ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของคนไทยเปรียบเทียบกับดัชนีประเทศต่างๆ

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme: UNDP) ได้จัดทำดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) โดยคำนึงถึงความสำเร็จใน 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ (อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด: Life Expectancy at Birth) ด้านการศึกษา (จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา: Mean years of schooling) และด้านมาตรฐานการครองชีพ (รายได้มวลรวมประชาชาติเฉลี่ยต่อบุคคล: Gross Nation Income: GNI per Capita) แล้วนำมาจัดกลุ่มประเทศตามลำดับการพัฒนา 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มพัฒนาระดับสูงมาก กลุ่มพัฒนาอยู่ในระดับสูง กลุ่มพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ

สำหรับประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาอยู่ในระดับสูง จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากค่าดัชนี 0.716 ในปี พ.ศ.2553 เป็น 0.726 ในปี พ.ศ.2557 โดยอยู่ในลำดับที่ 91 จากประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคนี้ คือ ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย (การสาธารณสุขไทย 2554-2558)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง