ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ในงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์ 2017 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สตาร์ทอัพด้านสุขภาพและการแพทย์ของไทย (Health Startup Thailand) เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างสินค้าและบริการมากกว่า 35 ราย ได้จัดงานแถลงข่าวเพื่อเตรียมการจัดตั้งสมาคมขึ้นภายในเดือนสิงหาคม

โดย Health Startup ประกอบด้วย บริการทางการแพทย์ทางไกล บริการส่งเสริมสุขภาพ บริการค้นหาและนัดหมายแพทย์ บริการจัดหาผู้ดูแลที่บ้าน ระบบบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ด้านสุขภาพ บริการด้านเทคโนโลยี IoT เทคโนโลยี Blockchain ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล ร้านยา คลินิก สายรัดข้อมือ QR Code ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น โดยการสนับสนุนการจัดงานจากโครงการ Digital Wellness ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

นโยบายประเทศไทย 4.0 ที่รัฐบาลดำเนินการผลักดันเพื่อยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น คืออุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวสู่ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ในระดับโลกด้วยจุดเด่นด้านทักษะความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านสาธารณสุข การบริการที่ประทับใจแบบไทย ความหลากหลายทางชีวภาพด้านสมุนไพร สถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตลอดจนการเป็นจุดหมายปลายทางของผู้พำนักระยะยาวจากทั่วโลก รวมถึงการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพด้านสุขภาพและการแพทย์ของไทย

โดยผู้เข้าร่วมงานเป็นสื่อมวลชนและสตาร์ทอัพด้านสุขภาพและการแพทย์มากกว่า 100 คน ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาในงานคือนายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้จัดการโครงการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นพ.ชาญวิทย์ วสันธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. นายวัชระ เอมวัฒน์ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ และพล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา (บันทึกวีดีทัศน์)

นพ.คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ ผู้ก่อตั้งและ CEO Ruckdee Consultancy ผู้แทนสตาร์ทอัพด้านสุขภาพและการแพทย์ของไทยกล่าวว่า “Health Tech Startup” มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ "การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับบริการสาธารณสุขของไทยสู่ระดับโลก" โดยมีพันธกิจหลัก คือ สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มและพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ ร่วมกับกขับเคลื่อนการปรับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น กฎหมาย ระเบียบ ให้สอดคล้องกับบริบทของปัจจุบันและอนาคต กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา การขยายตัว และการสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านสุขภาพและการแพทย์ สร้างความตระหนักและปรับกระบวนการคิดสู่การนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการสาธารณสุขไทยและทั่วโลก

นอกจากนี้ยังคาดหวังให้เป็นศูนย์กลางของการประสานงานในการลงทุนในสตาร์ทอัพด้านสุขภาพและการแพทย์ของไทยจากนักลงทุนจากทั่วโลก ด้วยมูลค่าการสาธารณสุขไทยทั้งการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การรักษาพยาบาล สมุนไพร และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ รวมแล้วหลายแสนล้านบาทต่อปี และเป็นศูนย์การทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ได้มีการเสวนาทางวิชาการเรื่อง "Health & Tech: Disruption, not interruption." ในเวลา 14.30-15.30 น. รวมถึงงานเสวนาในวันที่ 8 กรกฎาคม เวลา 13.00 เป็นต้นไป 4 เรื่องคือ 1. EHR, PHR & Health Information Exchange" Presistent Challenges and New Strategies to Enabling Health Reform 2. "Telemedicine" (Opportunities, challenges, and case study in Thailand) 3.Pharmatech 4.Digital Transformation in Hospitals

และงานวันที่ 9 กรกฎาคม เวลา 13.00 เป็นต้นไป 4 เรื่องคือ 1.AI & HealthTech 2.How Tech Startups Help Achieve Sustainable Development Goals 3.Aging Society: Challenges and Innovations และ 4.How to Hack ASEAN HealthTech?

ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ www.facebook.com/HealthTechThailand

เรื่องที่เกี่ยวข้อง