สธ.เผยรายละเอียดพื้นที่เป้าหมายฉีดวัคซีนโควิด19 ระยะเร่งด่วน ก.พ.-เม.ย.2564 กระจาย 10 จังหวัดให้บริการในสถานพยาบาลที่มีแพทย์และห้องฉุกเฉินทั้งรัฐและเอกชน พร้อมเผยผลสำรวจทัศนคติปชช. ใครควรได้วัคซีนก่อน
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 11 ก.พ. 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานประธานอนุกรรมการบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด-19 กล่าวถึงการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19ว่า นโยบายการให้วัคซีนโควิด-19กับประชาชน คือ ทุกคนในประเทศไทยรวมถึงแรงงาต่างด้าว เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค โดยเป้าหมายการให้วัคซีน คือ 1.เพื่อลดอัตราการป่วยและตาย กลุ่มเป้าหมายเป็น ประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยรุนแรงและเสียชีวิตหากติดเชื้อ ได้แก่ ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 2.เพื่อปกป้องระบบสุขภาะของประเทศ กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรทงการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วยในงาน และ3.เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กลุ่มเป้าหมายเป็น แรงงานในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป ซึ่งกรณีที่เป็นแรงงานต่างชาติจะเป็นการร่วมจ่ายโดยเจ้าของกิจการ
กลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนโควิด-19ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เมื่อมีวัคซีนปริมาณจำกัด วัตถุประสงค์เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคและเพื่อรักษาระบบสุขภาพของประเทศ กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน ,บุคคลที่มีโรคประจำตัว โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังที่อยู่ระยะ 5 ขึ้นไป โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ที่มีน้ำหนัดมากกว่า 100 กิโลกรัมหรือBMIมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ,ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกีบการควบคุมโรคโควิด-19ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
และระยะที่ 2 เมื่อมีวัคซีนมากขึ้นและเพียงพอ วัตถุประสงค์เพื่อรักษาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากรและฟื้นฟูให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกหติ กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเป้าหมายในระยที่ 1 และเพิ่มติมกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆที่นอกเหนือจากด่านหน้า ,ผู้ประกอบอาชีดด้านการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ ,ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบิน/ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ,ประชาชนทั่วไป,นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ และแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ปฏิบัติหน้าที่ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า พื้นที่เป้าหมายการฉีดในระยะเร่งด่วน ช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย.2564 จะกระจายใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ที่มีการพบการติดเชื้อต่อเนื่อง โดยจะให้บริการในสถานพยาบาลที่มีแพทย์และห้องฉุกเฉินทั้งรัฐและเอกชน ได้แก่ สมุทรสาคร 10 แห่ง กรุงเทพฯ 62 แห่ง สมุทรปราการ 30 แห่ง นนทบุรี 21 แห่ง ปทุมธานี 22 แห่ง ระยอง 13 แห่ง ชลบุรี 32 แห่ง จันทบุรี 14 แห่ง ตราด 8 แห่งและตาก 11 แห่ง
ทั้งนี้ แผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 จำนวน 2 ล้านโดสที่จะเข้ามาในประเทศไทย แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น โดย 1 คนจะฉีด 2 เข็ม ใน 10 จังหวัด ประกอบด้วย 1.สมุทรสาคร 8.2 แสนโดส จำนวน 4.1 แสนคน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 8,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 6,000 คน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 36,000 คน ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1.5แสนคน และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 2.1 แสนคน 2.กรุงเทพฯ 8 แสนโดส จำนวน 4 แสนคน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 32,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 8,000 คน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 1แสน คน ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1แสนคน และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1.6 แสนคน
3.นนทบุรี 26,000 โดส จำนวน 13,000 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน 4.ปทุมธานี 26,000 โดส จำนวน 13,000 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน 5.สมุทรปราการ 28,000 โดส จำนวน 14,000 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 5,000 คน 6.ระยอง 18,000 โดส จำนวน 9,000 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 5,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน 7. ชลบุรี 28,000 โดส จำนวน 14,000 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 10,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 8.จันทบุรี 16,000 โดส จำนวน 8,000 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 6,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 2,000 คน 9.ตราด 12,000 โดส จำนวน 6,000 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 5,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 1,000 คน
และ10.ตาก 1.6 แสนโดส จำนวน 80,000 คนเป็นบุคลากรทางการแพทย์ 8,000 คน เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 2,000 คน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 10,000 คน ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 10,000 คน และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 50,000 คน รวม 1,934,000 โดส จำนวน 967,000 คน ส่วนอีก 66,000 โดสสำหรับ 33,000 คนนั้นจะสำรองไว้เผื่อมีพื้นที่อื่นระบาดเกิดขึ้น โดยจะให้กับพื้นที่ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ระบาดเพื่อเป็นการสกัดวงการแพร่เชื้อ
ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 61 ล้านโดส จะดำเนินการกระจายในช่วงเดือนมิ.ย.และให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 มีอัตราการฉีดในรพ.ที่แพทย์และห้องฉุกเฉินทั่วประเทศ 1,000 แห่ง วันละ 500โดส 20 วันต่อเดือน เฉลี่ย 10 ล้านโดสต่อเดือน แต่หากในอนาคตเมื่อวัคซีนมีความปลอดภัยมากขึ้นอาจพิจารณาขยายการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำล(รพ.สต.)บางแห่งที่มีอุปกรณ์ฟื้นคืนชีพ
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า จากการที่กรมควบคุมโรค ดำเนินการสำรวจทัศนคติ ความเห็นของประชาชน เมื่อ 26 ม.ค.-8 ก.พ. 2564 จำนวน 2,879 ตัวอย่าง พบว่ากลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนก่อนโดยตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ราว 70 % เห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์ 40 %ผู้สูงอายุ 35 % ทุกคน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 33 % และเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ 22 % ทั้งนี้ ทางวิชาการกลุ่มเด็กและหญิงตั้งครรภ์ไม่ใช่กลุ่มเป้ามายเพราะวัคซีนเป็นการใช้ภาวะฉุกเฉินไม่ได้มีการทดลองใน 2 กลุ่มนี้ นอกจากนี้ หากไม่มีรายงานการติดเชื้อ การป่วยและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19ยังต้องการฉีดวัคซีนมากน้อยแค่ไหน พบว่า ยังต้องการมาก ปานกลางและน้อย รวมประมาณ 70 % ไม่ต้องการฉีด 18 % และไม่แน่ใจ 12 %
- 122 views