ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีการนำเสนอผลงานวิจัย วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ เรื่อง “พัฒนศาสตร์ กับการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ (ไม่) เป็นธรรม” ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารอเนกประสงค์1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งมีชุดโครงการวิจัย เรื่อง”คนไทยกับแรงงานข้ามชาติ การอยู่ร่วมกันอย่างมีจริยธรรม” ภายใต้หัวข้อ “การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม”

นางสาวกิตติกาญจน์ หาญกุล นักวิจัย กล่าวถึงงานวิจัย เรื่องจริยธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาปฏิบัติการทางสังคมของชุมชนคลองหก ในเขตชลประทานทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี ว่า ได้ศึกษาการปรับตัวของชุมชนท่านกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเสรษฐกิจ การสร้างข้อตกลงเพื่อการอยู่ร่วมกันในชุมชน และการศึกษาเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม โดยให้คำจำกัดความ “จริยธรรมการอยู่ร่วมกัน คือการสร้างคุณค่า กฎ กติกา บรรทัดฐาน ข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกในกลุ่ม หรือชุมชนโดยสมาชิกของชุมชนยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎนั้น และกฎ กติกาที่กำหนดร่วมกัน เพื่อจัดการข้อขัดแย้งหรือปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มหรือชุมชน” การศึกษาครั้งนี้ต้องการสร้างความเข้าใจปฏิบัตการของชุมชนในพื้นที่ชานเมืองที่มีวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว เป็นพื้นที่ผสมผสานทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม มีความหลากหลายของคนที่แตกต่างกันทั้งวิถีชีวิต ชาติพันธ์ กลุ่มเป้าหมายของการศึกษาประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำ เจ้าของหอพัก ผู้ดูแลหอพัก เยาวชน กลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน ชาวบ้านที่เคยทำงานในโรงงาน และเจ้าของร้านค้าในชุมชน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การสร้างข้อตกลงในการอยุ่ร่วมกันระหว่างชุมชนดั่งเดิมกับกลุ่มแรงงานเพื่อบ้าน ซึ่งมีทั้งแรงงานพม่า และกัมพูชา แบ่งออกเป็น 1.ข้อตกลงที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงกติกาที่รับรู้ร่วมกัน 2. ข้อตกลงในระดับหอพัก มีลักษณะที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากกว่า โดยนอกจากบางหอพักจะมีเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ยังมีหัวหน้าคนงานที่เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างแม่บ้านหอพักกับแรงงานเพื่อนบ้านในหอพัก ซึ่งมีข้อตกลงทั้งสองแบบช่วยคลี่คลายสถานการณืความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชาวบ้านกับแรงงานเพื่อนบ้านได้ ซึ่งเคยมีกรณีที่แรงงานเพื่อนบ้านทำร้ายคนในชุมชน แล้วมีการนำกฎนี้มาใช้ในการจัดการ ซึ่งก็ตกลงกันให้ส่งแรงงานเพื่อนบ้านกลับประเทศโดยไม่ได้มีการดำเนินคดี

โดยเงื่อนไขของความเป็นไปได้ในการการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมในชุมชนชานเมื่อที่อยู่ท่ามกลางการขยายตัวของการพัฒฯาเสรษฐกิจและอุตสาหกรรม 1. มีการอดกลั้นในระดับปัจเจก มากกว่าการเคารพหรือเข้าใจวัฒนธรรมแรงงานเพื่อนบ้าน 2. ความเข้มข้นของอคติทางชาติพันธุ์ 3. มีตัวกลางประสานความสัมพันธ์ 4. การมีพื้นที่สาธารณะของชุมชน ตลาด วัด และสวนสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้ระหว่างกันของชาวบ้านกับกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน เพราะมีการใช้พื้นที่ร่วมกันทุกกลุ่ม 5. การมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดสังคมที่มีลักษณะพหุวัฒนธรรม งานวิจัยได้มีข้อเสนอในเชิงนโยบายดังนี้ 1. ผลจากการศึกษาพบว่า มีนโยบายที่สนับสนุนให้เกิดสังคมพหุวัฒนธรรม ในหลายระดับทั้งในระดับกระทรวง หรือระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนการสร้างสังคมที่เป็นธรรม และเคารพความแตกต่าง หลากหลายฝ่ายกฎหมาย หรือระเบียบต่างๆ แต่ไม่มีกระบวนการหรือปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจในระดับปัจเจกบุคคล เพื่อถอดรื้ออคติทางชาติพันธ์ ทำให้เกิดความย้อนแย้งระหว่างนโยบายกับการปฏิบัติในหลายระดับ ดังนั้นสิ่งที่ควรเพิ่มเติมนอกเหนือจากการกำหนดนโยบาย คือ การมีปฏิบัติการเพื่อถอดรื้ออคติระหว่างชาติพันธ์ุและสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้มากขึ้น 2. ความซ้อนทับกันของการบริหารงาน ระหว่างหน่วยงานรัฐต่างๆ ที่ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ไม่สามารถจัดการบริหารด้วยตนเองได้ ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล จึงเป็นเพียงพื้นที่ปลายทางเพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาต่างๆ แต่ไม่สามารถกำหนดนโยบายของตนเองได้ โดยเฉพาะการกำหนดผังมือง ที่ถูกกำหนดจากส่วนกลาง ส่งผลให้พื้นที่ต้องเตรียมรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า นโยบายการจัดการกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมในการกำกับดูแล หรือการจัดการในเชิงข้อมูล ไม่สามารถระบุจำนวนแรงงานอพยพในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้ ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญต่ดฃอการวางแผนการพัฒนาในระดับท้องถิ่น

ขอบคุณ voicelabour.og

เรื่องที่เกี่ยวข้อง