ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

"พระเจ้าจะช่วยผมให้พ้นไปจากสถานการณ์นี้   แต่ถ้าไม่...ผมก็ไม่มีอะไรที่จะต้องเสียใจ"  คุณหมอใจเพชรวัย 33 ปี หนึ่งในสองชาวอเมริกันที่ติดเชื้ออีโบลาในไลบีเรีย กล่าวกับเพื่อนของเขาหลังจากตกอยู่ท่ามกลางการระบาดครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์

- ขณะที่ "เคนท์ แบรนท์ลีย์" นายแพทย์ชาวอเมริกันและคุณพ่อลูกสอง  กำลังให้การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบลาในกรุงมอนโรเวีย  เขาเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีอาการบางอย่างผิดปกติ

- หลังจากนั้น ผู้ช่วยชาวอเมริกันที่เหลือ แนนซี่ ไรท์โบล จากเมืองชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัสอีโบลา    

- ผู้ติดเชื้อต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวกับไวรัสที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกภายในรวมทั้งผิวหนัง และเหยื่อมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 90

- ประชากรกว่า 700 คนในแอฟริกาตะวันตกเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา 

- มีรายงานว่าสองนักวิจัยชื่อดังด้านเชื้ออีโบลาจากประเทศเซียร์ราลีโอนและประเทศไลบีเรียมีอาการป่วยจากการติดเชื้อดังกล่าว และหนึ่งในนั้นเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา 

เดลี่ เมล์  : นายเคนท์ สมิธ จากโบสถ์เซาท์เซ็นทรัลอัลไลอันซ์ ในเมืองฟอร์ตเวิร์ท รัฐเท็กซัส  ที่ซึ่งนพ.เคนท์ แบรนท์ลีย์ และนางแอมเบอร์ภรรยา เป็นสมาชิกอยู่เป็นผู้ออกมาเปิดเผยว่า นพ.แบรนท์ลีย์ ได้กล่าวกับเพื่อนสนิทว่า เขาไม่เสียใจเลยแม้ว่าจะต้องเสียชีวิตจากภารกิจครั้งนี้  

ท่ามกลางการระบาดของเชื้ออีโบลาครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นพ.แบรนท์ลีย์ คุณพ่อลูกสองวัย 33 ปี คือหนึ่งในสองชาวอเมริกันที่กำลังต่อสู้เอาชีวิตรอดจากการติดเชื้ออีโบลา เช่นเดียวกันกับนางแนนซี่ ไรท์โบล มิสชั่นนารีหญิงชาวอเมริกันที่ติดเชื้อเช่นกัน

ผู้อุทิศตน : นี่คือภาพถ่ายของครอบครัวแบรนท์ลีย์  ที่มีหัวหน้าครอบครัวเป็นคุณหมอผู้เสียสละซึ่งติดเชื้ออีโบลาขณะปฎิบัติหน้าที่ในประเทศไลบีเรีย  เขาและครอบครัวเลือกที่จะอยู่ต่อในพื้นที่ซึ่งเริ่มมีการระบาดของไวรัสอีโบลาเพื่อช่วยเหลือคนไข้ต่อไป

ยังมีความหวัง : ภาพป้ายประกาศของโบสถ์เซาท์เซ็นทรัลอัลไลอันซ์ ในเมืองฟอร์ตเวิร์ท รัฐเท็กซัส  ขึ้นข้อความให้กำลังใจ นพ. แบรนท์ลีย์   แม้ว่าคนที่รอดชีวิตจากการติดเชื้ออีโบลาจะมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น 

แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะออกมาระบุว่า มีประชากรเกือบ 700 คนในแอฟริกาตะวันตกต้องเสียชีวิตจากการติดเชื้ออีโบลา ซึ่งกว่า 127 คนเสียชีวิตในประเทศไลบีเรีย แต่ชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยก็หวังว่าคำอธิษฐานของพวกเขาจะช่วยผู้ป่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์เลวร้ายนี้ไปได้

นางแจน แบรนท์ลีย์ มารดาของ นพ.เคนท์ แบรนท์ลีย์ ให้สัมภาษณ์ที่บ้านของเธอในเมืองอินเดียนาโพลิส รัฐอินเดียนา ว่าเธอทราบข่าวจากลูกสะใภ้แล้ว และสิ่งที่เธอทำได้ก็คือสวดขอพรให้กับพวกเขาทั้งสองคน

"มันเป็นช่วงเวลาที่เครียดมากๆ เคนท์เป็นชายหนุ่มที่แสนดี ช่างเห็นอกเห็นใจและมีเมตตา ทุกสิ่งที่เขาทำเขาตระเตรียมมาอย่างดีตลอดชีวิต และตอนนี้ชีวิตของเขาได้ถูกวางไว้ในมือของพระผู้เป็นเจ้า เขาเป็นคนที่กล้าหาญ สิ่งที่เขาทำก็เพื่อรับใช้พระเจ้า ก็ขอวอนทุกคนได้โปรดช่วยกันสวดภาวนาให้เขาด้วย" นางแบรนท์ลีย์ กล่าว   

กล้าหาญ : นพ. แบรนท์ลีย์ กล่าวว่า เขาเชื่อมั่นว่าพระเจ้าจะช่วยให้เขาต่อสู้กับเชื้อไวรัสอีโบลา

ผู้ติดเชื้อ :  ภาพถ่ายของนางแนนซี่ ไรท์โบลและนายเดวิดผู้เป็นสามี โดยนางแนนซี่ติดเชื้ออีโบลาขณะทำงานอยู่ในประเทศไลบีเรีย  

เคนท์ แบรนท์ลีย์  เป็นแพทย์อาสาชาวอเมริกันจากองค์กรการกุศล ซามาริแทน'ส เพิร์ส  ผู้ลงปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศแอฟริกาตะวันตก ซึ่งจากรายงานข่าวของ นสพ.เดอะ ดัลลาส มอร์นิ่งนิวส์  ระบุว่านางเมลิสา สตริกแลนด์ โฆษกขององค์กรการกุศลในนอร์ทแคโรไลนา ของสหรัฐฯ เป็นผู้แจ้งว่า นพ.แบรนท์ลีย์มีอาการที่บ่งชี้ว่าติดเชื้ออีโบลาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  

ไวรัสอีโบลามีระยะฟักตัวที่นานถึง 3 สัปดาห์ ซึ่งระหว่างนี้อาจจะไม่มีอาการแสดง ผู้ติดเชื้อจึงมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 90 บุคลากรด้านสาธารณสุขซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดจึงมีความเสี่ยงสูง เพราะเชื้อติดต่อผ่านทางการสัมผัสของเหลวจากร่างกายของผู้ป่วย  ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาไวรัสอีโบลาอย่างจำเพาะ หลังสัมผัสไวรัส ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ตามมาด้วย การอาเจียน ท้องเสียและมีเลือดออกตามอวัยวะภายในและภายนอก

“คุณหมอแบรนท์ลีย์ ปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยตามหลักเวชปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และแยกตัวทันทีหลังสงสัยว่าตนเองมีอาการติดเชื้อ ในขณะเดียวกันก็แจ้งให้สมาชิกในทีมรับทราบทันที ทั้งนี้หลังการติดเชื้อ คุณหมอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในไลบีเรีย ซึ่งในระหว่างนั้นอาการของเขายังทรงตัวและทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ได้” นางสตริกแลนด์ กล่าว

ระมัดระวัง: นพ.แบรนท์ลีย์ จากองค์กรการกุศล ซามาริแทน'ส เพิร์ส แสดงให้เห็นว่า ขณะปฏิบัติงานเขาได้สวมใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อ

ระหว่างปฎิบัติงาน :  ระหว่างการรักษาคนไข้ในมอนโรเวีย  นพ.แบรนท์ลีย์สวมใส่ชุดป้องกันตลอดเวลา 

หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่คุณหมอจะพบว่าตัวเองติดเชื้อ สมาชิกคนอื่นๆในครอบครัวซึ่งย้ายตามมาที่ประะเทศไลบีเรียด้วย ได้เดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐฯ โดยทุกคนไม่มีอาการที่แสดงว่าติดเชื้ออีโบลา

ก่อนที่จะย้ายไปปฎิบัติงานในประเทสไลบีเรีย นพ.แบรนท์ลีย์  จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ในรัฐอินเดียนา เมื่อปี 2009 จากนั้นได้ศึกษาต่อเฉพาะทางโดยทำงานเป็นแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลจอห์น ปีเตอร์ สมิทธ และสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปีเมื่อปีที่ผ่านมา

ในขณะที่ทำงานเป็นแพทย์ประจำบ้าน คุณหมอและภรรยาช่วยกันเก็บเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่บุตรสาวทั้งสองคน  ซึ่งหลังจากทำสำเร็จ คุณหมอและภรรยาจึงได้ย้ายไปทำงานที่แอฟริกาในฐานะแพทย์อาสา ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว  โดยพวกเขาเดินทางไปยังประเทศไลบีเรียตามหลักสูตรแพทย์เฉพาะทาง 2 ปี ที่สนับสนุนโดยองค์กรการกุศล ซามาริแทน'ส เพิร์ส  

ปลอดภัย : ภรรยาและลูกๆ ของคุณหมอเดินทางกลับสหรัฐฯ ก่อนที่คุณหมอจะเริ่มมีอาการ

ประวัติการณ์ : การระบาดของอีโบลาครั้งล่าสุด ได้แพร่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และในเมืองที่มีประชากรหนาแน่ในไนจีเรีย นับเป็นการแพร่ระบาดที่รวดเร็วและคร่าชีวิตผู้ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 700 ราย

สำหรับรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ล่าสุดพบการระบาดในประเทศแถบแอฟริกา จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกินี  ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย  รวมผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 1,323 ราย เสียชีวิต 729 ราย  ทั้งนี้ผู้ติดเชื้ออีโบลาจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะและเจ็บคอ ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเสียและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีเลือดออก ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันและการรักษาที่จำเพาะ เชื้ออีโบลาสามารถติดต่อโดยการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยรวมถึงของใช้ของผู้ป่วย หรือสัตว์ที่ป่วย ดังนั้นผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวที่จะไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้ออีโบลาและต้องหลีกเลี่ยนการสัมผัสดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

ที่มา ข่าวและภาพจากเวบไซต์เดลี่เมล์ www.dailymail.co.uk

เรื่องที่เกี่ยวข้อง