ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ แจงรายละเอียดการตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อโควิด-19 เป็นวิธี ELISA ตรวจไปแล้วจำนวน 3,244 ราย ทั้งจากผู้ป่วยที่มีอาการและไม่มีอาการโดยตรวจ 3 ระดับ คือ IgM IgG และ neutralizing antibody ตั้งแต่มีนาคม 2563

ศ.นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟชบุ๊กธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุถึงการตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อโควิด-19 โดยใจความระบุ ว่า

“การตรวจเลือดหาแอนติบอดีของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยด้วย วิธี ELISA (รายละเอียดที่มาและมาตรฐานของการพัฒนาชุดตรวจได้ทำการเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้แล้วและรายละเอียดของการตรวจตีพิมพ์ในวารสาร Nature) ทั้งนี้ ตรวจไปแล้วจำนวน 3,244 ราย ทั้งจากผู้ป่วยที่มีอาการและที่ไม่มีอาการโดยตรวจทั้งสามระดับคือ IgM IgG และ neutralizing antibody ตั้งแต่มีนาคม 2563 และตรวจ นักมวยก่อนขึ้นชกเป็นจำนวน 1,109 ราย

ทั้งนี้ เป็นการตรวจด้วยวิธีมาตรฐานที่ต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมง แต่ในตัวอย่างดังกล่าวซึ่งในแต่ละรายที่เป็นผู้ป่วยและมีอาการไม่ได้ตรวจครั้งเดียว ทั้งหมดนำมาประเมินเปรียบเทียบกับชุดตรวจเลือดปลายนิ้วของใบยาจุฬาฯ ปรากฏได้ผลเช่นเดียวกัน โดยที่การตรวจปลายนิ้วจะมีความไวเกินจริง โดยประมาณ 3-4% ซึ่งก็ไม่มีปัญหาถ้าผลบวก ก็คัดแยกตัวไว้ก่อนและตรวจยืนยันอีกครั้ง หรือถ้าไม่อยากตรวจไม่อยากเสียเงินเพิ่มก็แยกตัว 14 วันเฝ้าดูอาการ

โดยการตรวจเลือดปลายนิ้ว ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจริงทั้งที่ยังแพร่เชื้อหรือไม่แพร่เชื้อแล้ว ผลเป็นบวกตรงกันหมดกับชุดตรวจ ELISA

ภาพจากเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่า สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจและไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ถึงกระบวนการที่ใช้และการตรวจสอบประเมินผล ซึ่งความจริงได้นำเรียนมาตลอดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 และขอย้ำอีกครั้ง ดังนี้

1. การตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันจะประเมินทั้ง 3 ตัวได้แก่ IgM IgG Neutralizing antibodies (NT) ซึ่งในตัวหลังนั้นจะสามารถตรวจได้โดยเทียบเคียงได้กับการตรวจโดยการใช้ไวรัสจริง หรือ pseudotyped virus และการยับยั้งไวรัสจะไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของแอนติบอดีจึงเรียกว่า isotype independent และ ถือเป็น surrogate (s) จีงใช้เทอมว่า Surrogate isotype independent neutralizing antibody (sVNT) และทั้งหมดใช้วิธี ELISA โดยใช้ตัวจับแอนติบอดีที่ มีความจำเพาะเจาะจงคือRBD Receptor binding domain ของ S1 ไม่ได้ใช้ N S หรือ E ดังนั้นผลที่ได้จากการใช้ชุดตรวจที่ใช้ตรวจจับไม่เหมือนกันผลออกมาจึงต่างกันมากทั้งในการปรากฏตัวของแอนติบอดีและชนิดของแอนตี้บอดี้หลังการติดเชื้อ RBD เป็น Recombinant protein จาก mammalian system หรือ baculovirus system ขณะที่ชุดตรวจของใบยาใช้ RBD ที่ได้จากใบยาและเป็นตัวเดียวกันกับที่ทำวัคซีน โควิด-19 การประเมินว่าวิธีการตรวจไม่ได้ให้ผลบวกปลอม กระทำโดยตรวจในคนปกติที่บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตสภากาชาดไทย 200 รายและคนที่ติดเชื้ออื่นๆที่ไม่ใช่ โควิด-19 อีก 300 รายซึ่งรวมทั้งโคโรนาไวรัสชนิดเองไข้เลือดออกไข้หวัดใหญ่และไวรัสระบบทางเดินหายใจเป็นต้น ไม่พบว่าให้ผลบวก

2. จากการประเมินในผู้ป่วย 97 ราย (98แต่ข้อมูลในหนึ่งคนประวัติการดำเนินโรคไม่ครบ) ที่มีอาการตั้งแต่น้อยมาก น้อย ปานกลาง หนัก และวิกฤติและตรวจเลือดเป็นระยะ หลายครั้งในแต่ละคนพบว่าต้องใช้การตรวจทั้งสามตัวและให้ผลบวก”ตั้งแต่วันที่เข้าโรงพยาบาล” ทั้งนี้ เมื่อประเมินเปรียบเทียบกับอาการพบว่าจะบวกในวันที่เริ่มมีอาการเป็นต้นไปในผู้ป่วยที่ได้เลือดมาตรวจในวันนั้นหรือถ้าได้เลือดตรวจในวันอื่นๆ เมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่าเมื่อตรวจตั้งแต่วันที่สองหลังมีอาการก็จะเป็นผลบวกหมดเช่นกัน และผู้ป่วย 11 รายที่ทราบว่าได้รับสัมผัสเชื้อและติดเชื้อที่สถานที่ใดและเวลาใดพบว่าผลเลือดเป็นบวกตั้งแต่สี่วันหลังสัมผัสเชื้อ

3. ระดับของภูมิคุ้มกัน NT ไม่ได้แปรตาม ความรุนแรงของโรคหรือปริมาณไวรัสที่ได้จากการแยงจมูกในวันแรก โดย NT จะมีระดับสูงมากหลายรายตั้งแต่ต้นโดยไม่จำกัดอาการ

4.การประเมินชุดตรวจของใบยาแบบเจาะปลายนิ้วกระทำคู่ขนานกันในเลือดชุดเดียวกันกับที่ตรวจ ELISA โดยมีความไวร้อยเปอร์เซ็นต์แต่การตรวจในคนปกติจะได้ผลบวก ไม่จริงเพิ่มขึ้น 4% ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของการใช้ชุดตรวจใบยาเป็นตัวคัดกรองซึ่งในจำนวน 4% นี้ทำการยืนยันภายหลังได้แต่ต้องกันและแยกตัวคนที่ได้เลือดเป็นบวกเหล่านี้ออกจากกลุ่มคนปกติทันที

5. การประเมินการใช้แอนตี้บอดี้ไม่ว่าจะด้วย ELISA และชุดใบยา ยังได้กระทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมาถึงปัจจุบันรวมทั้งในคนปกติที่ติดเชื้อโดยไม่มีอาการและได้ผลบวกในลักษณะเดียวกัน ELISA เป็นจำนวนหลาย 1000 รายด้วยกันแล้วเช่นเดียวกันกับชุดตรวจใบยาเป็นจำนวน 10,000 ราย

6. ข้อมูลรายละเอียดที่มาของการตรวจ ELISA ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยคณะแพทยศาสตร์ได้พัฒนาร่วมกับสิงคโปร์ DUKE NUS สามารถอ่านได้ในวารสาร nature biotechnology ปี 2000 ข้อมูลของการผลิต RBD ของใบยา สามารถอ่านได้ในวารสาร Nature เช่นกัน