ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความจาก นพ.พรเทพ โชติชัยสุวัฒน 3 ตอน ที่เขียนถึง นโยบายหมอครอบครัว ซึ่ง นพ.พรเทพ เปรียบเทียบว่า ทีมหมอครอบครัวนั้น เปรียบเหมือน นายด่านระบบสุขภาพ ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งต่อผู้ป่วย เพื่อประชาชนมีสุขภาพดี ผู้ป่วยเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง และไม่เพียงเท่านั้น ยังช่วยประสานงานด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ ด้วย ซึ่งตอนแรก ว่าด้วยเรื่อง FCT (หมอครอบครัว) กับ building blocks’ โดย ตอนที่ 2 ‘หมอครอบครัว กับหลักประกันสุขภาพ’ และต่อไปนี้เป็นตอนที่ 3 หมอครอบครัวกับทรัพยากรด้านอื่นๆ

ในตอนที่จะ 3 จะกล่าวถึงทรัพยากรอีก 4 ด้านที่เหลือ ได้แก่ การบริหารอัตรากำลัง การจัดการข้อมูลข่าวสาร ธรรมาภิบาล ภาวะผู้นำ และเวชภัณฑ์วัสดุการแพทย์ ซึ่งลำดับที่ 1-3 อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของบุคลากร นั่นเอง โดยการสร้างทีมหมอครอบครัว สามารถนำมาต่อยอดจากการสร้างทีมสุขภาพระดับอำเภอ ในนามโครงการ District Health Management Learning : DHML และโครงการ Family and Community Pharmacist Practice Learning: FCPL ที่เน้นไปที่การสร้างทีมเภสัชกรปฐมภูมิ ที่มีหลักพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ในบริบทพื้นที่ที่ต่างกันไปที่ เรียกว่า Participatory Interactive Learning through Action (:PILA) เพื่อสร้างสมรรถนการบริหารจัดทั้งการครองตน ครองคน ครองงาน ภายใต้ความสัมพันธ์อันดี เป็นกัลยาณมิตรต่อกันของทีมในพื้นที่ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี เอื้ออำนวยในการเรียนรู้ เสริมด้วยการกระจายอำนาจ กฏระเบียบที่ยืดหยุ่นต่อความคิดสร้างสรรค์   ที่เปรียบได้กับสามเหลี่ยมเล็กที่เชื่อมโยงคนทำงานด้วยกัน  จนก่อเกิดเป็นสามเหลี่ยมใหญ่ระดับชาติ ที่เป็นความสัมพันธ์ของสังคม อำนาจทางการเมือง และความรู้เชิงวิชาการ เพื่อเคลื่อนไหวเชิงนโยบาย ตามภาพประกอบที่ 1 และ 2   ซึ่งนำมาจากแนวคิด ของ นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ  

เมื่อนำมาเชื่อมโยง กับนโยบายหมอครอบครัว กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ประกอบด้วย การบริหารอัตรากำลัง การจัดการข้อมูลข่าวสารซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุด ก็คือบุคลากรที่นำข้อมูลมาใช้งาน ธรรมาภิบาลซึ่งร่วมถึงภาวะผู้นำที่ดี สมารถสื่อสารจูงใจให้คนร่วมกันทำงานอย่างสมานฉันท์ เกิดการทำงานที่งานได้ผล คนเป็นสุข และเวชภัณฑ์วัสดุการแพทย์ ตามตาราง ดังนี้

ตารางแสดงการจัดสรรทรัพยากรด้าน อัตรกำลัง ข้อมูลข่าวสาร  ธรรมาภิบาล  และเวชภัณฑ์วัสดุการแพทย์ เพื่อสนับสนุนทีมหมอครอบครัว

โดยสรุป นโยบายทีมหมอครอบครัว เป็นเครื่องมือหลักของระบบริการปฐมภูมิเปรียบได้กับนายด่านระบบสุขภาพที่จะพิทักษ์ รักษาสุขภาพของประชาชน ด้วยการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การจัดบริการ การเงิน อัตรากำลัง ระบบข้อมูลข่าวสาร ธรรมภิบาล และเวชภัณฑ์วัสดุการแพทย์อย่างสมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งต้องยึดโยงกับบริบทของพื้นที่ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมจากการปฎิบัติจริง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขร่วมกัน  มีความเห็นพ้อง และเห็นต่าง แต่แสวงหาคำตอบร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ มีวุฒิภาวะจนเกิดความเป็นเจ้าของระบบสุขภาพร่วมกันในที่สุด

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=962839170426901&set=pcb.962842777093207&type=1&theater