ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ขณะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีความพยายามที่จะลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาจากการคลอดบุตร แต่จากรายงานของ Commonwealth Fund สหรัฐอเมริกากลับเป็นประเทศร่ำรวยที่มีอัตราการเสียชีวิตมารดาจากการคลอดบุตรมากที่สุด แพทย์ชี้ ลดการผ่าคลอด ลดอัตราเสียชีวิตของมารดา

เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2019 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ กำลังก้าวไปอีกขั้นเพื่อแก้ไขกฎหมายป้องกันการเสียชีวิตของมารดา (Preventing Maternal Deaths Act) ซึ่งลงนามกันไปเมื่อธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา โดยมีใจความว่ารัฐบาลกลางอนุญาตให้รัฐต่าง ๆ สามารถทำการตรวจสอบการเสียชีวิตของมารดาจากการคลอดบุตรได้ภายใน 1 ปีของการคลอดบุตร

อย่างไรก็ดี นักวิชาการกลับมองว่าสิ่งที่ควรทำจริง ๆ เพื่อแก้ไขอย่างถูกต้องคือ ลดอัตราการผ่าคลอดผ่านหน้าท้อง (Cesarean Section)

ขณะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีความพยายามที่จะลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาจากการคลอดบุตร แต่จากรายงานของ Commonwealth Fund สหรัฐอเมริกากลับเป็นประเทศร่ำรวยที่มีอัตราการเสียชีวิตมารดาจากการคลอดบุตรมากที่สุด กล่าวคือ 14 คน ต่อ 10,000 คน สุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร ขณะที่สถิติจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (The Centers for Disease Control and Prevention) แห่งสหรัฐอเมริกามีตัวเลขที่สูงกว่าอยู่ที่ 18 คน ต่อ 100,000 คน สวนทางกับประเทศสวีเดนที่มีอัตราการเสียชีวิตเพียง 4 คน ต่อ 100,000 คน

แม้ปัญหาหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดของการเสียชีวิตของมารดา แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าคลอดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

จากรายงานขององค์กรอนามัยโลกปี 2015 ระบุว่าการผ่าคลอดผ่านหน้าท้องมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ช่วยลดการเสียชีวิตของมารดาและทารกจริง สอดคล้องกับรายงานของ Commonwealth Fund ที่เปิดเผยว่า สวีเดนซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการผ่าคลองผ่านหน้าท้องต่ำนั้นมีค่าเฉลี่ยมารดาเสียชีวิตเพียง 17.3% นับว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดจากผลการสำรวจทั้งหมด

โดยสาเหตุว่าทำไมการผ่าตัดผ่านหน้าท้องถึงมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงนั้น ดร.นีล ชาห์ (Neel Shah) ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดและผู้อำนายการศูนย์ Ariadne Labs อธิบายว่า ส่วนหนึ่งมาจากมารดาที่ต้องผ่าคลอดส่วนใหญ่มักไม่ค่อยใส่ใจต่อสุขภาพของตัวเองรวมถึงลูกในท้องและอีกประการที่สำคัญคือ ไม่มีระเบียบการที่ระบุชัดเจนว่าต้องรีบตอบสนองเร็วแค่ไหนต่อผู้ป่วยหญิงมีครรภ์ที่อาจมีเงื่อนไขหรือปัจจัยเสี่ยงอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการคลอด

จึงกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่แพทย์จำนวนมากถึงต้องการให้กฎหมายป้องกันการเสียชีวิตของมารดา แก้ไขสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาที่ต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ โดยการเปิดเผยข้อมูลที่เหมาะสมในการวางรากฐานสำหรับคำแนะนำในอนาคตที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลง

“เป้าหมายของเราคือให้แม่ทุกคนคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ทั้งแม่และลูกมีสุขภาพดีในระยะยาว” ดร.ชาห์ ทิ้งท้าย

ที่มา: Reducing Maternal Mortality (www.nytimes.com)