ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

นโยบายสุขภาพของสหรัฐอเมริกามีจำนวนมาก แต่ผลวิจัยและการประเมินผล โดยเฉพาะต่อโครงการประกันสุขภาพ Medicaid และ Medicare มีน้อยจนน่าประหลาดใจ แม้สหรัฐอเมริกาลงทุนเงินเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อโครงการดูแลสุขภาพ

จากบทความเรื่อง “Which Health Policies Actually Work? We Rarely Find Out” ซึ่งเผยแพร่ลง New York Times โดย อัสติน แฟรงค์ (Austin Frakt) อธิบายให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า สหรัฐทุ่มงบประมาณให้กับการประเมินโครงการนโยบายสาธารณสุขน้อยกว่า 0.1%

อีกทั้งยังมีหลักฐานที่สามารถนำไปใช้ได้น้อยมากเพื่อดำเนินโครงการต่อ รวมถึงยังพบว่ามีความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในการรักษา เช่น การทดลองทางคลินิกจำนวนมากเกิดขึ้นในแต่ละปี แต่ครึ่งหนึ่งกลับไม่มีหลักฐานในการรักษาที่ชัดเจน

เนื่องจากการศึกษานโยบายด้ายสุขภาพที่มีค่อนข้างมีจำกัด การศึกษาที่มีจึงกลายเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อนโยบายสาธารณสุขในปัจจุบัน เช่น การทดลองระบบประกันสุขภาพ RAND ซึ่งถือเป็นตัวอย่างคลาสสิก เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 โดยได้สุ่มตัวอย่างจากครอบครัวที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่แตกต่าง การทดลองพบว่าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงนั้นมีน้อย และสวนทางกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (ยกเว้นครอบครัวที่มีฐานะยากจนและมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยไข้)

ผลการทดลองชิ้นดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อระบบประกันสุขภาพเป็นระยะเวลายาวนานหลายทศวรรษ ซึ่งผลกระทบจากงานดังกล่าวทำให้เกิดการตีความว่า ระบบประกันสุขภาพเป็นเพียงเครื่องมือในการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

อย่างไรก็ดี เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐโอเรกอนพบว่ารัฐของตนอยู่ในสถานะที่สามารถประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสุขภาพที่มีราคาสูงได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้วยความร่วมมือกันระหว่างรัฐและนักวิจัย โครงการประกันสุขภาพ Medicaid ได้ครอบคลุมไปถึงผู้ที่มีรายได้น้อย และนักวิจัยได้ติดตามผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการนับแต่นั้นมา โดยการวิจัยพบว่าโครงการดังกล่าวได้เพิ่มโอกาสในการรักษา ช่วยลดภาระทางการเงิน และลดอัตราของโรคซึมเศร้าจากการขยายโครงการออกไป แต่ก็ยังขาดข้อมูลเชิงสถิติที่ชัดเจนของผลลัพธ์ในการปรับปรุงนโยบายด้านสุขภาพอื่น ๆ ถึงอย่างนั้น ก็ก่อให้เกิดการโต้เถียงกันในแวดวงวิชาการทางการแพทย์

นอกจากนี้ กว่า 80% การประเมินผลนโยบายยังเป็นการใช้การทดลองแบบสุ่ม โดยช่วงต้นเดือนเมษายน ปี 2016 โครงการ Medicare ได้สุ่มตัวอย่างโรงพยาบาล 75 แห่งให้รวมค่าใช้จ่ายสำหรับการผ่าตัดหัวเข้าและสะโพก และ 121 แห่งให้ดำเนินการตามปกติ แต่ศูนย์ฯ ไม่สามารถคงรักษาโครงการไว้ได้ ในเดือนพฤศจิกายน 2017 จึงประกาศให้โรงพยาบาลสามารถออกจากโครงการได้

นอกเหนือจากนั้น สำหรับความคิดเกี่ยวกับตัวนโยบายสุขภาพเองก็ยังมีความเชื่อที่เข้าใจผิด เช่นความเชื่อที่ว่า โครงการที่ดีนั้นจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพของผู้ว่าจ้าง หากพวกเขาปรับปรุงผลด้านสุขภาพ หรืออย่างแนวความคิดที่ว่าโรงพยาบาลจะขาดทุนจากโครงการ Medicare และ Medicaid ส่งผลให้จำเป็นต้องเก็บค่าใช้จ่ายต่อผู้รับประกันในราคาที่สูงขึ้น แต่เมื่อได้ทดลองแบบสุ่มกลับพบว่าไม่มีคำตอบตรงออกมาตามสมมุติฐานดังกล่าว

“นโยบายระหว่างรัฐบาลในทุกระดับถูกนำมาใช้โดยไม่มีแผนที่จะตรวจสอบว่ามันมีประสิทธิภาพ หรือมีทางแก้ปัญหาหากนโยบายนั้นไม่มีประสิทธิภาพ จากรายงานรัฐบาลเมื่อปี 2017 พบว่าผู้ดูแลโครงการ ไม่ทราบผลประเมินโครงการที่พวกเขาดูแลอยู่ ทั้งยังระบุว่า ไม่เคยทำการประเมิน หรือในกรณีอื่น ๆ ก็ไม่ได้มีการประเมินภายในตลอด 5 ปีที่ผ่านมา” อัสติน แฟรงค์ ทิ้งท้าย

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะหาแนวทางว่านโยบายไหนควรไปต่อหรือควรยกเลิก ถึงอย่างนั้น สิ่งแรกที่อัสติน แฟรงค์มองว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะทำคือ การประเมินผลนโยบายอย่างจริงจัง และดูแลนโยบายให้เดินต่อไปได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ที่มา: New York Times

Which Health Policies Actually Work? We Rarely Find Out