ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สบส. ร่วม กรมควบคุมโรค เร่งสอบสวนสถานที่กักกันทางเลือก-รพ.เอกชนในกทม. หลังพบบุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด 5 รายพื้นที่ กทม. ย้ำการติดเชื้อใน ASQ ไม่สูง 0.54% เมื่อเทียบกับการติดเชื้อภาพรวมทั้งประเทศ ส่วนสาเหตุการติดเชื้อขอเวลาสอบสวนเพิ่มเติม ย้ำยังไม่ต้องสั่งห้าม ASQ ดังกล่าว รับคนเข้ากักตัวเพิ่ม

จากกรณีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ติดเชื้อเป็นบุคลากรทางการแพทย์ 4 ราย ในสถานที่กักกันทางเลือก (ASQ) และโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ กทม. และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมาพบบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 1 ราย โดยทั้งหมดเป็นพยาบาล

(ข่าวเกี่ยวข้อง : ไทม์ไลน์หญิงไทย 21 ปีติดโควิดลอบเข้าไทยอีก 1 ราย รวมเคสเชื่อมโยงท่าขี้เหล็ก 39 ราย)

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงมาตรการเข้มในสถานกักกันของรัฐทุกประเภท ว่า สถานกักกันถือเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมโรคสำหรับคนที่เข้ามาในประเทศ โดยปัจจุบันเรามีสถานกักกันของรัฐ หรือ State Quarantine 25 แห่ง สถานกักกันทางเลือก Alternative State Quarantine (ASQ) 116 แห่ง Alternative Lacal Quarantine 39 แห่ง และ Alternative Hospital Quarantine (AHQ) 183 แห่ง โดยเฉพาะ ASQ มีส่วนสำคัญในการรองรับประชาชนที่เข้ามาในประเทศไทย ข้อมูล ขณะนี้มีคนเดินทางเข้ามาในระบบคลอรันทีนทั้งหมด 171,016 คน โดยอัตราการติดเชื้ออยู่ที่ 0.67% และติดเชื้อในอัลเทอเนทีฟ สเตจ คลอรันทีนอยู่ที่ 0.54% ซึ่งไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับภาพรวมของการติดเชื้อ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีพบบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อในสถานกักกันทางเลือก นพ.ธเรศ กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเรามีการวางระบบความปลอดภัยให้ทั้งผู้เข้าพัก ทั้งผู้ให้บริการ และเรายังมีผู้ดูแล ที่เรียกว่า โควิดคอมมานเดอร์ มาดูแลในแต่ละโรงแรม และยังมีของกระทรวงกลาโหมที่เรียกว่า อินซิเดนท์คอมมานเดอร์ ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้ (9 ธ.ค.) จะมีการซักซ้อมชี้แจงแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดโดยทีมกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมกับกรมควบคุมโรคจะเป็นผู้ชี้แจงผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นยังไม่ต้องสั่งระงับคนเข้ามากักตัวเพิ่มในสถานที่กักกันทางเลือกดังกล่าว

เมื่อถามว่าบุคลากรทางการแพทย์ 4 รายที่ติดเชื้อเป็นเพื่อนกับบุคลากรทางการแพทย์ที่พบเชื้อเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.63 ใช่หรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า ทั้ง 5 คนเป็นเพื่อนกัน ปฏิบัติในสถานที่กักกันทางเลือก ASQ ส่วนรายละเอียดขอให้รอการสอบสวนโรคก่อน เนื่องจากขณะนี้ทางทีมของกรมควบคุมโรคลงไปยังพื้นที่แล้ว ส่วนสาเหตุการติดเชื้อนั้นกำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค เพื่อให้ทราบว่าจุดอ่อนอยู่ตรงไหน แต่หากไปดูแล้วและปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชุด PPE หรือเครื่องมือป้องกันต่างๆ หรือก่อนปฏิบัติงานก็จะมีการซักซ้อม ส่วนมีการพูดคุยหรือทำกิจกรรมอะไรก็ต้องรอการสอบสวนเพิ่มเติม

“จากการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดโควิดมีทั้งหมด 280 ราย แบ่งเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 51 ราย ผลตรวจเชื้อเป็นลบ ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 229 รายอยู่ในกระบวนการเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องกังวล เพราะเมื่อพบการติดเชื้อ ทางทีมควบคุมโรคได้ลงไปพื้นที่ควบคุมโรค และแยกผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำออกมาแล้ว” นพ.ธเรศ กล่าว

เมื่อถามว่ากรณีบุคลากรติดเชื้อครั้งนี้จะคล้ายกับกรณีพบการติดเชื้อในสถานกักกันทางเลือก จ.สมุทรปราการ หรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า อันนั้นก็เป็นสาเหตุที่ต้องสอบสวน จริงๆมีหลายอย่าง แต่ต้องรอการสอบสวนโรคก่อน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดไข้ การสว็อป หรืออื่นๆ ซึ่งตอนนี้กรมควบคุมโรคกำลังสอบสวนโรค ทั้งนี้ ทางสบส.ได้แจ้งไปยังโรงแรมที่เป็นสถานที่กักกันทางเลือกทั้งหมดแล้วว่า ต้องเข้มงวดมากขึ้น และในวันพรุ่งนี้( 9 ธ.ค.) จะมีการวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์กับทางโรงแรมทั้งหมด เพื่อกำชับเรื่องนี้

เมื่อถามกรณีก่อนหน้านี้มีการทำนโยบายระดับชาติเกี่ยวกับสถานกักกันตัวเพื่อเฝ้าระวังโควิดว่า หาก ASQ ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดจะมีบทลงโทษ นพ.ธเรศ กล่าวว่า ขณะนี้ขอรอการสอบสวนโรคก่อน เพราะหากเป็นความผิดผลาดจากความประมาทเลินเล่อ ความตั้งใจก็จะอีกเรื่องหนึ่ง แต่จริงๆ โรงแรมหรือสถานพยาบาลที่เข้าสู่ระบบมีความตั้งใจดี เพราะกระบวนการรับคนมากักกันคนที่โรงแรมหรือโรงพยาบาลคู่สัญญา ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องช่วยชาติ ไม่เช่นนั้นคนไทยหรือคนต่างชาติจะเข้ามาสู่ประเทศได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับปรุงระบบตามข้อเสนอแนะ