ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

องค์การเภสัชกรรม ส่งยาตำราหลวง จำนวน 5,500 ชุด และยาน้ำกัดเท้า 11,000 หลอด มูลค่าเกือบ 3 แสนบาท ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด

     

ภญ.วีระมล มหาตมวดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในหลายพื้นที่ของจังหวัดทางภาคใต้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยังทุกพื้นที่แล้ว และในส่วนขององค์การเภสัชกรรมได้ส่งยาตำราหลวง ประกอบด้วย           ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก. 10 เม็ด ผงน้ำตาลเกลือแร่ (แก้ท้องร่วง) 1 ซอง ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูกคลอร์เฟนิรามีน 10 เม็ด ยาธาตุน้ำแดง 180 มล. 1 ขวด น้ำยาโพวิโดน – ไอโอดีน 15 มล. 1 ขวด พลาสเตอร์ยา 2 ชิ้น สำลี 5 กรัม 1 ห่อ จำนวน 5,500 ชุด และยาน้ำกัดเท้า จำนวน 11,000 หลอด มูลค่า 284,515 บาท โดยมอบผ่านสำนักงานสาธารณสุข 

ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบยาตำราหลวง จำนวน 2,000 ชุด  ยาน้ำกัดเท้า จำนวน 4,000 หลอด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง มอบยาตำราหลวง จำนวน 1,000 ชุด  ยาน้ำกัดเท้า จำนวน 2,000 หลอด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มอบยาตำราหลวง จำนวน 1,000 ชุด   ยารักษาน้ำกัดเท้า จำนวน 2,000 หลอด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี มอบยาตำราหลวง จำนวน 500 ชุด  ยารักษาน้ำกัดเท้า จำนวน 1,000 หลอด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบยาตำราหลวง จำนวน 500 ชุด ยารักษาน้ำกัดเท้า จำนวน 1,000 หลอด และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง มอบยาตำราหลวง จำนวน 500 ชุด ยารักษาน้ำกัดเท้า จำนวน 1,000 หลอด  เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย                    ที่ได้รับความเดือดร้อน  ทั้ง 6 จังหวัด 

     

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้ องค์การฯ ยังได้เร่งส่งยาชุดผู้ประสบภัย 8 รายการ ประกอบด้วย ยาไมโคนาโซล 5 กรัม ยาเพรดนิโซโลนครีม 5 กรัม ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูกคลอร์เฟนิรามิน ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก. ผงน้ำตาลเกลือแร่ แอลกอฮอล์เช็ดแผล สำสี พลาสเตอร์ ซึ่งเป็นยาของกระทรวงสาธารณสุขที่องค์การฯได้บริหารจัดการและสำรองไว้ที่องค์การฯ โดยส่งผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ               ในจังหวัดทางภาคใต้ด้วย รวมถึงองค์การฯ ยังได้มีการเตรียมสำรองยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพิ่ม  เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

     “การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวถือเป็นหน้าที่สำคัญขององค์การฯในการสำรองยาและเวชภัณฑ์สำหรับภาวะฉุกเฉินของประเทศ” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กล่าว