ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) และโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ (GIST) จำนวนกว่า 4,000 รายในประเทศไทยตลอด 12 ปีที่ผ่านมา เข้าถึงการรักษาด้วย ยาอิมมาทินิบ มีไซเลต ตามโครงการจีแพป (GIPAP) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเบิกจ่ายหรือจ่ายค่ารักษาด้วยตนเองสามารถได้รับการรักษานี้ ระบุเป็นตัวอย่างความร่วมมือ ระหว่าง รัฐ-เอกชน นำโดย สธ. สปสช. และโนร์วาตีส เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงยารักษาโรคมะเร็งทั้งสองชนิด

ภายในงานครบรอบ 12 ปีของการจัดตั้งโครงการจีแพป (GIPAP) โนวาร์ตีสได้เผยว่าบริษัทได้ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) และโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ (GIST) จำนวนกว่า 4,000 รายในประเทศไทยตลอด 12 ปีที่ผ่านมา

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) พบประมาณร้อยละ 15 ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค CML นั้นยังไม่ทราบแน่ชัดแต่การฉายรังสีเป็นปัจจับที่สำคัญที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้

นายจีระพล ไชยมงคล ประธานชมรมผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์แห่งประเทศไทย (Thai CML) กล่าวว่า โครงการจีแพป เป็นโครงการที่จัดขึ้นมายาวนาน ซึ่งในระยะแรกของโครงการ ผู้ป่วยเข้าถึงยาเพื่อทำการรักษาได้ลำบากและข้อมูลต่างๆ ในการเขาถึงยามีอยู่อย่างจำกัด จนกระทั้งปัจจุบันโครงการนี้ได้มีส่วนช่วยเหลือประชาชน ให้ได้รับยารักษาโรคที่ถูกต้อง รวมถึงสามารถเข้าถึงการรักษาโรคได้มากขึ้นอีกด้วย พร้อมกันนี้โครงการนี้ยังมีส่วนช่วยเหลือเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีผู้ป่วยชาวไทยถูกละเลยจากการรักษา โครงการจีแพปนี้เกิดขึ้นได้จากความช่วยเหลือของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในประเทศไทย และยังมีโนวาร์ตีสที่มีส่วนช่วยในการจัดสรร ยาอิมมาทินิบ มีไซเลต ในกับบรรดาผู้ป่วยอีกด้วย”

ศ. พญ.แสงสุรีย์ จูฑา ประธานกรรมการที่ปรึกษาสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติและประธานกรรมการที่ปรึกษาชมรมผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์แห่งประเทศไทย (Thai CML) กล่าวว่า การจัดจั้งโครงการนี้ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยารักษาที่มีราคาแพงเมื่อไม่มีตัวเลือกอื่นๆ สำหร้บการรักษา

“มีการประเมินแล้วว่าคนหนึ่งคนสามารถเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) ในจำนวนประชากร 200,000 คนและการกินยาทุกวันเป็นสิ่งที่จำเป็น การจัดตั้งโครงการจีแพป (GIPAP) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเบิกจ่ายหรือจ่ายค่ารักษาด้วยตนเองสามารถได้รับการรักษานี้” ศ. พญ.แสงสุรีย์ กล่าวเพิ่มเติม

โรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ (GIST)  เป็นโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหารซึ่งจัดเป็นมะเร็งที่มีโอกาสพบได้น้อยมาก การวิจัยในประเทศไทยยังคงดำเนินต่อไปแต่ผู้ป่วยเหล่านี้ก็สามารถเข้าถึงยารักษาโรคโดยผ่านโครงการจีแพปแล้วในปัจจุบัน

ศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย อธิบายว่าการเข้าถึงยาอิมมาตินิบได้มีผลกระทบที่สำคัญ “ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้หรือโรคอยู่ในระยะแพร่กระจาย การรักษามาตรฐานคือการให้ยาอิมมาตินิบ เพื่อควบคุมการเติบโตของเซลล์มะเร็ง การศึกษาซึ่งติดตามผู้ป่วยมาเป็นเวลาประมาณ 9 ปี พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาอิมมาตินิบประมาณ 35% ยังคงมีชีวิตอยู่และประมาณ 20% ยังคงได้รับยาอิมมาตินิบอย่างต่อเนื่อง โดยการรักษาด้วยยาอิมมาตินิบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว”

นายโทมัส วายโกลด์ ประธานฝ่ายยามะเร็ง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกาใต้ บริษัท โนวาร์ตีส เอจี จำกัด อธิบายว่าโครงการจีแพป (GIPAP) ได้จัดสรรเงินยามูลค่ากว่า 3.3 พันล้านบาทแก่ผู้ป่วยจากโรคมะเร็งทั้งสองชนิดนี้ในประเทศไทย

นายวายโกลด์ยังกล่าวต่ออีกว่า “โนวาร์ตีสมีภาระกิจในการเปลี่ยนผลลัพธ์สำหรับความเป็นอยู่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง การทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยานวัตกรรมใหม่ๆ ของเราคือความสำเร็จที่ใหญ่หลวง”

มร.ริชาร์ด อะเบลา ประธานบริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โนวาร์ตีสได้มีความริเริ่มพัฒนาในเรื่องของชุมชนอย่างต่อเนื่องในการเน้นพันธสัญญาที่มีต่อประเทศไทยและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น”

“ภายหลังการจัดตั้งโครงการมาเป็นเวลากว่า 12 ปี โครงการนี้ยังคงช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นดำเนินพันธสัญญาของโนร์วาตีสสำหรับคนไข้ต่อไปในอนาคต” นายอะเบลา กล่าวเสริม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง