ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

มาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ และการรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing) เป็นมาตรการที่ดีที่สุดในการรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะ "โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเราไม่ติดต่อกัน" ซึ่งประเทศไทยได้รณรงค์เรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังมาเป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้ว

อย่างไรก็ดี คำถามคือมาตรการเหล่านี้ได้รับการตอบรับจากประชาชนมากน้อยเพียงใด ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจการการปฏิบัติตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เพื่อสำรวจสถานการณ์และนำผลที่ได้ไปพัฒนาแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ต่อไป โดยได้เริ่มสำรวจตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. 2563 ที่ผ่านมาและจะทำต่อเนื่องทุกวันตลอดเดือนนี้

ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจในช่วง 3 วันที่ผ่านมา พบว่าตัวเลขต่างๆในแต่ละวันมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันไม่ว่าจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม คือประชาชนมากกว่า 90% เข้าใจว่าควรทำตามมาตรการอย่างไร แต่ประมาณ 45-50% ยังต้องออกจากบ้าน อีกประมาณ 10-11 % กว่าๆ ที่อยู่แต่ในบ้านแล้วแต่ยังมีคนมาหา ส่วนคนที่อยู่บ้านและไม่มีคนมาหามีสัดส่วนประมาณ 37-40%

ทำแบบสอบถามทุกวันได้ ทีนี่

ทั้งนี้ หากพิจารณาตัวเลขเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 2-4 เม.ย. 2563 แล้วจะพบความสอดคล้องกันดังนี้

                          เข้าใจว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร   ออกนอกบ้าน         อยู่บ้านแต่มีคนมาหา อยู่บ้านไม่มีคนมาหา

2 เม.ย.63          91.8%                                              52.7%               10.1%                              37.2 %

3 เม.ย.63          91.8%                                              49.5%                11.1%                              39.4 %

4 เม.ย.63          92.2%                                              45.9%                 10.9 %                            43.2 %

มีระยะห่าง 1-2 เมตรเมื่อคุยกับผู้อื่นทุกครั้ง 59.3 % 62.2 % 63.6 %2 เม.ย.63 3 เม.ย.63 4 เม.ย.63ขณะเดียวกัน การสำรวจนี้ยังได้สอบถามวิธีการป้องกันตนเองของผู้ที่ออกจากบ้าน พบว่าลักษณะสัดส่วนการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆมีแนวโน้มดีขึ้นทุกวัน ดังนี้หากเจาะลึกถึงสาเหตุที่ต้องออกจากบ้าน พบว่ามากกว่า 90% ที่มีความจำเป็นต้องออกจากบ้าน เช่น ทำงาน ซื้ออาหาร ซื้อของใช้หรือทำธุรกรรมต่างๆ แบ่งเป็น 92.8% และ 93.4% ในวันที่ 2 และ 3 เม.ย. ขณะที่วันที่ 4 เม.ย. ได้แยกย่อยข้อมูลให้ละเอียดขึ้น โดยพบว่า 70.8% ต้องออกไปทำงาน และอีก 37.8% ออกจากบ้านเพื่อซื้ออาหาร ซื้อของใช้หรือทำธุรกรรมต่างๆ โดยในบรรดาผู้ที่ต้องออกจากบ้านนี้ ได้พูดคุยหรืออยู่ใกล้กับคนนอกบ้านน้อยกว่า 2 เมตรเฉลี่ยอยู่ที่ 8-9 คน มีผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะในการเดินทางประมาณ 9-10% แบ่งเป็น 10.1%, 9.6% และ 9.9% ตามลำดับ

ขณะเดียวกัน การสำรวจนี้ยังได้สอบถามวิธีการป้องกันตนเองของผู้ที่ออกจากบ้าน พบว่าลักษณะสัดส่วนการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆมีแนวโน้มดีขึ้นทุกวัน ดังนี้

                                                                                          2 เม.ย.63          3 เม.ย.63        4 เม.ย.63

1.ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง                                76.0 %            76.8 %           77.7 %

2.ล้างมือหรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของ             84.1 %            85.4 %           86.4 %

3.ระวังไม่เอามือจับหน้า จมูก ปากได้เป็นอย่างดีทุกครั้ง                 56.5 %            59.4 %          61.7 %

ทั้งนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการคือ สัดส่วนผู้ที่ไปสถานที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 14 วันที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงอยู่ที่ 32.3%, 30.5% และ 29.4% ตามลำดับ และสัดส่วนผู้ที่จะกักตัว 14 วันและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนในบ้านหากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยงอยู่ที่ ประมาณ 87-88%

การสำรวจดังกล่าวเพิ่งจัดทำไปเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2563 มีผู้ตอบแบบสอบถามสองหมื่นกว่ารายเท่านั้น ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขขอเชิญชวนประชาชนเข้ามาตอบแบบสอบถามที่ www.อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ.com ทุกวันตลอดเดือนนี้ เพื่อจะได้มีข้อมูลเพื่อการประเมินมาตรการและนำไปปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป และผู้ที่สนใจสามารถดูผลการสำรวจเป็นรายวันได้ที่ www.ihpp.thaigov.net