ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เตือนคนไทยอย่าประมาท ช่วงฝนตก อากาศเย็น อยู่ในอาคาร ส่วนใหญ่ถอดหน้ากากอนามัย หากมีใครติดเชื้อถือว่าเสี่ยงสุดแพร่ระบาดโควิดรอบ 2 ได้

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 3 พ.ย.63 ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ประเด็น สถานการณ์ล่าสุดของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ว่า ช่วง 10 กว่าวันที่ผ่านมาตัวเลขทุก 2 วัน ผู้ป่วยติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1 ล้านคน แสดงว่า กว่าจะสิ้นสุดฤดูหนาวที่อากาศเย็นลงจะมีตัวเลขขึ้นอีก ซึ่งผลเหล่านี้กระทบไปทั่วโลก ส่วนอัตราการเสียชี่วิตก็คู่ขนานไป ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้น อัตราการเสียชีวิตด้วย แม้อัตราความชันจะไม่สูงเท่าผู้ป่วยใหม่ ตอนแรกเริ่มดีขึ้น แต่ขณะนี้ไต่ขึ้นอีกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนสถานการณ์สหรัฐฯ ข้อมูลล่าสุดวันที่ 3 พ.ย.ที่สรุปข้อมูลจากเมื่อวาน(2พ.ย.) ขณะนี้ตัวเลขทะลุ 1 แสนรายในบางวัน ตัวเลยสะสมทั้งหมดกว่า 9.5 ล้านคน ฝรั่งเศสเป็นอีกหนึ่งประเทศในยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากรอบใหม่อย่างรุนแรง ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 4-5 หมื่นราย และสหราชอาณาจักร เป็นประเทศล่าสุดที่มีการประกาศล็อกดาวน์เช่นกัน เนื่องจากผู้ป่วยพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงกว่า 1 ล้านคน

“สถานการณ์ของประเทศต่างๆ เพราะเหตุใดในช่วงฤดูหนาวถึงไวรัสระบาด เพราะอากาศหนาว คนส่วนใหญ่อยู่ในอาคาร และมักไม่ใส่หน้ากาก เราลองถามตัวเราเองเวลาเราเข้าออฟฟิส เราไม่ค่อยได้ใส่ ดังนั้น หากมีใครสักคนที่ติดเชื้อ และเข้ามาในอาคารก็จะเป็นจุดเสี่ยง ยิ่งอากาศเย็นๆ ก็จะเจอปรากฎการณ์เหล่านี้มากขึ้น แต่ในประเทศต่างๆ ก็ยังมีเดินขบวนต่อต้านการใส่หน้ากากอนามัยเป็นครั้งคราว ซึ่งจริงๆ หน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพมากในการป้องกันโรค” ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเอเชีย อย่างอินโดนีเซีย ก็มีอัตราผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยปัจจุบัน(2 พ.ย.) มีผู้ป่วยสะสม 1.4 หมื่นราย ส่วนญี่ปุ่นปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อประมาณกว่า 1 แสนราย โดยมีผู้ป่วยใหม่ต่อวันที่ 500-700 วันต่อวัน อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นทำได้ดีในแง่ของการป้องกันผู้ที่เสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด แต่อยากย้ำว่า การแยกคนกลุ่มเสี่ยงเป็นมาตรการที่ต้องทำ แต่ขณะเดียวกันหากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องไปรพ. แต่หากมาเกินไป คนจำนวนหนึ่งอยู่รพ.ไม่ได้ ก็ต้องไปกักตัวเองในพื้นที่นอกรพ. ซึ่งก็อาจมีความเสี่ยงในการระบาดขึ้น เกาหลีใต้ ตั้งแต่รอบแรก และรอบ 2 ปัจจุบันตัวเลขผู้ป่วยยังสูง แต่ตัวเลขการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ ประเทศที่ติดกับไทยของเรา อย่างมาเลเซีย เกิดการระบาดรอบแรกไป ทุกอย่างดูสงบดี แต่เมื่อ 1-2 เดือนกลับมีตัวเลขเพิ่มขึ้นวันละ 700-800 คน และไม่มีหลักฐานว่าจะลดลงเลย ซึ่งคนกลุ่มนี้เหากเคลื่อนมาในไทยก็ทำให้มีความเสี่ยงได้

ส่วนประเทศเมียนมาร์ ตั้งแต่ต้นๆก.ย. มาจนถึงวันนี้ ตัวเลชขการติดเชื้อทะละหลัก 5 หมื่นไปแล้วจากเดิมตัวเลขน้อยกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำไป และอัตราการเสียชีวิตยังเป็นตัวเลข 2 หลักมาต่อเนื่อง และสิ่งทีเกิดขึ้นมีคนเมียนมาพยายามเข้ามาในรไทย แต่หากเราไม่สามารถติดตามได้ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ปัจจัยที่ทำให้โควิดกลับมาได้ อย่างไรก็ตาม สิงคโปรถือว่าเป็นประเทศที่จัดการได้ดีเช่นกัน จนถึงวันนี้มีผู้ป่วยใหม่เป็นเลขหลัก 1 หน่วยเท่านั้น และช่วง 10 กว่าวันที่ผ่านมาไม่พบการเสียชีวิตเลย สำหรับออสเตรเลีย ก่อนหน้านี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศลำดับหนึ่งในการจัดการได้ดี จนกระทั่งมีจุดแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรัฐบาลสั่งปิดการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีระบบติดตามผู้ติดเชื้อ จากระบบดังกล่าวทำให้ออสเตรเลียมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ลดลง และอัตราการเสียชีวิตน้อยลงมา

“ส่วนประเทศไทย 90% เป็นผู้ป่วยที่เข้ามาในไทย และมาตรวจพบในสถานกักกันของรัฐ และเจอประปรายที่เข้ามาในไทย แต่เราก็ไม่พบมีการกระจาย ดังนั้น บริเวณชายแดน หรือพื้นที่ภาคใต้ยังมีความเสี่ยง และปัจจัยด้านอากาศหนาว ทั้งฝนตก อากาศเย็นลง เรามีแนวโน้มอยู่ในอาคารก็มีแนวโน้มติดเชื้อ หากโชคไม่ดีมีคนติดเชื้ออยู่ในอาคารก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้” ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว