ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ในการแถลงข่าวของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 (ดู ที่นี่) เรื่อง “การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ” ได้นำเสนอค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของแต่ละกองทุนสุขภาพดังนี้

โดย

กองทุนสวัสดิการข้าราชการ ดูแลประชากรในระบบประมาณ 5 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมด 59,558 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2556

กองทุนประกันสังคม ดูแลประชากรในระบบประมาณ 11 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ประกันคน ทั้งหมด 34,186 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2556

กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูแลประชากรในระบบประมาณ 49 ล้านคน มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้มีสิทธิ 141,540 ล้านบาท ในจำนวนนี้รวมเงินเดือนบุคลากรภาครัฐ 32,795 ล้านบาท คงเหลือเป็นเงินกองทุน 107,815 ล้านบาท

ขณะที่หากคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลต่อคนนั้น จะตกอยู่ที่

สวัสดิการข้าราชการ คนละ 12,534 บาทต่อปี

กองทุนประกันสังคม (ผู้ประกันตน) คนละ 3,276 บาทต่อปี

กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) คนละ 2,922 บาทต่อปี

ทั้งนี้ จากรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (กรกฎาคม 2558) ได้แสดงความแตกต่างของระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ของประเทศไทยไว้ดังนี้

ตอนต่อไป ติดตาม ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของไทยในทุกระบบเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของต่างประเทศ

ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพจาก ทีดีอาร์ไอ และรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ