ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สปส. ชี้แจงการปรับเพิ่มอัตราเหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการตามภาระเสี่ยงของผู้ประกันตน อ้างกระตุ้น รพ. ให้บริการดีขึ้น

เวบไซต์ASTVผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า ดร.อำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า การปรับเพิ่มค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่ายให้กับสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมในอัตรา 1,446 บาท/คน/ปี จากเดิม 1,404 บาท โดยเพิ่มสำหรับสถานพยาบาลที่ต้องรับภาระโรคที่มีภาวะเสี่ยง จากอัตราเหมาจ่ายปกติอีก 432 บาทต่อคนต่อปี เพื่อกระตุ้นให้สถานพยาบาลพัฒนาคุณภาพการรักษาให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น โดยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล (HA) ในอัตรา 80 บาทต่อคน และสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาลตามบันไดขั้นที่ 2 สู่ HA ในอัตรา 40 บาทต่อคน
       
“สปส. ได้จัดสรรเงินกองกลางภายในวงเงินไม่เกิน 4,460 ล้านบาท สำหรับจ่ายค่ารักษากรณีผู้ประกันตนที่ต้องเข้ารับการรักษาโรคร้ายแรง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคภาวะหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น โดยจ่ายค่ารักษาพยาลบาลให้แก่ผู้ประกันตนตามระดับความรุนแรงของโรค (RW) นอกจากนี้ ยังให้สิทธิผู้ประกันตนผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ปลูกถ่ายไขกระดูก และปลูกถ่ายไตด้วย” ดร.อำมร กล่าว