ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคีเครือข่าย ดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) และฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ในชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการอบรมหลักสูตร Care manager รุ่นแรกของประเทศไทย ว่า เป็นการเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 เพิ่มเป็น 9.7 ล้านคน หรือร้อยละ 15 ในปี 2557 และ ร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า และทุพพลภาพติดเตียง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 56 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุ 1 ใน 2 คน อ้วนและเป็นโรคอ้วน โดยมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 26 มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว ประมาณ 6 แสนคน หรือร้อยละ 8 และอยู่ลำพังกับคู่สมรส มากถึง1.3 ล้านคน หรือร้อยละ 16 ผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปาก โดย ร้อยละ 48 มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่

ศ.นพ.รัชตะ กล่าวต่อว่า จากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงรวมถึงผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตโดยเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ 1) การคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิง และประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการและจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม และ2) การจัดบริการด้านสุขภาพและสังคมรวมถึง มีCare giver และ Care manager อย่างพอเพียงในสัดส่วน Care manager 1 คน ต่อ Care giver 5-7 คนและ Care giver 1 คน ต่อผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 5-7 คน โดยบูรณาการเรื่องการนวดไทยเข้าไปในหลักสูตร Care Manager และ Care giver เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุและผู้อยู่ในระยะพึ่งพิงรวมผู้พิการ โดยกำหนดเป้าหมายการดำเนินการ 20 จังหวัดภายในเดือนธันวาคม 2557

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากรายงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554-2564 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552 ระยะที่ 2 พ.ศ.2550-2554 ยุทธศาสตร์ที่ 3 มาตรการที่ 4.2 จัดตั้งและพัฒนาบริการทางสุขภาพและทางสังคมรวมทั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนที่สามารถเข้าถึงผู้สูอายุมากที่สุดโดยเน้นบริการถึงบ้านและมีการสอดประสานกันระหว่างบริการทางสุขภาพและทางสังคมฯ โดยกำหนดดัชนีวัดที่ 38 สัดส่วนของตำบลที่มีบริการสำหรับผู้สูงอายุ คือ 1)สนับสนุนการดูแลระยะยาว 2) ระบบประคับประคอง 3) ดูแลโรคเรื้อรังที่สำคัญ 4) อาสาสมัครในชุมชน และ5) สนับสนุนให้ผู้ดูแลมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจากผลการประเมินมีผลการดำเนินงานเพียงร้อยละ 34.3 จากเป้าหมาย ร้อยละ 50

"การเต