรายแนะประชาชนไม่ควรนำมาบริโภค...

นายแพทย์อภิชัย มงคลอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เปิดเผยว่าเมื่อไม่นานมานี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่9 นครราชสีมาได้รับตัวอย่างส่งตรวจจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครราชสีมาจำนวน 3 ตัวอย่าง จำแนกเป็นของเหลวใสในขวดแก้วสีชาจำนวน 1 ตัวอย่างและตัวอย่างเครื่องดื่มน้ำหมักในภาชนะบรรจุปิดสนิทจำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่เครื่องดื่มน้ำหมักพืชแท้เต็มพลังตราผู้ใหญ่สุพรรณและเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรหมักเต็มพลังตราโสมตังเซียม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อ โคลิฟอร์ม (Coliforms) และอี.โคไล (E. coli)ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษในปริมาณที่เกินมาตรฐานกำหนดรวมทั้งมีส่วนผสมของยา และสารเคมีอันตรายในเครื่องดื่มน้ำหมักทั้ง2 ตัวอย่าง ได้แก่สารไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane)สารไซ-โปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine)โดยพบสารไดคลอโรมีเทนในเครื่องดื่มน้ำหมักพืชแท้เต็มพลังตราผู้ใหญ่สุพรรณ 4,695มิลลิกรัม/ลิตรในน้ำสมุนไพรหมักเต็มพลังตราโสมตังเซียมพบไดคลอโรมีเทน 5,174มิลลิกรัม/ลิตรส่วนในของเหลวใสในขวดแก้วสีชาตรวจพบสารไดคลอโรมีเทนในปริมาณสูงถึง 692,088มิลลิกรัม/ลิตร

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่9 นครราชสีมาได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้แก่สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้บริโภคไม่ควรซื้อน้ำหมักดังกล่าวมาบริโภค

นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่าหากผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรน้ำหมักที่มีสารไดคลอโรมีเทนจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอาจทำให้เกิดแผล และมีเลือดออกในทางเดินอาหารทำให้มีเอนไซม์ตับสูงขึ้นและอาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้นอกจากนี้ เชื้อโคลิฟอร์มและอี.โคไลที่ตรวจพบในน้ำหมัก จะทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องร่วงเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจจะมีเลือดปนและมีไข้ได้ อย่างไรก็ตามแม้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรจะได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)ถ้าผู้ผลิตยังเติมสารอันตรายลงในผลิตภัณฑ์และมี สุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดีผู้บริโภคจึงมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

ด้านนางธิดารัตน์ บุญรอดผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่9 นครราชสีมา กล่าวว่าไดคลอโรมีเทนจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่1ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535 ของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นสารที่มีสภาพเป็นของเหลวใส ไม่มีสีระเหยได้ง่ายไม่ติดไฟ และไม่ระเบิดใช้เป็นตัวละลายไขมัน และเป็นตัวทำละลายแว็กซ์และเรซินจึงมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสีพลาสติก และฟิล์มถ่ายภาพหากกลืนกินจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนเกิดแผล และมีเลือดออกในทางเดินอาหารหากหายใจเอาสารดังกล่าวเข้าไป จะก่อให้เกิดการระคายเคืองไอ หายใจลำบากเจ็บแน่นทรวงอกกล้ามเนื้อหัวใจตายและหัวใจหยุดเต้นได้นอกจากนี้ มีรายงานว่าสารไดคลอโรมีเทนเป็นสารที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในระบบทางเดินหายใจตับ และเต้านม ในสัตว์ทดลองรวมถึงอาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ด้วย

มีคำแนะนำสำหรับการปฐมพยาบาลถ้ากลืนกินสารเข้าไป อย่ากระตุ้นให้อาเจียนควรนำส่งแพทย์ ทันทีถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์หากผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอดและนำส่งแพทย์ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่ถ้าถูกลูกตาให้ล้างทันที ด้วยน้ำอย่างน้อย15 นาทีสำหรับไซโปรเฮปตาดีนเป็นยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีนจัดเป็นยาแผนปัจจุบัน ประเภทยาอันตรายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510ใช้รักษาอาการแพ้ เช่นผื่นคัน น้ำมูกไหล ลมพิษทั้งยังมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะจากไมเกรนและยานี้มีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงซึมปากแห้งหรือมองภาพไม่ชัดเจนช่วยกระตุ้นให้ทานอาหารได้การรับประทานยาไซโปรเฮปตาดีนจึงควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร.

ที่มา: http://www.thairath.co.th