ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ไทยรัฐ - “ข้าราชการส่วนท้องถิ่น” หรือ “ขรก. ท้องถิ่น” เป็นข้าราชการที่ประชาชนคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาชนบท เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชุมชนของตนเองบุคคลเหล่านี้ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อเป็นผู้นำ ...

ตัวแทนประชาชนในการนำปัญหาความทุกข์ยากไปให้ภาครัฐช่วยแก้ไขการทำงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นแม้จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่ มีความใกล้ชิดประชาชนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้คนทำงาน กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ให้สิทธิข้าราชการส่วนท้องถิ่น พร้อมครอบครัว สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายล่วงหน้า เหมือนกับ “สิทธิของข้าราชการทั่วไป”โดยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดำเนินงานบริหาร กองทุนค่ารักษาพยาบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

สมดี คชายั่งยืน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย บอกว่า สิทธิที่ข้าราชการ...พนักงานท้องถิ่นได้รับ ทำให้เกิดการ “เฉลี่ยทุกข์...เฉลี่ยสุข” ร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ส่งเสริมจัดระบบให้ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความจำเป็นด้านสุขภาพ ลดปัญหาการสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ...พนักงานโดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง กองทุนนี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ อปท.ที่มีขนาดเล็ก มีงบประมาณค่ารักษาพยาบาลน้อย...ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น และสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ ขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติเพื่อประชาชนช่วงแรกที่ดำเนินงาน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ข้าราชการส่วน ท้องถิ่นยังไม่รู้รายละเอียดในการใช้สิทธิ หรือนายก อปท.บางท่านก็มีสิทธิซ้ำซ้อน ไม่รู้ว่าตนเองควรจะใช้สิทธิใดบ้าง หรือแม้แต่เรื่องระบบข้อมูล การเบิกซ้ำซ้อน เป็นเรื่องที่ต้องมีการปรับปรุงต่อไป

“เรื่องนี้...ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับ ขรก.ส่วนท้องถิ่น ในส่วนพื้นที่กันดาร กรมได้เปิดสายด่วนและไลน์กรุ๊ป เพื่อให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นเข้ามา ส่วนเรื่องการประสานสิทธิกับสถานพยาบาลคงต้องเป็นหน้าที่ของ สปสช.จะเป็นผู้ประสานเอง”สำหรับงบประมาณที่นำมาใช้ในกองทุนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งไว้ในเบื้องต้น 7,000 ล้านบาท ในเบื้องต้นได้จัดสรรค่ารักษาพยาบาลให้กับ สปสช.จำนวน 4,000 ล้านบาท ขณะนี้ได้จ่ายงวดแรกไปแล้ว 2,000 ล้านบาท เมื่อปลายปีที่แล้ว เหลืออีก 2,000 ล้านบาท คาดว่าจะจ่ายได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้สำหรับงบส่วนที่เหลืออีก 3,000 ล้านบาท เป็นงบสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉิน...หากไม่พอจะพิจารณาให้ สปสช.จะเป็นผู้สำรองจ่ายไปก่อน และจะมีการเบิกคืนให้ในภายหลัง...

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. เสริมว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายจัดตั้งกองทุนกลางค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น และครอบครัว เพื่อให้เกิดระบบคุ้มครองความมั่นคงด้านสิทธิการรักษาพยาบาลให้ได้รับบริการที่เสมอภาคกับสิทธิอื่นๆ และลดภาระความเสี่ยงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ...ซึ่งสิทธิประโยชน์นั้น มีความเสมอภาคและทัดเทียมระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ โดยผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงไม่ต้องสำรองจ่าย...สามารถรักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่งที่สำคัญ...ยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการบริการสาธารณสุขตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.56 เป็นต้นมาผลการดำเนินงาน มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 687,626 คน จากอปท. (อบต./เทศบาล/อบจ.) 7,851 แห่ง...ในจำนวนนี้มีการลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง 297,390 คน คิดเป็น 43.25% ของผู้มีสิทธิทั้งหมดสปสช.ได้รับเงินโอนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น งวดแรกเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.56 ที่ผ่านมา มีการใช้บริการไปแล้ว 272,763 ครั้ง เป็นเงิน 552.1 ล้านบาท และ สปสช.ได้จ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลแล้ว ดังนี้

หนึ่ง...กรณีเบิกจ่ายตรง หมายถึง ผู้มีสิทธิเมื่อไปรักษาพยาบาลไม่ต้องสำรองจ่าย พบว่า มีสถานพยาบาลส่งข้อมูลเบิกจ่ายตรงเข้ามา 882 แห่ง โดยมีผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ 230,679 ครั้ง จำนวนเงินเรียกเก็บทั้งหมด 462.5 ล้านบาทแยกเป็น...กรณีผู้ป่วยนอก 216,537 ครั้ง เป็นเงิน 214.7ล้านบาท และผู้ป่วยใน 14,142 ครั้ง เป็นเงิน 247.8 ล้านบาท

สอง...กรณีที่ผู้ป่วยสำรองเงินไปก่อน ทั้งหมด 42,084 ใบเสร็จ เป็นเงิน 86.9 ล้านบาท ขณะที่การให้บริการสายด่วน สปสช. โทร. “1330” มีผู้มีสิทธิสอบถามเข้ามา 8,085 ราย เกี่ยวกับรายละเอียด การลงทะเบียนสิทธิ การตรวจสอบสิทธิ วิธีใช้บริการ สิทธิประโยชน์ การสำรองจ่ายเงินไปก่อนสปสช.ในฐานะผู้ทำหน้าที่บริการกองทุน ย้ำว่า ในการใช้บริการกรณีผู้ที่ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงแล้ว ไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้มีเลข 13 หลักกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ใช้สูติบัตร สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน หากไปใช้บริการต้องสำรองจ่ายแล้วนำใบเสร็จไปเบิกจ่ายกับ สปสช. ซึ่งจะได้รับเงินคืนหลังจากตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารแล้วนพ.วินัย บอกอีกว่า สำหรับสถานพยาบาลที่จะเรียกเก็บเงินจาก สปสช. ได้พัฒนาการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยทยอยโอนเงินให้กับโรงพยาบาลและ อปท.ไปแล้วรวม 431 ล้านบาทนอกจากนี้จะมีการทำความเข้าใจกับหน่วยบริการที่ยังมีปัญหาในเรื่องของระบบเบิกจ่ายตรงเพื่อ ขรก.ส่วนท้องถิ่นใช้บริการได้สะดวกมากขึ้น รวมถึง “การเรียงสิทธิ” หมายถึง...ขรก.ส่วนท้องถิ่นที่เป็นข้าราชการทั่วไปอยู่แล้วจะใช้สิทธิเดิมหรือเปลี่ยนมาใช้สิทธิของ ขรก.ส่วนท้องถิ่นก็ได้หรือหากมีปัญหา ไม่เข้าใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. “1330”ทบทวนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิกันอีกครั้ง พนักงานส่วนท้องถิ่นและบุคคลในครอบครัว ที่ประสงค์จะใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงในสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น จะต้องลงทะเบียนกับ “นายทะเบียน” ประจำ อปท.ที่ปฏิบัติงานอยู่ โดยใช้เอกสาร ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ใบรับรองบุตร...กรณีผู้มีสิทธิเบิกเป็นบิดาสิทธิ...จะเกิดภายใน 1 วัน หลังการบันทึกข้อมูลวันนี้เมืองไทยมีเรื่องใหญ่คือ “ปฏิรูปการเมือง...ปฏิรูปประเทศ” อย่าลืมหยิบเรื่อง “ปฏิรูปสุขภาพ” รวมเอาไว้ด้วย.

ที่มา: http://www.thairath.co.th