ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

ในปีงบประมาณ 2559 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจัดงบเหมารายหัว 3,028.94 บาทต่อประชากร จากประชากรทั้งหมด 48.7 ล้านคน รวมเป็นเงิน 147,772 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่าร้อยละ 6 ในจำนวนนี้เป็นเงินเดือนภาครัฐขั้นปกติ 40,143 ล้านบาท คงเป็นเงินกองทุน 107,629 ล้านบาท ที่จะให้บริการประชาชน 48.7 ล้านคน ซึ่งงบเหมาจ่ายรายหัวแบ่งเป็น 9 รายการ ได้แก่

1.ผู้ป่วยนอก 1,103.92 บาท

2.ผู้ป่วยใน 1,060.14 บาท

3.กรณีเฉพาะ 305.29 บาท

4.สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค 398.60 บาท

5.ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ 16.13 บาท

6.แพทย์แผนไทย 10.77 บาท

7.บริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน 128.69 บาท

8.เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 กันไว้จำนวน 5.40 บาท

9.ส่วนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาความชัดเจน ถ้าให้สามารถจ่ายจากเงินกองทุนได้ จะใช้งบประมาณ 0.10 บาทต่อหัว หรือ 4.87 ล้านบาท โดยเงินรายการนี้รวมไว้ในรายการผู้ป่วยในทั่วไปไว้ก่อน

หมายเหตุ

1.ประเภทรายการที่ 4 คือ สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคนั้น จำนวนเงินจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนไทยทุกคน

2.สำหรับค่าบริการสาธารณสุขในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ รวมอยู่ในรายการบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค

ขณะที่ค่าบริการอื่นๆ นอกเหนือจากงบเหมาจ่ายรายหัว มีดังนี้

1.ค่าบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ รวมป้องกันการติดเชื้อ 3,011.9010 ล้านบาท

2.ค่าบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 6,318.0990 ล้านบาท

3.ค่าบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเรื้อรัง เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และปี 59 รวมจิตเวชเรื้อรังในชุมชนด้วย 959 ล้านบาท

4.ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับสถานพยาบาลในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมกรณี 3,000 อัตราของ สธ.ด้วย 1,490.2875 ล้านบาท

5.ค่าตอบแทนกำลังคนสาธารณสุขของ สธ. 3,000 ล้านบาท

6.ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 600 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีแรกที่จะมีการดำเนินการในเรื่องนี้

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)