ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เปิดรายชื่อ 20 ผลงานเด่นได้รับรางวัลงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 26 ทั้ง 4 สาขา นวัตกรรมด้านโรค, นวัตกรรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค, สาขา Medical Science Symposium, สาขาเครือข่ายห้องปฏิบัติการและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน และรางวัล Best Practice Award

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2561 ที่อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี พิธีปิดงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 26 ประจำปี 2561 ในแนวคิด “นวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อเมืองไทยแข็งแรง ประเทศไทย 4.0” สำหรับการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเวทีให้นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากการศึกษาวิจัยเพื่อเผยแพร่ความรู้ในวงกว้างและ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนทั้งสิ้น 1,100 คน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดให้มีการประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการ แบบบรรยายและแบบโปสเตอร์และรางวัล Best Practice Award ในปีนี้มีนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมส่งผลงานวิชาการจำนวน 172 เรื่อง แบ่งเป็นผลงานวิชาการสาขานวัตกรรมด้านโรค 48 เรื่อง สาขานวัตกรรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค 56 เรื่อง สาขา Medical Science Symposium 8 เรื่อง สาขาเครือข่ายห้องปฏิบัติการและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน 60 เรื่อง ซึ่งผลการตัดสินผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 20 เรื่องดังนี้

1.สาขานวัตกรรมด้านโรค

1.1 นางสาวอณิชา เลื่องชัยเชวง สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การประเมินคุณภาพชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสซิกาชนิด Rapid Test

1.2 นายภาณุพันธ์ ปัญญาใจ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง ฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงของต้นกระดุมไพลิน

1.3 นายภาณุพงศ์ นุตทะบัติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาเทคนิค Reverse dot blot hybridization สำหรับตรวจหา ความผิดปกติของยีน β-thalassemia

1.4 นางสาววราวรรณ วงษ์บุตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การตรวจหาเชื้อก่อโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 19 ชนิด ด้วยวิธี Quantitative real-time PCR

1.5 Miss Qian Chen ภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงออกของ soluble guanylate cyclase (sGC) β1 และการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองในมะเร็งเต้านม

2.สาขานวัตกรรมด้านคุ้มครองผู้บริโภค

2.1 นางอธิชา มหาโยธา ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การพัฒนาวิธี PCR-ELISA เป็นชุดตรวจการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษ Developing of PCR-ELISA as test kit todetermine the contamination of food-borne pathogenic bacteria

2.2 ดร.จักรวาล ชมพูศรี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงาน แบบโปสเตอร์ เรื่อง ประสิทธิผลของสเปรย์สมุนไพรอัดก๊าซในการกำจัดแมลงในบ้านเรือน

2.3 นายภูริต ทรงธนนิตย์ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การประเมินคุณภาพและความคงตัวของวัคซีนหัดเยอรมันชนิดผงแห้ง เพื่อเป็นวัคซีนมาตรฐานของประเทศ

2.4 นางสาวเฉลิมพร ควรหา สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การทดสอบความใช้ได้ของวิธีตรวจวิเคราะห์ยาต้านจุลชีพตกค้างในผลไม้ โดยเทคนิค liquid chromatography–tandem mass spectrometry

3.สาขา Medical Science Symposium

3.1 นายคเณศ เต็มไตรรัตน์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงาน แบบบรรยาย เรื่องสถานการณ์การปนเปื้อนของอฟลาทอกซิน เอ็ม 1 ในนมและผลิตภัณฑ์นมในประเทศไทย พ.ศ. 2555-2560

3.2 นางสาวพรพรรณ วิวิธนาภรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การแสดงออกที่เพิ่มขึ้นของ 5-lipoxygenase และ leukotriene receptor และความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของ vascular endothelial growth factor A ในเนื้องอกของเยื่อหุ้มสมอง (meningioma)

4.สาขาเครือข่ายห้องปฏิบัติการและวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

4.1 สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี ตำบลพะตง จังหวัดสงขลา ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง บริหารงานคุณภาพ ยุทธศาสตร์ 4 ต. ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง สร้าง เครือข่ายโรงเรียนโรงงานศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและ รับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

4.2 ดร.สุภาพร สุภารักษ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงาน แบบบรรยาย เรื่อง ประกันคุณภาพการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน : แผนทดสอบความชำนาญ HbA1c แห่งชาติ

4.3 นายวีรพล เพริศแก้ว สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี บ้านขาม จังหวัดสกลนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

4.4 นางสาวนฤมล มีแก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง การจัดการปัญหายาสมุนไพรผสมสเตียรอยด์ โดยการสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายศูนย์แจ้งเตือนภัยและจิตอาสาชุมชนบ้านโมคลาน

4.5 นางสาวรุ่งตะวัน โท๊ะศรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่๑ เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่องระบบสารสนเทศออนไลน์สำหรับกิจกรรมทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ

และ 5.รางวัล Best Practice Award ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับชุมชนต้นแบบที่มีการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ไปประยุกต์ใช้เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนพร้อมมอบรางวัลให้แก่ผู้วิจัย ที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อวงการด้านสาธารณสุข ซึ่งมีการคัดสรรจากระดับเขตมาสู่ระดับภาค 4 แห่ง และได้นำมาคัดสรรในเวทีประชุมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในครั้งนี้ ผลการประกวด ดังนี้

5.1 นายสุคนธ์ ชัยชนะ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี ตำบลพะตง จังหวัดสงขลา ได้รางวัลชนะเลิศ เรื่อง บริหารงานคุณภาพ ยุทธศาสตร์ 4 ต. ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง สร้าง เครือข่ายโรงเรียนโรงงานศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและ รับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

5.2 นายชัยยุทธ กล่ำสกุล ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลบางลาย จังหวัดพิจิตร ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค โดย อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลบางลาย

5.3 นายชยพล สินวรณ์ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี ปลาค้าว จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เรื่อง การดำเนินงานศูนย์เฝ้าระวังเตือนภัยสุขภาพ ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

5.4 นายจำเนียร สุวรรณชาติ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ได้รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 3 เรื่อง วิทยาศาสตร์การแพทย์ของชุมชน: เครื่องมือสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน