ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมการแพทย์ เผย โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้ส่วนใหญ่ยังต้องประสบกับความทุกข์ทรมานจากสภาพอัมพฤกษ์ อัมพาต แนะสังเกตอาการหากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช โฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization : WSO) ได้กำหนดให้วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์อัมพาตโลก ซึ่งโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้เกิดอาการชาที่ใบหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงเคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวลำบากทันทีทันใด เป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่เกิด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน และโรคหลอดเลือดสมองแตก โดยมีสาเหตุจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารเค็มจัด หวานจัด มันจัด ไม่รับประทานผักผลไม้ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ไม่ออกกำลังกาย และเครียด ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดและคอเลสเทอรอลสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับสัญญาณเตือนอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว อาจพบเพียง 1 อาการหรือมากกวา ดังนี้ การออนแรงของหนา แขนหรือขาซีกเดียว สับสน พูดลําบาก พูดไมรูเรื่อง มีปญหาการพูด การมองเห็นลดลง 1 หรือทั้ง 2 ขาง มีปญหาดานการเดิน มึนงง สูญเสียการสมดุลการเดิน หากมีอาการดังกลาวตองรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุดภายใน 4.5 ชั่วโมง จะสามารถชวยรักษาชีวิตและฟนฟูร่างกายให้กลับมาเปนปกติหรือใกลเคียงคนปกติมากที่สุด

โรคหลอดเลือดสมองแม้จะเป็นโรคที่อันตราย แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น งดดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน แป้ง น้ำตาล หันมารับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ ไม่เครียด และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้ห่างไกลจากอัมพาตแล้วยังส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ส่วนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน ควรดูแลตัวเองและควบคุมโรค เพื่อป้องกันไม่ให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและเส้นเลือดตีบ

โฆษกกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประชาชนควรรู้จักดูแลตนเองและหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ จะสามารถช่วยป้องกันและลดความรุนแรงจากโรคดังกล่าวได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นโรคนี้อยู่แล้วต้องเข้ารับการรักษาและรับประทานยาสม่ำเสมอที่สำคัญจะต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที