ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เมื่อคนทำงานจิตเวชคิดจะปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการและพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวช เราทำกันอย่างไร โมเดลที่ จ.ระยองน่าสนใจ

ระยองเป็นเมืองเล็กๆ ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดและเคียงคู่กับปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่มากมายและซับซ้อน จุดเริ่มต้นที่น่าสนใจเมื่อปี 2550 โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งใน จ.ระยอง คือโรงพยาบาลวังจันทร์ต้องการปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการและพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวช ภายในพื้นที่ อ.วังจันทร์ ซึ่งเป็นอำเภอเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดระยอง ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชทวีความรุนแรงเพราะไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ อาการมักกำเริบซ้ำ รายได้ของครัวเรือนไม่มากนัก การส่งต่อก็มีปัญหา

ที่ผ่านมาโรงพยาบาลระยองแม่ข่ายได้ร่วมดำเนินการแบบพี่ช่วยน้อง น้องช่วยผู้ป่วยและญาติ สังคมและชุมชน

การทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานจิตเวชของโรงพยาบาลวังจันทร์แห่งนี้เป็นต้นแบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างแท้จริง

ต่อมาในปี 2553 เมื่อกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการดำเนินงาน Service plan ที่นับเป็นโอกาสพัฒนามาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขจิตเวชอย่างแท้จริง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานมีความชัดเจนในการพัฒนางานได้มากขึ้น

และล่าสุดในปี 2561 (11 ปีที่ช่วยเหลือกัน) จังหวัดระยอง วันนี้เรามีแพทย์และบุคลากรผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลลูกข่าย 8 แห่งที่รักและมุ่งมั่นในการให้บริการผ่านการศึกษาต่อเนื่องในระดับ PG และปริญญาโท ถึงร้อยละ 87.5 (แม้ว่าจะมีผู้รับผิดชอบเพียง 1-2 คนแต่คุณภาพคับแก้ว) รออีก 1 แห่งที่เป็นโรงพยาบาลน้องใหม่

ขณะที่ ระบบยา ระบบบริการ การส่งต่อ ก็จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเข้มข้นต่อไป ด้วยพลังใจที่มุ่งมั่น และโรงพยาบาลแม่ข่ายที่เข้มแข็งที่พร้อมดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นสภาพ พร้อมบริการทั้งระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) และระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) เชื่อมต่อด้วยระบบส่งต่อ (Referral System) ที่มีคุณภาพ

ต้องขอบคุณผู้บริหารโรงพยาบาลทุกแห่ง ที่ช่วยสะท้อนปัญหาและช่วยปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการและพัฒนาระบบบริการงานสุขภาพจิตและจิตเวช แก้ปัญหาผู้ป่วยและลดผลกระทบต่อสังคม

ภูมิใจในบริบทของคนระยอง "คนระยองเอาได้"

ผู้เขียน: Mobile Psychi Clinic จ.ระยอง (คลินิกจิตเวชเคลื่อนที่ จ.ระยอง)