ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ราชกิจจาฯ ประกาศกิจการ-กิจกรรม ผ่อนปรน แบ่ง 2 กลุ่ม ด้านเศรษฐกิจดำเนินชีวิต และด้านการออกกำลังกายดูแลสุขภาพ ส่วน“คลินิก สถาบันทันตกรรม” เข้าใช้ต้องแจ้งล่วงหน้า ไม่นั่งรอ ต้องปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะทางสังคม

หลังจากรัฐบาลประกาศผ่อนปรนกิจการ-กิจกรรม 6 ประเภท พร้อมกำหนดเงื่อนไข รวมถึงมาตรการที่ยังต้องปฏิบัตินั้น ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 6) มีใจความสำคัญ ดังนี้ 

1.กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต

-การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ โรงพยาบาล ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย สถานบริการ ผับ บาร์ โดยร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่จำหน่ายสุรา ให้เปิดได้แต่ห้ามบริโภคในร้าน

-ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคารที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดได้เฉพาะนำกลับบริโภค

-ร้านค้าปลีก ค้าส่งขนาดย่อม เปิดได้แต่ต้องควบคุมทางเข้าออก จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ให้ และผู้ใช้บริการ การเว้นระยะห่างในการเลือกสินค้าและชำระราคา

-ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม เปิดได้เฉพาะสระ ตัด ซอย ผม แต่งผล และไม่ให้นั่งรอในร้าน

2.กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย หรือดูแลสุขภาพ

- โรงพยาบาล คลินิก สถานทันตกรรมหรือสถานพยาบาลทุกประเภท ที่จัดตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย

-สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอลฟ์ให้เปิดได้ แต่ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม(1)

-สนามกีฬา เฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่างทางสังคมและไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ ฯลฯ

-สวนสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ฯลฯ

-สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์

ทั้งนี้ ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ 1 และ 2 ทุกประเภทมีหน้าที่รับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ และจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด เช่น เว้นระยะหว่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย ตรวจวัดอุณหภูมิ ตลอดจนจัดระบบอื่นๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทางราชการกำหนด เช่น การให้เข้าใช้บริการโดยนัดหรือแจ้งล่วงหน้า การไม่ให้ผู้ใช้บริการหลายคนรออยู่ในสถานที่เดียวกัน การจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละคราว และเวลาการเข้าใช้บริการ หากฝ่าฝืน หรือเป็นอันตรายต่อการป้องกันโรค ให้เสนอผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อสั่งปิดสถานที่นั้นเฉพาะราย ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2563เป็นต้น

อ่านประกาศอย่างละเอียด :

-  ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 6)  

-  ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5)

-   เรื่อง แนวปฏิบัติตำมข้อกำหนดออกตามความในมาตรา  9  แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง